เปิดรายละเอียด 77 จังหวัดที่ กกต.เคาะเขตเลือกตั้งจังหวัดไหนมีกี่เขต ส.ส.กี่คน

ประธาน กกต.ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งแล้วในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ กทม.มี ส.ส.มากสุด 33 คน ส่วนจังหวัดละ 1 คนมีทั้ง 'ตราด-ระนอง-สมุทรสงคราม-สิงห์บุรี' อีสานยังครองแชมป์ผู้ทรงเกียรติ

01 ก.พ.2566 - นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 แล้วเมื่อช่วงค่ำวันที่ 31 ม.ค.2565 และมีผลบังคับใช้วันนี้

โดยเนื้อหาของประกาศระบุว่า ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจากเดิมจำนวนสามร้อยห้าสิบคน เป็นจำนวนสี่ร้อยคน กำหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน จังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินหนึ่งคนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมี ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดไว้แต่เดิมเปลี่ยนแปลงไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 และมาตรา 224 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 มาตรา 22 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 ประกอบข้อ 3 ของประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 ประกอบกับประกาศสำนักทะเบียนกลางเรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 อันถือได้ว่าเป็นประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้ทราบเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจำนวนเขตเลือกตั้ง เพื่อเป็นการเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้น ดังนี้

1.จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจำนวน 66,090,475 คน
2.จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 165,226 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน
3.จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มีดังนี้

1.กรุงเทพมหานคร จำนวนราษฎร 5,494,932 คน จำนวน ส.ส. 33 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 33 เขต
2.กระบี่ จำนวนราษฎร 480,057 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
3.กาญจนบุรี จำนวนราษฎร 894,283 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
4.กาฬสินธุ์ จำนวนราษฎร 972,101 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
5.กำแพงเพชร จำนวนราษฎร 708,775 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
6.ขอนแก่น จำนวนราษฎร 1,784,641 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต
7.จันทบุรี จำนวนราษฎร 536,144 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
8.ฉะเชิงเทรา จำนวนราษฎร 726,687 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
9.ชลบุรี จำนวนราษฎร 1,594,758 จำนวน ส.ส. 10 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 10 เขต
10.ชัยนาท จำนวนราษฎร 318,308 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต

11.ชัยภูมิ จำนวนราษฎร 1,117,925 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
12.ชุมพร จำนวนราษฎร 509,385 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
13.เชียงราย จำนวนราษฎร 1,299,636 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
14.เชียงใหม่ จำนวนราษฎร 1,792,474 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต
15.ตรัง จำนวนราษฎร 638,206 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
16.ตราด จำนวนราษฎร 227,808 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
17.ตาก จำนวนราษฎร 684,140 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
18.นครนายก จำนวนราษฎร 260,406 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
19.นครปฐม จำนวนราษฎร 921,882 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
20.นครพนม จำนวนราษฎร 716,647 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต

21.นครราชสีมา จำนวนราษฎร 2,630,058 จำนวน ส.ส. 16 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 16 เขต
22.นครศรีธรรมราช จำนวนราษฎร 1,545,147 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
23.นครสวรรค์ จำนวนราษฎร 1,028,814 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
24.นนทบุรี จำนวนราษฎร 1,295,916 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
25.นราธิวาส จำนวนราษฎร 814,121 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
26.น่าน จำนวนราษฎร 474,539 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
27.บึงกาฬ จำนวนราษฎร 421,684 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
28.บุรีรัมย์ จำนวนราษฎร 1,576,915 จำนวน ส.ส. 10 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 10 เขต
29.ปทุมธานี จำนวนราษฎร 1,201,532 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต

30.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวนราษฎร 553,298 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
31.ปราจีนบุรี จำนวนราษฎร 497,778 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
32.ปัตตานี จำนวนราษฎร 732,955 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
33.พระนครศรีอยุธยา จำนวนราษฎร 820,417 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
34.พะเยา จำนวนราษฎร 461,431 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
35.พังงา จำนวนราษฎร 267,442 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
36.พัทลุง จำนวนราษฎร 521,619 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
37.พิจิตร จำนวนราษฎร 525,944 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
38.พิษณุโลก จำนวนราษฎร 844,494 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
39.เพชรบุรี จำนวนราษฎร 482,950 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
40.เพชรบูรณ์ จำนวนราษฎร 973,386 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต

41.แพร่ จำนวนราษฎร 430,669 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
42.ภูเก็ต จำนวนราษฎร 417,891 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
43.มหาสารคาม จำนวนราษฎร 944,605 จำนวน ส.ส. 6 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 6 เขต
44.มุกดาหาร จำนวนราษฎร 351,588 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
45.แม่ฮ่องสอน จำนวนราษฎร 286,786 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
46.ยโสธร จำนวนราษฎร 531,599 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
47.ยะลา จำนวนราษฎร 545,913 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
48.ร้อยเอ็ด จำนวนราษฎร 1,291,131 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
49.ระนอง จำนวนราษฎร 194,226 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
50.ระยอง จำนวนราษฎร 759,386 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต

51.ราชบุรี จำนวนราษฎร 865,807 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
52.ลพบุรี จำนวนราษฎร 735,293 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
53.ลำปาง จำนวนราษฎร 718,790 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
54.ลำพูน จำนวนราษฎร 399,557 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
55.เลย จำนวนราษฎร 637,341 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
56.ศรีสะเกษ จำนวนราษฎร 1,454,730 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
57.สกลนคร จำนวนราษฎร 1,145,187 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
58.สงขลา จำนวนราษฎร 1,431,063 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
59.สตูล จำนวนราษฎร 325,303 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
60.สมุทรปราการ จำนวนราษฎร 1,360,227 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต

61.สมุทรสงคราม จำนวนราษฎร 189,453 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
62.สมุทรสาคร จำนวนราษฎร 589,428 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
63.สระแก้ว จำนวนราษฎร 562,816 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
64.สระบุรี จำนวนราษฎร 638,582 จำนวน ส.ส. 4 อ จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
65.สิงห์บุรี จำนวนราษฎร 202,797 จำนวน ส.ส. 1 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 1 เขต
66.สุโขทัย จำนวนราษฎร 581,652 จำนวน ส.ส. 4 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต
67.สุพรรณบุรี จำนวนราษฎร 830,695 จำนวน ส.ส. 5 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 5 เขต
68.สุราษฎร์ธานี จำนวนราษฎร 1,073,663 จำนวน ส.ส. 7 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 7 เขต
69.สุรินทร์ จำนวนราษฎร 1,372,910 จำนวน ส.ส. 8 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 8 เขต
70.หนองคาย จำนวนราษฎร 515,795 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต

71.หนองบัวลาภู จำนวนราษฎร 508,325 จำนวน ส.ส. 3 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
72.อ่างทอง จำนวนราษฎร 272,587 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
73.อำนาจเจริญ จำนวนราษฎร 375,382 จำนวน ส.ส. 2 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
74.อุดรธานี จำนวนราษฎร 1,563,048 จำนวน ส.ส. 9 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 9 เขต
75.อุตรดิตถ์ จำนวนราษฎร 442,949 3 จำนวน ส.ส. คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต
76.อุทัยธานี จำนวนราษฎร 323,860 2 จำนวน ส.ส. คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 2 เขต
77.อุบลราชธานี จำนวนราษฎร 1,869,806 จำนวน ส.ส. 11 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 11 เขต

รวมจำนวนราษฎร 66,090,475 จำนวน ส.ส. 400 คน จำนวนเขตเลือกตั้ง 400 เขต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘กกต.’ ไม่หวั่นการเมืองหนุนผู้สมัคร อบจ. ชี้ทำบรรยากาศเข้มข้น ไร้สัญญาณรุนแรง

การเลือกตั้งท้องถิ่นถือเป็นรากฐาน ของการพัฒนาการเมืองระดับประเทศ ถ้าท้องถิ่นดีระดับชาติก็จะดีไปด้วย การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประชาธิปไตยที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

'หัวหน้าปชน.' โต้ กกต. ฟัน สส.ชลบุรี ข้อหาเล็กน้อย สั่งทีม กม. สู้คดี

'ณัฐพงษ์' แจง กกต. สั่งดำเนินคดี 'สส.ชลบุรี' ยื่นบัญชีรายจ่ายเลือกตั้งเท็จ ชี้ ปชน. เตรียมทีมกฎหมายไว้แล้ว เชื่อ สังคมมองออก ข้อหาเล็กน้อย กลั่นแกล้งการเมืองหรือไม่

'ชัยศิริ' ยังขลัง! นั่งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ สมัยที่ 5 กวาด 9.5 หมื่นคะแนน

องค์การบริหารจังหวัด (อบจ.) อุตรดิตถ์ รายงานผลการเลือกตั้งนายก อบจ.อุตรดิตถ์ อย่างไม่เป็นทางการ (นับคะแนน 100%) ดังนี้ ผู้สมัครหมายเลข 1 นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา