'มัลลิกา' จี้ กสทช.-ดีอีเอส-ค่ายมือถือ รับผิดชอบปล่อยให้ประชาชนเจอ sms มิจฉาชีพหลอกดูดเงิน

มัลลิกา จี้ กสทช-ดีอีเอส-ค่ายมือถือ รับผิดชอบ จ่ายชดใช้ให้ประชาชน หากปล่อยข้อความ sms แบบกดลิ้งค์ของแกงค์คอลเซ็นเตอร์เข้าถึงประชาชน หลอกดูดข้อมูล-เงินในบัญชี แนะหาวิธีแก้ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี-ทำงานให้ทันโจร

29 ม.ค 2566 -​ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าจากข้อมูลรับเรื่องร้องเรียนของมูลนิธิมัลลิกาเพื่อประชาชน( Mallika Foundation )ขณะนี้มีสถิติถี่ขึ้นมากกว่าเดิมสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประเภทกดลิ้งค์อ้างแจกเงิน แจกตั๋วเครื่องบิน แจกโปรโมชั่นต่างๆมีแม้แต่เหยื่อที่เป็นข้าราชการเกษียณและผู้สูงอายุอื่นๆที่มีเงินเก็บในบัญชีแต่อาจจะไม่รู้เท่าทันเหลี่ยมของโจรทางระบบคอมพิวเตอร์

“ขณะเดียวกันเมื่อให้ไปแจ้งความดำเนินคดีทางเจ้าหน้าที่ก็มีประสบการณ์และทักษะน้อยมากรวมทั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ซึ่งควรจะมีทักษะก็ไม่มีเป็นต้น เรื่องนี้ตำรวจและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอีเอส ควรต้องตระหนักกับยุทธศาสตร์เชิงรุกและควรยกเครื่องอย่างมากนะคะ ทีนี้เคสที่เจอเหยื่อส่วนใหญ่สูญเงินโดยที่ไม่ได้คืนเพราะเบอร์โทรศัพท์ของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ที่ส่งเป็นข้อความมาทาง sms หลอกให้กดลิงค์แล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับสิ่งจูงใจต่างๆมีมากขึ้นและพัฒนาไปจากพวกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่เป็นบุคคลโทรศัพท์พูดคุย เจ้าหน้าที่เราจะนั่งทำคดีไปวันๆโดยที่ไม่หาทางรับมือหาทางแก้หาวิธีเชิงรุกไม่ได้แล้วค่ะ เรื่องนี้ต้องถึงนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงต้องขยับยุทธศาสตร์นโยบาย” นางมัลลิกา กล่าว

นางมัลลิกา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ประเทศเราปล่อยให้ตำรวจซึ่งก็มีความรู้ความเชี่ยวชาญไม่ได้มากไปกว่าประชาชนรับมืออยู่ฝ่ายเดียวแล้วปล่อยประชาชนเผชิญชะตากรรมบนโลกออนไลน์ด้วยตนเองแต่ไม่มีผู้รับผิดชอบและโจรขบวนการแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ก็ย่ามใจพัฒนาฝีมือเข้าไปอีก ขอเรียนว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องไม่ลืมว่าผู้รับผิดชอบที่ปล่อยถนนบรอดแบนด์หรือถนนของเทคโนโลยีการส่งข้อมูลด้วยความเร็วผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น คือ 1.กสทช. หรือสำนักงานงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุและกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 3.ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยทุกค่าย

“ซึ่งถ้าหากประชาชนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็เรียงลำดับจำเลยตามนี้ได้เลยผ่านมือถือค่ายใดก็ค่ายนั้นเพราะทั้ง 3 ฝ่ายที่กล่าวคือผู้ให้บริการโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตปล่อยสัญญาณ ควบคุมกำกับ บริหารจัดการใช่หรือไม่ ทั้งนี้ถ้าหากช่องทางที่ให้บริการเหล่านั้นเป็นช่องทางที่โจรทางอินเตอร์เน็ตเข้าถึงตัวของผู้รับบริการโดยไม่ผ่านกระบวนการหรือกรรมวิธีทางเทคโนโลยีสกัดกั้นคัดกรองให้ผู้บริโภค พวกเขา 3 ฝ่ายนี้ควรรับผิดชอบ และเขาต้องลงทุนหากรรมวิธีต้องเป็นฝ่ายลงทุนในการคิดหานวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการที่จะคัดกรองข้อมูล การสกัดกั้น การใช้AI ช่วยประชาชนรอดพ้นจากภัยทางอินเตอร์เน็ตได้ไม่ใช่ปล่อยประชาชนผู้บริโภคเผชิญชะตากรรมเช่นนี้เพียงลำพัง ถ้าไม่เริ่มก็เริ่มเสียถ้าไม่คิดก็คิดเสียเลย” นางมัลลิกา กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุรินทร์' ซัดเต็มๆ ดิจิทัลฯ เป็นแค่น้ำข้าวต้มที่จะสร้างพายุหมุนหนี้ให้ประเทศ

'จุรินทร์' ซัดงบกลางปี 67 กู้มาแจกเงินหมื่นเท่านั้น ฉะโครงการล่าช้าเพราะความโหลยโท่ยของ รบ. ย้ำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ได้ไม่คุ้มเสีย เข้าทำนองประเทศเสียหายไม่ว่าขอให้ข้าได้หาเสียง

'วัชระ' ช่วยทหารเรือชั้นผู้น้อยยื่น ป.ป.ช.สอบทุจริตจัดซื้อปืนกล 30 มม.

"วัชระ เปิดใจยื่นเรื่องนี้แทนกำลังพลชั้นผู้น้อยที่รักชาติไม่ยิ่งหย่อนกว่านายพล เพื่อตอบแทนพี่น้องทหารเรือที่ช่วยนักศึกษามาตลอดตั้งแต่สมัย 6 ตุลาคม 2519 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ..."

‘เกณิกา’ โชว์ผลงานกวาดล้างเว็บพนันออนไลน์ทลายเครือข่าย ‘แม่มนต์’ 

”เกณิกา”เผย ผลงาน รบ.เร่งปฏิบัติกวาดล้างเว็บพนันออนไลน์ ทลายเครือข่าย"แม่มนต์" พบยอดเงินหมุนเวียนกว่า 5,000 ล้าน

วันสุดท้าย! ลงทะเบียนซิมการ์ด รักษาสิทธิ์สำหรับผู้ครองซิมการ์ดตั้งแต่ 6-100 เลขหมาย

เฟซบุ๊ก กสทช.โพสต์ข้อความ ระบุว่าวันสุดท้ายของการลงทะเบียนซิมการ์ดเพื่อรักษาสิทธิ์ของท่าน ผู้ถือครองซิมการ์ดตั้งแต่ 6-100 เลขหมายต่อ