จริงดิ! สส.ก้าวไกล เผยไปเดินตลาดมา ได้ยินแต่เสียงคนใต้บ่น 'บิ๊กตู่'

28 ม.ค.2566 - นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) มีกำหนดเดินทางลงพื้นที่จ.ชุมพร เพื่อพบปะผู้นำและปราศรัยหาเสียงที่จ.ชุมพร เป็นแห่งแรกของภาคใต้ ในวันนี้ (28 ม.ค.) ว่า ตนคิดว่าตอนนี้คนใต้เริ่มเห็นธาตุแท้ของพล.อ.ประยุทธ์ เมื่อตนเดินตลาด ก็ได้ยินเสียงบ่น และบอกให้พล.อ.ประยุทธ์ พอได้แล้ว และหยุดได้แล้ว เพราะเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น ราคาปาล์ม และราคายาง ไม่เคยมีโรงสร้างราคาที่ยั่งยืน คือขึ้นๆ ลงๆ กระแสในภาพรวมคือคนใต้คงจะเริ่มเข็ดขยาดกับพล.อ.ประยุทธ์แล้ว

นายประเสริฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ตนอยากเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ ช่วยตอบคำถามว่าการไปจ.ชุมพร ครั้งนี้ กล้าไปตามเรื่องการประมูลสัมปทานรังนกหรือไม่ เพราะปัจจุบันมีผลประโยชน์ และมีการขัดขวางไม่อยากให้ประมูลรังนก และใช้อิทธิพลข่มขู่หลายอย่าง จนผู้มีอิทธิพลได้ผลประโยชน์แบบฟรีๆ ส่งผลให้รัฐขาดประโยชน์ และขาดรายได้จากการเก็บภาษีจากผู้สัมปทานรังนก นายกฯ ไปจ.ชุมพร แล้วกล้าจะไปแก้ไขปัญหานี้หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476