ส.ว. ชี้ปลดล็อกนายกฯ 8 ปี ไม่มีทางแก้ได้ในรัฐบาลนี้ อัดนักการเมืองใกล้หาเสียงก็ด่าไว้ก่อน

“กิตติศักดิ์” ชี้ไม่ใช่เรื่องง่ายแก้วาระ 8 ปีนายกฯ เหตุสภาหมดอายุ ต้องรอรัฐบาลหน้าเอาด้วยหรือไม่ ยันส.ว.เลือกนายกฯ ไม่ฝืนเสียงประชาชน

17 ม.ค.2566 - เวลา 10.00 น.ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ(กมธ.)การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ของคณะทำงานศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป ทั้งประเด็นการแก้มาตรา 158 วาระดำรงตำแหน่ง8 ปีของนายกรัฐมนตรี มาตรา 159 เรื่องคุณสมบัติของนายกฯต้องมาจาก ส.ส. และมาตรา 272 เกี่ยวกับยกเลิก ส.ว.ร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี และเรื่องการแก้ปัญหาองค์ประชุมสภาล่ม

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.ในฐานะกมธ.ฯ กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของนายกฯ 8ปี เนื่องจากที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่แล้วประชาชนฝากมาว่า เบื่อส.ส.ไม่ทำหน้าที่ ทำสภาล่มตลอด ควรให้ส.ส. มีวาระการดำรงตำแหน่งหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราศึกษาต่อไปคือถ้าเช่นนั้นเมื่อส.ส.ไม่มีวาระ และก่อนนี้นายกฯก็ไม่มีวาระ เราจึงคิดว่าถ้าอย่างนั้นปล่อยให้เสรีเลย คือปลดล็อกนายกฯ 8 ปี ตามมาตรา 158 การที่เราคิดตรงนี้ ไม่ใช่ว่าส.ว.จะไปเสนอแก้มาตรา 158 วรรคสุดท้ายที่บอกว่านายกฯปฏิบัติหน้าที่เกิน 8 ปีไม่ได้ และไม่มีทางแก้ได้เพราะรัฐบาลนี้เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน และส.ว.แก้โดดๆไม่ได้ เพราะพ.ร.บ.การทำประชามติได้ออกมาบังคับใช้แล้ว และหากจะแก้รัฐธรรมนูญเพียงมาตราเดียวน่าจะต้องทำประชามติอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ซึ่งต้องใช้เงินนับ 10,000 ล้านบาท

“ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลย และสิ่งที่กมธ.ฯคิดไว้คือ หากรัฐบาลหน้า ใครจะมาเป็นรัฐบาลไม่ทราบ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายการเมือง หรือประชาชนเสนอแก้ ซึ่งส.ว.ศึกษามาแล้ว ซึ่งมีหลายประเด็นเช่นการซื้อเสียง การทุจริตในการเลือกตั้ง รวมถึงมาตรา 158 ด้วย ขอย้ำอีกครั้งว่าการแก้ไขน่าจะเป็นรัฐบาลหน้าแน่นอน แต่เขาจะแก้หรือไม่แก้ไม่ใช่หน้าที่ ส.ว. หากมีการแก้ ส.ว.ก็จะมีการเสนอประเด็นเข้าไปร่วมแก้ไขด้วยและต้องทำประชามติ ไม่เช่นนั้นทำไม่ได้ และหากผ่านประชามติแล้ว ก็ต้องมีมติของรัฐสภาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ต้องมีเสียงฝายค้าน และส.ว.ด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เข้าใจว่านักการเมืองในขณะนี้ ใกล้หาเสียงก็ด่าได้ ตำหนิได้ ก็ว่าไป เป็นเรื่องของการเมืองมากกว่า” นายกิติศักดิ์ กล่าว

เมื่อถามถึงกรณที่ส.ว.มีสิทธิ์เลือกนายกฯอีกครั้งและมีการยอมรับว่าส.ว.มีการแบ่งกลุ่มเป็น2 ฝ่ายลุ่งตู่ ลุงป้อม นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ฝ่ายลุงตู่ ลุงป้อม ตอนเข้ามาอาจจะมี แต่ถึงการลงมติแล้วจะเห็นได้ว่าการพิจารณากฎหมายต่างๆ ส.ว.จะไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นถ้าสมมติพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) มีคะแนนมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ แน่นอนว่า ส.ว.ก็ไป แต่ถ้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้คะแนนมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาล ส.ว.ก็เชียร์ลุงป้อม ขณะเดียวกันตรงกันข้าม สมมุติอาจจะเป็นพรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคก้าวไกล (กก.) ได้ส.ส.รวมกันแล้วสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และอีกฝ่ายเป็นเสียงข้างน้อย เชื่อว่าส.ว.ไม่ฝืนมติประะชาชน ไม่ไปเลือกรัฐบาลเสียงข้างน้อยแน่นอน

ถามว่าที่ผ่านมาถึงขนาดส.ว.มีการเช็กชื่อใครอยู่กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ใครอยู่กับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทราบ ตนเป็นส.ว.ปลายแถวเลยไม่มีใครมาขอชื่อตน เราอยู่ตรงนี้เป็นสภาสูงที่พิจารณาแต่งตั้งบุคคล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมาย เราต้องทำหน้าที่ให้ดี ส่วนเรื่องการเมืองควรให้เป็นฝ่ายของการเมืองมากกว่า

เมื่อถามถึงความเหมาะสมในการลงพื้นที่หาเสียงโดยเฉพาะฝั่งรัฐบาล นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ส.ว.ก็มองดูเหมือนประชาชนทั่วไป การที่จะหาเสียง ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลนี้ รัฐบาลที่ผ่านๆมาใกล้เลือกตั้งก็ต้องลงหาเสียงกับประชาชน ส่วนจะมีความเหมาะสมในเรื่องการใช้งบประมาณในฐานะที่เป็นรัฐบาลหรือไม่ ประชาชนและพรรคการเมืองจับตาดูอยู่ ดังนั้นความเหมาะสมที่จะใช้งบประมาณแผ่นดินไปหาเสียงก็ไม่เหมาะสม

ถามด้วยว่า มองกระแส พล.อ.ประยุทธ์กับพล.อ.ประวิตร ที่ลงพื้นที่หาเสียงแข่งกันอย่างไร นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ทราบ เพราะเห็นบอกเป็นพี่น้องกัน ส่วนเลือกตั้งแล้วพล.อ.ประวิตรจะไปไหน จะไปเพื่อไทย หรือไปกับพล.อ.ประยุทธ์ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการเมือง และหากพล.อ.ประวิตร ไปรวมกับเพื่อไทยตนก็ไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะถือเป็นเรื่องของการเมือง ส่วนการลงมติจะเป็นอย่างไรต้องดูหน้างานก่อนว่าถ้าใครต่อใครไปรวมกันแล้วประเทศชาติเดินไปได้หรือไม่ หรือไปแล้วจะมีปัญหาเกิดขึ้น จะมีม็อบหรือไม่ ส.ว.ก็จะไปดูหน้างานแล้วตัดสินใจตอนนั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดือด! 'กิตติศักดิ์' ฟาด สว.ใหม่ หุบปากเดี๋ยวนี้ อย่าก้าวก่ายหน้าที่ประชุมวุฒิสภา

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สว. ลุกขึ้นอภิปรายว่า ตนขอขอบคุณประธานที่กล้าหาญในการเปิดประชุม ดังนั้นเป็นหน้าที่และอำนาจของพวกเรา สว.ชุดเรา ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ โดยเฉพาะ สว.กิตติศักดิ์ ความรู้น้อย เป็นเด็กบ้านนอก เป็นผู้เฒ่า ตนอยากจะบอกว่าที่ สว.ใหม่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ

'ปิยบุตร' ดักคอพรรคจ้องดูด สส.งูเห่า เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเสถียรภาพรัฐบาล

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สัดส่วนพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมนัดแรก

โฆษกก้าวไกล ชี้บทพิสูจน์ผลงาน สว.ชุดใหม่ ออกแบบ ส.ส.ร. ต้องมาจากเลือกตั้ง 100%

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ทุกอย่างเป็นผลลัพธ์กระบวนการเลือก สว.ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องสำคัญเฉพาะหน้าคือ ทำอย่างไรให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)

'นิกร' ชี้เดินหน้าดีกว่าล้มกระดาน สว.ชุดใหม่ แนะรอ ส.ส.ร. แก้ไขกติกาให้ดีขึ้น

นายนิกร จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่าย อาทิ บุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านการเมือง และผู้สมัครที่ไม่ผ่านการคัดเลือกสว.มีความพยายายามดำเนินการ ให้มีการระงับยับยั้ง

รทสช. ชี้ข่าวยกเลิกสส.บัญชีรายชื่อ ไม่มีมูลเหตุ วอนทุกฝ่ายหยุดประเด็นทางการเมือง

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี ในฐานะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ยกเลิก สส.ระบบบัญชีรายชื่อ เหลือเพียง สส.ระบบแบ่งเขต ว่า การมี สส.ทั้ง 2 ระบบเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว