'ปธ.ชวน' หวังไม่ยุบสภา ธ.ค.-ม.ค. หวั่นวุ่นช่วงพิจารณากม.ลูก

‘ชวน’ หวังไม่ยุบสภา ธ.ค.-ม.ค. หวั่นเกิดปัญหา ลั่นรัฐบาลเสนอแก้กม.ลูกเมื่อไหร่พร้อมบรรจุเข้าวาระทันที ไม่กระทบหากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป ม.152 ในช่วงเดียวกัน

22 พ.ย. 2564 – ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 ลงมาแล้ว กฎหมายก็จะมีผลใช้บังคับ กระบวนการต่อไปที่สภาฯ ต้องเตรียมรับ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง และพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ขณะนี้สิ่งที่สภาฯ เตรียมรับ คือ รัฐบาลกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประสานกัน โดย กกต.จะมีหน้าที่เตรียมกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเพื่อส่งไปยังรัฐบาล และรัฐบาลก็จะเป็นผู้เสนอกฎหมายต่อสภาฯ หรือ ส.ส.อาจจะเข้าชื่อกันเสนอกฎหมาย ดังนั้น คิดว่าน่าจะเดือนธ.ค. หรือเดือนม.ค.ที่รัฐบาลจะเสนอกฎหมายเข้ามา ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ส่งสัญญาณอธิบายเรื่องนี้มา 2-3 ครั้งแล้ว ซึ่งฝ่ายสภาฯ ก็หารือกับฝ่ายเลขาธิการสภาฯ ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง

“กฎหมายให้ใช้บังคับการเลือกตั้งทั่วไป ฉะนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวหากมีการยุบสภาขึ้นมาก็จะมีปัญหาเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเข้าใจว่ากระบวนการคงไม่ช้า เพราะเท่าที่สอบถามภายในทราบว่า กกต.ได้เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วในเบื้องต้น นับตั้งแต่ที่กฎหมายนี้ผ่านสภาฯ ไป เพียงแค่รัฐบาลจะเสนอเข้ามาเมื่อไหร่ หากเสนอเข้ามาในช่วงเดือนธันวาคมก็สามารถบรรจุเข้าระเบียบวาระในเดือนธันวาคมได้เลย” นายชวน ระบุ

เมื่อถามว่า กระบวนการพิจารณาของสภาใช้เวลานานหรือไม่ ประธานสภาฯ กล่าวว่า กฎหมายจะไม่ซับซ้อนมาก เพราะแก้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม

เมื่อถามย้ำว่า หากระหว่างนี้เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้นจริงๆ นายชวน กล่าวว่า ก็จะมีปัญหา ซึ่งตนพูดไว้เผื่อล่วงหน้า เพียงแต่ก็หวังว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ฝ่ายสภาฯ ก็ต้องเตรียมรับกฎหมายที่รัฐบาลจะเสนอมาเป็นหลัก ซึ่งตนได้กำชับไปแล้วว่าเมื่อเสนอเข้ามาก็ให้รีบดูและพิจารณาให้พร้อม และเข้าสภาฯ ในทันที

ส่วนที่ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 152 ซึ่งคาดว่าจะยื่นในเดือนธันวาคมเหมือนกันจะทำได้หรือไม่นั้น นายชวน กล่าวว่า ทำได้ ดังนั้น ช่วงนี้จึงได้ขอความร่วมมือสภาฯ ให้มาประชุม และนัดประชุมวันศุกร์เพิ่มเป็นพิเศษ เพื่อนำเรื่องที่ค้างพิจารณาอยู่ เช่น กฎหมายของรัฐบาลที่จะต้องไม่ค้างแม้แต่เรื่องเดียว ในส่วนของญัตติที่เสนอไว้ก็ต้องใช้เวลา จะเห็นว่าจะต้องใช้เวลาพิจารณาทั้งวัน ซึ่งก็ได้ขอความร่วมมือว่าอะไรที่ค้างอยู่ก็ขอให้ช่วยกันสะสางให้ออกไป วันศุกร์นี้จึงขอความร่วมมือว่าให้ประชุมอีกครั้งก่อนจะเริ่มเข้าสู่เดือนธันวาคม โดยจะนำเรื่องที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วมาพิจารณา โดยปัญหาจะอยู่ที่ความร่วมมือของการอภิปราย เพราะยุคนี้อภิปรายกันเหมือนญัตติทำให้ต้องใช้เวลา แต่หลายคนเป็นคนรักษาเวลาน่านับถือ ฉะนั้น ความร่วมมือจะทำให้งานสภาฯ ไปได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัฐสภา' ไม่มีอำนาจรับรองวุฒิการศึกษา ปัดก้าวล่วงคุณสมบัติ สว.

'อาพัทธ์' โต้ 'สมชัย' รัฐสภาไม่มีอำนาจตรวจสอบ-รับรองวุฒิการศึกษา เผยต้องคุยฝ่ายกฎหมายก่อนเอาผิดได้หรือไม่ ปัดก้าวล่วงคุณสมบัติ สว.

มีหนาว! ‘ชวน’ เชื่อในอนาคต ก๊วนดีลลับช่วยนักโทษเทวดา จะโดนเช็คบิลย้อนหลังแน่

ก๊วนดีลลับ-ช่วยนักโทษเทวดามีหนาว “อดีตนายกฯชวน”เชื่อ ในอนาคตจะมีการรื้อฟื้นสอบสวน เช็คบิลย้อนหลัง

เปิดใจ 'ชวน' วางมือการเมืองหรือลงเลือกตั้งต่อ? เชื่อ 'อภิสิทธิ์' ไม่ไปไหนรอกลับมาช่วย ปชป.

นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภากล่าวถึงอนาคตทางการเมืองของตัวเอง หลังเป็นส.ส.มา 17 สมัยติดต่อกัน หลังมีกระแสข่าวทั้งพรรคประชาธิปัตย์อาจไม่ส่งนายชวน ลงสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้าและกระแสข่าวเตรียมวางมือทางการเมือง

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

เทียบชัดๆ 'อดีตประธานสภาฯ' ชี้อภิปรายงบ 68 เบาหวิว ไม่แตะเศรษฐา ต่างยุคบิ๊กตู่โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอนหนี่งในงาน “แนวหน้า TALK ครั้งที่1” หัวข้อ เมืองไทยวันนี้….มีอะไร ว่า ถ้าถามว่าเมืองไทยวันนี้มีอะไร ตนในฐานะที่ผ่านประสบการณ์การเมืองมา