'ซูเปอร์โพล' เปิดผลสำรวจประชาชนสุดเอือม 'สภาล่ม' ซ้ำซาก

14 ม.ค.2566 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ผู้แทนราษฎร กับ ความหวังใหม่ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,137 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12 – 13 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึง ความเข้าใจของประชาชนต่อ หน้าที่ของ ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ร้อยละ 51.0 ระบุ ผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ร้อยละ 44.9 ระบุ เห็นชอบกฎหมาย ร้อยละ 32.7 ระบุ พิจารณา กฎหมาย ร้อยละ 30.3 ระบุพิจารณา งบประมาณรายจ่ายประจำปี และร้อยละ 28.7 ระบุเสนอ กฎหมาย ร้อยละ 23.7 ระบุ ช่วยเหลือ งานศพ งานบวช พบปะประชาชน ในงานต่าง ๆ ร้อยละ 21.6 ระบุ ตั้งคณะกรรมาธิการ ชุดต่าง ๆ และร้อยละ 14.8 ระบุ เห็นชอบ ตั้ง คน เป็น นายกรัฐมนตรี

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเข้าใจว่า หน้าที่ของ ผู้แทนราษฎร คือ ช่วยเหลือ งานศพ งานบวช พบปะประชาชนในงานต่าง ๆ มีสัดส่วนมากกว่า หน้าที่ในการเห็นชอบตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี เสียด้วยซ้ำ อาจเป็นผลมาจากข่าวสารที่ออกมาไปเน้นอำนาจการตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีในมือของวุฒิสภามากกว่าหน้าที่ของผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นประเด็นที่น่ามีการพิจารณาเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ระบุ ความเสื่อมของ ส.ส. หรือ ผู้แทนราษฎร คือ สภาล่ม ซ้ำซาก แจกกล้วย พฤติกรรมไม่เหมาะสม ดูหนังโป๊ในสภา เสียบบัตรแทนกัน รองลงมาคือร้อยละ 91.9 ระบุ รัฐสภา ไม่เป็น ต้นแบบ ของความรักความสามัคคีของคนในชาติ แบ่งขั้ว แบ่งข้าง มุ่งแต่หาผลประโยชน์ ร้อยละ 91.0 ระบุ ผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ต้นตอ ทุจริต แสวงหาผลประโยชน์ จาก การประมูลโครงการต่าง ๆ และร้อยละ 90.5 ระบุ ความเป็น ส.ส. หรือ ผู้แทนราษฎร เป็น สมบัติประจำตระกูล สืบทอดต่อ ๆ กันได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ผู้แทนราษฎรที่ประชาชนคาดหวังทำหน้าที่ ส.ส.ที่ดีในสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ร้อยละ 54.9 ระบุ นาย เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล นาย ธนกร วังบุญคงชนะ นาง วลัยพร รัตนเศรษฐ จากพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 54.0 ระบุ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ นาย อิสรพงษ์ มากอำไพ น.ต.สุธรรม ระหงษ์ จาก พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 53.6 ระบุ นายเดชทวี ศรีวิชัย จากพรรค เสรีรวมไทย ร้อยละ 50.6 ระบุ นาย เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จาก พรรค รวมพลัง ร้อยละ 50.3 ระบุ นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ จาก พรรค เพื่อชาติ และร้อยละ 48.0 ระบุ นายรองรักษ์ บุญศิริ จาก พรรคประชาภิวัฒน์ เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ยังหวังมาก ถึง มากที่สุด ต่อ ผู้แทนราษฎรคนใหม่ ทำหน้าที่ที่ดีในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่ ร้อยละ 25.0 หวังปานกลาง และร้อยละ 7.7 หวังน้อยถึงไม่หวังเลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง