11 ม.ค.2566 - นายสำราญ ตันพานิช ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส.ทั้ง 33 เขตเลือกตั้งของกรุงเทพมหานคร ว่า ทางกกต.กทม. ได้เตรียมความพร้อมโดยมีการแบ่งรูปแบบเขตเลือกตั้งไว้หลายรูปแบบตั้งแต่เดือนก.พ. 2565 ตั้งแต่ข้อมูลแนวเขตเลือกตั้ง ข้อกฎหมายที่กำหนดจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 64 เพื่อให้กกต.ได้ใช้ดุลยพินิจอิสระในการเลือกรูปแบบ เมื่อมีการประกาศจำนวนราษฎรใหม่ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 65 เราก็จะนำจำนวนราษฎรรายแขวง รายตำบล มาพิจารณาว่าเขตเลือกตั้งที่เราได้ทำไว้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
นายสำราญ กล่าวต่อว่าเท่าที่ดูเบื้องต้นยังอยู่ในเกณฑ์ และเราก็ได้เร่งดำเนินการแบ่งเขตอย่างจริงจังแล้วแต่ยังไม่สามารถประกาศเผยแพร่ได้ ต้องรอร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับเสียก่อน เนื่องจากมาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่เมื่อยังไม่มีกฎหมายรองรับ เราก็ได้แต่เตรียมการไว้ แต่เมื่อกฎหมายประกาศบังคับใช้ ระเบียบที่กำหนดรายละเอียดของการแบ่งเขตซึ่งทราบว่ามีการดำเนินการยกร่างไว้เสร็จแล้ว ก็จะประกาศออกมา และถึงเวลานั้นการแบ่งเขตก็จะปรากฏออกมา คิดว่าไม่นานนี้
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า เมื่อเราได้รูปแบบที่ชัดเจนไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบแล้ว ก็จะมีการประกาศรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมือง และประชาชนในเขตจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลา 10 วัน ตามที่ระเบียบกำหนด จากกนั้นก็จะนำความเห็นมาประมวลภายในระยะเวลา 3วัน โดยทุกความเห็นมีความสำคัญ ก่อนจะเลือกรูปแบบที่เหมาะสมเรียงลำดับ 1-2-3-4-5 เสนอต่อกกต.ในวันรุ่งขึ้น จากนั้นก็เป็นกระบวนของสำนักงานกกต.ว่าจะเสนอต่อกกต.พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยในส่วนของกกต.กทม. แต่ละเขตเลือกตั้งเราแบ่งไว้เกินกว่า 3 รูปแบบ
เมื่อถามว่า ในส่วนของกทม.มี 33 เขตเลือกตั้ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เขต ใน 3 เขตดังกล่าวเมื่อแบ่งใหม่จะกระทบไปยังเขตอื่รวมกี่เขตเลือกตั้ง นายสำราญ กล่าวว่า ขอที่จะยังไม่ระบุ แต่จากที่เราได้แบ่งไว้ตอนเดือนก.พ. เมื่อนำมาพิจารณากับจำนวนราษฎรที่ประกาศล่าสุด ไม่แตกต่าง โดยของกทม. 33 เขตเลือกตั้ง จะแบ่งเป็นฝั่งพระนครรวม 35 เขตปกครองแบ่งเป็น 23 เขตเลือกตั้ง ฝั่งธนบุรีรวม 15 เขตปกครอง แบ่งเป็น 10 เขตเลือกตั้ง ซึ่งในทางกายภาพกทม.ไม่ได้ภูมิประเทศเป็นป่าเป็นภูเขา ดังนั้นการแบ่งเขตก็จะไม่มีเรื่องการร้องเรียนว่าแบ่งเขตแล้วเกิดปัญหาการเดินทางไม่สะดวก อีกทั้งหลักการแบ่งเขต กฎหมายก็เขียนไว้ว่า เขตพื้นที่ต้องติดต่อกัน ไม่สามารถแบ่งพื้นที่ของแต่ละแขวง ตำบล ถ้าจะยกก็ต้องยกมาทั้งแขวงทั้งตำบล ที่สำคัญคือความสะดวกของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ส่วนที่ขณะนี้พรรคการเมืองเริ่มมีการติดป้ายหาเสียง นายสำราญ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วง 180 วันก่อนสภาผู้แทนราษฎร ครบวาระซึ่งกฎหมายกำหนดให้พรรคการเมืองผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ โดยการปฏิบัติก็จะเป็นลักษณะเดียวกับที่ผู้สมัคร พรรคการเมืองเคยปฏิบัติในการเลือกตั้งปี 62 ซึ่งจนถึงขณะนี้กกต.กทม. ยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการกระทำในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกกต.กทม.ได้มีการประชาสัมพันธ์ มาตั้งแต่เนิ่น ๆ มาจนปัจจุบันว่าอะไรควรทำ หรือควรแก้ไข อีกทั้งกฎหมายก็เปิดโอกาสให้กกต.สามารถแจ้งเตือนให้ผู้สมัครแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ดำเนินการ กกต.ก็ดำเนินการเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้สมัคร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วรชัย' พูดเต็มปาก! 'ชวน' ไม่ควรว่าทักษิณ ถ้ายังกวาดบ้านตัวเองไม่สะอาด
นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทำนองว่า ตัวเองเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่ไม่โกง
ดิเรกฤทธิ์ : ปัญหาประชาธิปไตยสุจริตวันนี้
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าปัญหาประชาธิปไตยสุจริตวันนี้(11 มกรา
'วรงค์' มึน 'กกต.' ปล่อยผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง มีบทบาทเหนือหัวหน้าพรรค
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ผมรู้สึกมึนกับกกต. ที่ปล่อยให้ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทา
แม่หมอ..มองทะลุ ปี 68 เปลี่ยนนายกฯ ..ยุบสภา-ลาออก!!.. I อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร
อิสรภาพแห่งความคิด กับ..สำราญ รอดเพชร : วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568
'อิ๊งค์' ยัน ทักษิณ-เพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งอบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะหัวหน้
ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่
"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน