8 ม.ค. 2566 – นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติวินิจฉัยคดีที่นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ในวันพรุ่งนี้ว่า ผมคาดหวังว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินโดยรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ไม่ใช่รักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเอกชนที่เติบโตหลายแสนล้านโดยการผูกขาดการผลิตไฟฟ้า และถูกกล่าวหาว่ารัฐและทุนสุมหัวกันขูดรีดประชาชน
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ล่ารายชื่อ 100 พลเมืองไทยเรียกร้องรัฐบาลยุติการให้เอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของรัฐ ซึ่งมีผู้ลงชื่อที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทั้งอดีตผู้ว่าการ กฟผ. และผู้บริหาร ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสากิจหลายแห่ง นักกฎหมาย ทนายความ คณบดี อาจารย์มหาวิทยาลัย อดีต ส.ส. ส.ว. ศิลปิน ดารานักร้อง นักธุรกิจเพื่อสังคม และแกนนำภาคประชาชนจำนวนมาก ที่ไม่ต้องการให้เกิดการผูกขาดเศรษฐกิจโดยการใช้ทรัพยากรของรัฐและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ควรเป็นบริการสาธารณะ ไม่ควรปล่อยให้เอกชนแสวงหากำไรเอาเปรียบประชาชน
เรื่องนี้คือความผิดพลาดของรัฐบาลอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกฯ เป็นประธาน กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สมคบคิดวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย และให้ใบอนุญาตเอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของประเทศ ดังนั้น ผมขอเรียกร้องให้เปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับเอกชน โดยทันที เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ และให้ประชาชนเห็นว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่
ในวันที่ พฤ. 5 ม.ค. 2023 11:34 Metha Matkhao [email protected] เขียนว่า:นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เผยแพร่แถลงการณ์ 100 พลเมืองไทย
เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการให้เอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของรัฐ ชี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สมคบคิดวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย และให้ใบอนุญาตเอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของประเทศ จี้เปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับเอกชน เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์ 100 พลเมืองไทย
เรียกร้องรัฐบาลยุติการให้เอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของรัฐ
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 56 ระบุว่า “รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทําด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของเอกชนหรือทําให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้การจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง รัฐต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
การนําสาธารณูปโภคของรัฐไปให้เอกชนดําเนินการทางธุรกิจไม่ว่าด้วยประการใดๆ รัฐต้องได้รับ ประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงการลงทุนของรัฐ ประโยชน์ที่รัฐและเอกชนจะได้รับ และค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากประชาชนประกอบกัน”
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า การให้บริษัทเอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้นจนทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของรัฐน้อยกว่าร้อยละ 51 อันเป็นกระทำที่ฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 56 วรรคสอง ทำให้ผู้ร้องเรียนได้รับผลกระทบจากการใช้ไฟฟ้าในราคาที่แพงขึ้นและไม่เป็นธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องที่ นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 51 ว่า กระทรวงพลังงานกำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2559 – 2563) พัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัด หรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสองหรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่าเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 51 ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 45
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ละเมิดต่อหลักการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเกิดความขัดแย้งในสังคมไทย กลุ่มปัญญาชนและพลเมืองไทย จำนวน 100 คน ตามรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยุติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย การให้ใบอนุญาตเอกชนผูกขาดการผลิตไฟฟ้าเกินกึ่งหนึ่งของประเทศ และเปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับเอกชน เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและประชาชนต่อไป
5 มกราคม 2566
100 พลเมืองไทย ผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย
- กมล กมลตระกูล กรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภค
- พท.พญ. กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ
- กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กาญจนี วัลยะเสวี กลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ
- การุณ ใสงาม อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- เกษม บุตรขุนทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- คมสันต์ ทองศิริ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง
- จอมพล รุ่งเรืองชูเลิศ ประธานคณะกรรมการปราบปรามโกงชาติ
- ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- จำนงค์ หนูพันธ์ แกนนำชุมชนเมือง ประธานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
- ชลกานดาร์ นาคทิม นักวิชาการอิสระ
- ชุมพล ศรีรวมทรัพย์ นักวิชาการอิสระ
- ผศ.ดร.ฐกฤต ปานขลิบ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- ผศ.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ อดีตหัวหน้าภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.อ.ถัด ดวงจิตต์ ข้าราชการบำนาญ
- ศ.(กิตติคุณ) ธงชัย พรรณสวัสดิ์ อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ธงชัย ไวยบุญญา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค
- ผศ.ดร. ธีระพงศ์ สติภพ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล
- นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วชิระ อดีตคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม
- ผศ.ดร.บันลือ เอมะรุจิ อดีต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
- บุญเลิศ สว่างกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ประทีป นรินทรางกูล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ
- ประยงค์ มูลสาร (ยงค์ ยโสธร) นักเขียน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ประเสริฐ เลิศยะโส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน
- ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
- พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ สถาปนิก
- พล คงเสือ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- พะเยาว์ อัคฮาด ผู้เสียหายจากเหตุการณ์พฤษภา 2553
- พิเชษฐ์ ชูชื่น อดีตผู้อำนวยการโรงฟ้าจะนะ
- รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตคณบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์ ภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภัทรพงศ์ เทพา อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโส การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ดร.ภัทรมน สุวพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ภิญโญ มีชำนะ อดีตหัวหน้าภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศ.(พิเศษ) ดร.มนตรี ค้ำชู อดีตรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
- เมธา มาสขาว เลขาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
- เยี่ยมยอด ศรีมันตะ ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ
- รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความ
- ระวัย ภู่ผะกา อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม
- รัชดา ทองอยู่ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ
- รศ.ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา
- โรจน์ คำพาที อดีตผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เลขาธิการองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย
- วรรณพร ฉิมบรรจง ศิลปินดารานักแสดง
- วรพจน์ มานะพันธุ์พงศ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- วรพล แกมขุนทด ประธานที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่
- วสันต์ สิทธิเขตต์ เครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย
- วัฒนา หลายเพิ่มพูน ผู้ช่วยผู้ว่าการบำรุงรักษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- วิชัย สิมะธัมนันท์ อดีตรองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- วิบูลย์ ฤกษ์ศิริทัย อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- วิทยา รักษ์พงษ์ วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ดร.วิระวรรณ สมบัติศิริ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
- วีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น
- ไวบูลย์ เชี่ยวชาญ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ผศ.ดร.ศราวุธ เจ๊ะโส๊ะ อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ
- ศิริชัย ไม้งาม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สมเกียรติ รอดเจริญ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- สมใจ ทองบุราณ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดยโสธร
- สมชาย หอมลออ ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
- ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระ
- สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
- สมบูรณ์ วิจารณ์จันทร์ ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- สมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- สมประสงค์ ยิ่งเจริญ นักวิชาการอิสระ
- สมภพ พวงจิตต์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สมภพ ปานสวัสดิ์ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปานครหลวง
- พ.จ.อ.ดร.สมศักดิ์ อ่อนศรี ประธานสมาพันธ์สถานบันเทิง
- รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมศรี หาญอนันทสุข กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
- สมสิทธิ์ ศรีนาชู อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปานครหลวง
- สราวุธ สราญวงค์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย
- สราวุฒิ นิยมทรัพย์ อดีตวุฒิสภา
- ผศ.ดร.สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
- ดร.สานิตย์ แสงขาม นักวิชาการอิสระ
- สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค
- สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
- สังวรณ์ พุ่มเทียน อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน)
- สุกิจ ชื่นกมล อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการโครงการธุรกิจเดินเครื่องและบำรุงรักษา
- สุดเจริญ สมชม อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ดร.สุทธิชัย จูประเสริฐพร อดีตรองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สุทัศนีย์ ไวยนิยา อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม
- สุนี โชยรส อาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
- สุรทิน พิจารณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สุวิน อัจจิมางกูร อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- สุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ
- ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- อนุสรณ์ ศรีแก้ว อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- อารยา แก้วประดับ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม
- อุริช อัชชโคสิต นักวิชาการอิสระ อดีตอาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เอกวริศฐ์ ชะเอม ศิลปินนักร้อง
- รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หัวหน้าเท้ง' มั่นใจสู้คดี 44 สส. ยื่นแก้ ม.112 แต่หากถูกตัดสิทธิยังมีดาวเด่นอีกหลายคน
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีจริยธรรมของ 44 สส. อดีตพรรคก้าวไกล ว่า ทีมกฎหมายได้เตรียมการไว้อย่างดี และตนยังอยากให้ทุกคนกลับมาย้อนคิดอีกครั้ง อยากให้ทุกคนย้อนกลับมาคิดอีกครั้งว่าที่มาที่ไปของปัญหานี้เกิดจาก ก
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
อย่าสับสน ปมศาลรธน.ยกคำร้องเรื่องป่วยทิพย์นักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน
ไม่ให้ราคา กกต.!ชูศักดิ์บอกส่งเอกสารแจงครอบงำพอขู่หลังปีใหม่รู้นักร้องคนไหนโดนเช็กบิล
'ชูศักดิ์' บอก นายกฯ ไม่จำเป็นต้องไปแจง กกต.เอง ปม 'ทักษิณ' ครอบงำ ชี้มีแต่เรื่องเก่าๆ เผยหลังปีใหม่รูัใครโดนเช็กบิลบ้าง
นายกฯ ยิ้มรับถูกถามศาลรธน. ตีตกคำร้องดิจิทัลวอลเล็ต ย้อนถามสื่อต้องหน้าบึ้งเหรอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
ปิ๋วอีกคดี! ศาล รธน.ไม่รับคำร้องปมแจกเงินดิจิทัลไม่ตรงปก
'ศาล รธน.' มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง 'สนธิญา' ร้อง 'นายกรัฐมนตรี' เปลี่ยนแปลงแนวทางแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ไม่เหมือนที่หาเสียงไว้ ระบุไม่เป็นไปตามพ.ร.ป.พิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ