คนไทยมองปี 66 การเมืองยังวุ่นวายเหมือนเดิม ฟันธงมีซื้อเสียงเลือกตั้งแน่นอน

8 ม.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การเมือง เศรษฐกิจ และโควิด 19 ในปี 2566” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 3-6 มกราคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และโควิด 19 ในปี 2566 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยโดยทั่วไปในปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.27 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมา ร้อยละ 36.11 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายมากขึ้น ร้อยละ 10.07 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะวุ่นวายน้อยลง ร้อยละ 7.86 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมือง จะไม่วุ่นวายเลย และร้อยละ 0.69 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.60 ระบุว่า มีแนวโน้มว่าจะมีการซื้อเสียงเลือกตั้ง รองลงมา ร้อยละ 36.56 ระบุว่า มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 33.74 ระบุว่า จะมีการโกงการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถเอาผิดผู้บงการได้ ร้อยละ 29.39 ระบุว่า จะมีการใช้เงินในการหาเสียงมากกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด และจะมีแค่การทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งในเรื่องเล็ก ๆ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 20.23 ระบุว่า จะไม่มีการซื้อเสียงเลือกตั้ง ร้อยละ 16.95 ระบุว่า จะไม่มีการใช้อิทธิพล และ/หรือ อำนาจรัฐในการหาเสียง ร้อยละ 12.82 ระบุว่า จะมีการใช้เงินในการหาเสียงตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ร้อยละ 11.30 ระบุว่า จะไม่มีการทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ร้อยละ 4.05 ระบุว่า จะมีการโกงการเลือกตั้ง และสามารถเอาผิดผู้บงการได้ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.25 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 34.51 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะเหมือนเดิม ร้อยละ 28.09 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จะแย่ลง และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทย ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 35.57 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะไม่น่ากลัวอีกต่อไป รองลงมา ร้อยละ 32.06 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะลดน้อยลง ร้อยละ 19.70 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะเหมือนเดิม และร้อยละ 12.67 ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จะรุนแรงขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

‘นิด้าโพล’ ชี้ประชาชนหนุนมาตรการส่งดี เปิดดูสินค้าก่อนจ่าย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Dee-Delivery เปิดก่อนจ่าย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจประชาชนไม่สนใจ 'หวยเกษียณ' มองเป็นการมอมเมา

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จะออมเงิน…ต้องซื้อหวยเกษียณ!”

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

ผลสำรวจนิด้าโพลชี้ ประชาชนหนุน 'พิธา' นั่งนายก ส่วน 'เศรษฐา' มาเป็นอันดับ 3

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง