7 ม.ค.2566 - น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากการดูแลสวัสดิการในทุกช่วงวัยแล้ว ยังมุ่งให้เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาที่ดีมีมาตรฐาน ได้รับโอกาสทั่วถึง เท่าเทียมและทันสมัยก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยปัตตานี นราธิวาสและยะลา ที่มีรายงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีอัตราส่วนเด็กยากจนท่ขัดสนด้านการเรียนรู้ ในช่วงอายุ 5-17 ปี มากที่สุดร้อยละ 7.21 พล.อ.ประยุทธ์จึงเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วใน 6 โครงการ ดังนี้
1.หลักประกันการเข้าถึงโอกาสการศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและคงอยู่ในระบบการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) โดยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีจำนวนนักเรียนทุนเสมอภาค จำนวน 123,309 คน
2.โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสายอาชีพที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความต้องการแรงงานฝีมือใน 10 สาขาวิชาหลัก ที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสในพื้นที่ให้เข้าถึงการศึกษาสายอาชีพในระดับระกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปวส. จำนวน 521 คน
3.โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สร้างโอกาสให้แก่เยาวชนยากจนหรือด้อยโอกาสที่มีศักยภาพสูงและมีใจรักอยากเป็นครู ได้ศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ และได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นชุมชนบ้านเกิด ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ไม่อาจยุบหรือควบรวมได้ (Protected School) ในสังกัด สพฐ. ปัจจุบันมีนักศึกษาครูรักษ์ถิ่นรวม 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2563-2564-2565) ที่เมื่อจบการศึกษาจะได้รับการบรรจุจำนวน 156 คน ในโรงเรียนปลายทาง 137 แห่ง
4.โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (Teacher and School Quality Program: TSQP) กว่า30 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ คุณภาพครู และการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงขึ้น เกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้อย่างมีความสุขและยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในระยะยาว ผ่านกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ โดยมีคุณครูเข้าร่วมพัฒนาแล้วจำนวน 725 คน และนักเรียนได้รับการยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้จำนวน 8,503 คน
5.โครงการพัฒนาทักษะแรงงานขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานพัฒนาทักษะอาชีพ (Hard Skill) ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะชีวิต (Soft Skill) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพ นำไปสู่การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่สามารถดึงต้นทุนทรัพยากรในพื้นที่มาใช้เพื่อออกแบบในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมพัฒนาอาชีพ จำนวน 1,035 คน ผ่านการฝึกอบรมใน 11 หลักสูตรชุมชนเป็นฐาน
และ6.ยะลาโมเดล ต้นแบบจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ได้จัดตั้ง ‘สภาการศึกษาจังหวัด’ และ ‘กองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชนยะลา’ เป็นพื้นที่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ตามโมเดล ‘Emergency Classroom’ รองรับกลุ่มเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาที่มีความพร้อมกลับเข้าเรียน โดยมีแผนการช่วยเหลือดูแลฉุกเฉิน ซึ่งออกแบบโดยผู้อำนวยการโรงเรียน และครูที่เปรียบได้กับแพทย์เฉพาะทาง ให้รักษาดูแลเด็กได้ตามอาการ เพื่อให้อยู่ในระบบการศึกษาต่อไปจนถึงฝั่ง เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ประกาศได้ว่า ในพื้นที่ของยะลาไม่มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาอีกแล้ว
“สะท้อนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และครอบคลุมในทุกมิติ โดยเชื่อมั่นว่าผลสำเร็จของทั้ง 6 โครงการจะช่วยยกระดับคุณภาพทางด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน ตามนโยบายที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”น.ส.ทิพานัน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทีมโทรโข่งรัฐบาล ติวเข้มโฆษกกระทรวงส่ง 'ข่าวดี' ทุกสัปดาห์ เร่งตีปี๊บผลงาน 3 เดือน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายคารม พลพรกลาง นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายกฯอิ๊งค์ แถลงผลงานรัฐบาลรอบ 100 วัน 12 ธ.ค.นี้
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 100 วันจะเป็นช่วงใด ว่า ประมาณเดือน ธ.ค.
'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชนไม่พอใจผลงาน 9 เดือนรัฐบาลเศรษฐา
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ขอถามบ้าง … 9 เดือน รัฐบาลนายกฯ เศรษฐา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'เศรษฐา' พอใจผลงานรัฐบาล 6 เดือน ชูโพลสนง.สถิติแห่งชาติชี้เรตติ้งดีขึ้น
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงผลงาน 6 เดือนรัฐบาลมีอะไรต้องปรับเพิ่มเติม และอะไรคือผลงานที่โดดเด่นที่สุดในสายตาของนายกฯ หลังโพลของรัฐบาลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุเรตติ้งดีขึ้น
'เพื่อไทย' ชี้โพลสนง.สถิติฯ คนถูกใจนโยบายรัฐบาล ไม่ได้หวังแย้งโพลพระปกเกล้า
นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจประชาชนที่พอใจผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือน