5 ม.ค.2565 - ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 ว่า ในส่วนของรัฐบาลยังไม่ได้มีการกำหนดวันในขณะนี้ เนื่องจากหนังสือของประธานสภาฯ เพิ่งไปถึงคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ในส่วนความเห็นของวิปรัฐบาลเห็นว่า ช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมคาดว่าเป็นช่วงต้นเดือนก.พ. และควรกำหนดระยะเวลา 2 วันในการเปิดอภิปรายเพื่อเสนอข้อเสนอแนะ
“ฝ่ายรัฐบาลอยากจะยืนยันอีกครั้งหนึ่งกับประชาชน ฝ่ายค้าน ตลอดถึงนักวิชาการ ที่ออกมาพูดว่าการขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ข้อเสนอแนะนั้นอาจจะนำไปสู่การยุบสภา ซึ่งผมยืนยันว่าทางฝ่ายรัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะฝ่ายรัฐบาลมีความพร้อม ท่านนายกรัฐมนตรีก็มีความพร้อมที่จะชี้แจงในข้อซักถามของเพื่อนสมาชิก เพียงแต่ผมอยากจะเรียกร้องว่าการอภิปรายทั่วไปครั้งนี้เป็นการอภิปรายครั้งสุดท้ายของฝ่ายค้าน ก็อยากให้ฝ่ายค้านเตรียมข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ในการอภิปรายและการซักถามรัฐบาล ในขณะเดียวกันทางวิปรัฐบาลได้เสนอแนะครม.ไปแล้วว่า ขอให้ครม.แต่ละท่านได้เตรียมผลงาน ตลอดจนถึงการเตรียมตัว ตอบข้อซักถามเพราะครั้งนี้เหมือนเป็นการดีเบตกันในสภาครั้งสุดท้ายระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจ และมีผลต่อการเลือกตั้งในครั้งถัดไปด้วย” นายชินวรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ได้มีการพูดคุยกับพรรคฝ่ายค้านหรือยัง เพราะท่าทีฝ่ายค้านอยากจะได้มากกว่านี้ นายชินวรณ์ กล่าวว่า ได้เกริ่นไปแล้ว เพราะเราไปดูการอภิปราย เพื่อเสนอแนะต่อการบริหารของครม.ที่ผ่านมาใช้เวลา 2 วันในการอภิปราย เพราะไม่ใช่เป็นการอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ที่เป็นการอภิปรายเพื่อต้องลงมติไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ ซึ่งจะต้องอภิปรายรายบุคคลครบหมดทุกคนที่ถูกอภิปราย แต่ในกรณีนี้เป็นกรณีที่เป็นข้อเสนอแนะ ตนมีความเห็นเพิ่มเติมว่า หากเป็นเช่นนี้ จริงๆแล้วควรจะให้สิทธิ์ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลในการชี้แจงได้ตามข้อบังคับ คือเราจะต้องสลับการชี้แจงทั้งสองฝ่ายเท่ากัน
เมื่อถามว่า เบื้องต้น 2 วัน กี่ชั่วโมง นายชินวรณ์ กล่าวว่า คงให้เวลาเต็มที่ ถ้าวันละ 12 ชม. จะได้เวลาทั้งหมด 24 ชม. เป็นส่วนที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบหมายให้นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง นัดประชุมวิปทั้งสองฝ่าย เพื่อหารือกันเรื่องเวลาในการอภิปรายอีกครั้งหนึ่ง
นายชินวรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นการอภิปรายเพื่อเสนอความเห็นต่อฝ่ายบริหารตามมาตรา 152 โดยความเห็นส่วนตัวมีความเห็นว่า การอภิปรายครั้งนี้แม้จะไม่มีอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อลงมติ แต่เป็นการอภิปรายที่มีความสำคัญที่สุด 3 ประการ คือ 1.เป็นการอภิปรายเพื่อเสนอแนะต่อครม.ครั้งสุดท้ายของสมัยประชุมนี้ จึงเป็นเรื่องที่ตนคาดหวังว่าฝ่ายค้านพยายามที่จะทำงานเต็มที่เหมือนที่ฝ่ายค้านไปแถลงข่าวไปแล้วว่าจะดำเนินการ ในการชี้ให้ประชาชนเห็นว่า 4 ปีหรือ 8 ปี ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
2.เป็นเหมือนการดีเบตกัน ระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ขอให้ทุกฝ่ายได้ทำงานในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เพราะประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจ
3.ตนอยากเห็นการอภิปรายครั้งนี้ เป็นเชิงสร้างสรรค์ และเป็นการอภิปรายที่ไม่นำเรื่องส่วนตัว หรือไม่นำเรื่องที่เป็นวาทกรรมมาพูด แต่ควรจะถามเสนอแนะตรงไปตรงมา ในนามของวิปรัฐบาลจะให้ความร่วมมือและยืนยันว่าจะไม่ให้มีการประท้วงหรือขัดขวางการอภิปรายทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ
“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป
ลุ้นระทึก! เลือก ‘อบจ.’ 3 จว. ‘กกต.’ จับตาที่อุดรฯแข่งดุ
“เลขาฯ แสวง” มั่นใจเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา แต่ช่วยกระตุ้นประชาชนออกมาใช้สิทธิ เผยมีเรื่องร้องเรียน 2 เรื่อง ใส่ร้ายระหว่างผู้สมัคร เร่งตรวจสอบ