นักเรียนนอก ยกประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานอบรม ส.ว.

พริษฐ์3 ม.ค.2566 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล กล่าวถึงท่าทีของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่แสดงออกผ่าน นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ที่ให้สัมภาษณ์ระบุว่าไม่มีความจำเป็นต้องรีบ “ปิดสวิตช์ ส.ว.” และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. ในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะเป็นไปตาม “ดุลยพินิจของสมาชิก”

โดยนายพริษฐ์ กล่าวว่า การให้สัมภาษณ์ของประธานวุฒิสภาดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นถึงการละเว้นไม่พูดถึงสาระสำคัญของปัญหา เพราะแม้ ส.ว. จะเหลือวาระอีกไม่นาน แต่ระยะเวลาที่เหลือนั้นคาบเกี่ยวกับการเลือกตั้งในปี 2566 ทำให้ ส.ว. ยังคงสามารถแทรกแซงกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีและการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลไปอีก 4 ปีตามวาระรัฐบาลใหม่ ซึ่ง ส.ว. ไม่ควรเลือกนายกรัฐมนตรีตามความเชื่อของตนเอง แต่ควรเลือกจากบุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง หากต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่เคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านบัตรเลือกตั้งจริงๆ

นายพริษฐ์ กล่าวต่อไปว่า หาก ส.ว. อยากเห็นประเทศเดินหน้าตามวิถีประชาธิปไตย ที่เคารพ 1 สิทธิ 1 เสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ว. ควรจะต้องทำ 2 เรื่องในอนาคตอันใกล้นี้ ประกอบด้วย 1. ลงมติเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคเพื่อไทยได้ยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 65 เพื่อยกเลิกมาตรา 272 และปิดสวิตช์ตนเองก่อนการเลือกตั้ง และ 2. ออกมายืนยันกับประชาชนก่อนการเลือกตั้ง หากพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทัน ว่า ส.ว. พร้อมจะลงมติสนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นใครหรือมาจากพรรคไหน และจะไม่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ไม่อนุญาตให้บุคคลหรือพรรคใดเอาเสียงของ ส.ว. ไปต่อรองในกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล

นายพริษฐ์ กล่าวว่า หาก ส.ว. ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจในทางที่ไปขัดผลการเลือกตั้งอย่างที่เคยได้อ้างไว้จริง ก็ยิ่งไม่มีเหตุผลที่จะไม่สนับสนุนการตัดอำนาจตนเองในการเลือกนายกรัฐมนตรี และควรต้องออกมาให้คำมั่นต่อประชาชนในทางสาธารณะโดยพร้อมเพรียงกันด้วย

“ถ้าท่านดำเนินการตาม 2 ข้อนี้ได้ ท่านจะพิสูจน์ให้ประชาชนเห็น ว่าแม้ที่มาของท่านเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่ ณ วันนี้ ท่านได้พยายามแล้ว ในการทำให้ประเทศเดินหน้าตามหลักประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนมี1 สิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกันในการกำหนดอนาคตประเทศ เริ่มต้นจากการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมาถึง” นายพริษฐ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้ว​ไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง

นายณัฐวุฒิ​ ใสยเกื้อ​ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ