กระแสหรือจะสู้กระสุน! การเมืองไทยปี66แรง สู่ยุค ‘ธนาธิปไตย’

‘บัญญัติ’ ฟันฉับการเมืองไทยปี 66 แรง เข้าสู่ ‘ธนาธิปไตย’ ใช้เงินสารพัด ‘แจกกล้วย-เห็บ-งูเห่า-ดูด’ สูงมากเป็นพิเศษ แล้วถอนทุนคืน เกิดสงครามไอโอ ฟื้นวัฒนธรรม ‘บ้านใหญ่’

2 ม.ค. 2566 – นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในปี 2566 ว่า การเมืองปีหน้า เด่นอยู่ 2 ด้าน 1.ด้านความเป็นธนาธิปไตย คือการใช้เงินเพื่อการเมืองในการเลือกตั้งปี2566 จะสูงมากเป็นพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเด่นเราก็เห็นมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงปี 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการแจกกล้วยในสภา ทั้งเรื่องเห็บ งูเห่า การดูด รวมถึงการพูดถึงค่าตัวส.ส. 30 – 40 ล้านบาท แสดงให้ว่ามีการใช้เงินเพื่อการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

นายบัญญัติ กล่าวว่า นักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่เริ่มมีความรู้สึกตามคำพังเพย ”กระแสหรือจะสู้กระสุน แม้แต่การสร้างกระแสก็ต้องใช้กระสุน” คือการทำการตลาดอย่างทุ่มเทมากขึ้น ซึ่งตรงนี้อันตราย เพราะเมื่อมีการใช้เงินทางการเมืองมากเสมือนการลงทุน การถอนทุนก็ย่อมจะเกิด เมื่อถอนทุนแล้วไม่พอต้องเตรียมทุนไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปอีก และเมื่อถอนทุนก็ทำได้ เตรียมทุนไว้ก็ทำได้ จึงเกิดความรู้สึกเมามัน อาศัยอำนาจทางการเมืองที่สามารถเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้กับตนหรือพรรคพวก ก็มีการทำธุรกิจการเมือง หรือธนกิจการเมืองตามมา อาศัยความได้เปรียบคู่แข่งขันที่เข้าไม่ถึงศูนย์กลางแห่งอำนาจ แล้วที่ร้ายไปกว่านั้นคือเมื่อเข้าไปศูนย์กลางอำนาจได้ การเบียดบังผลประโยชน์ของรัฐจะเกิดขึ้นนอกจากนี้ยังมีการใช้เงินเพื่อสร้างเครือข่ายไอโอ ช่วงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบในโลกโซเชียล ที่น่ากลัวที่สุดคือการใช้เงินสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ อาจจะเป็นเพราะเข้าใจว่าในช่วงระยะเวลา2-3ปีที่ผ่านมาภายใต้สถานการณ์โควิดคนในสังคมไทยระดับพอมีพอกิน เริ่มชักหน้าไม่ถึงหลังมากขึ้น

“ก็เลยคิดกันเอาเองว่าเครือข่ายอุปถัมภ์จะมีน้ำหนักมากพอในการช่วงชิงการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง มีการฟื้นฟูระบบบ้านใหญ่ วัฒนธรรมบ้านใหญ่ ซึ่งห่างหายไปแล้วระยะหนึ่งและฟื้นคืนกลับมา และที่น่ากังวลอีกคือการจับมือกับผู้บริหารท้องถิ่นในบางที่ สร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ในท้องถิ่นนั้นๆ” นายบัญญัติ ระบุ

นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังมีอีก 2 ลักษณะ คือ 1.สามารถสนับสนุนส่งเสริมให้มีการตั้งงบประมานตามโครงการต่างๆ ที่มากเกินจำเป็นที่เรียกว่า สร้างงานให้ผู้รับเหมา ไม่ใช่สร้างเพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชน 2. การเบียดบังผลประโยชน์รัฐ คือการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐต้องชดเชยเงินจำนวนมากในการดำเนินการตามโครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ เรื่องเหล่านี้คือกระบวนการที่ตามมา ถ้าการเมืองใช้เงินมาก ใช้เงินซื้อเสียง แล้วถ้าเราจะช่วยทำให้ประชาชนเห็นพิษภัยของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงตั้งแต่ต้นมือ โดยเฉพาะถ้าเราสามารถทำให้ประชาชนเข้าใจว่า เงินของรัฐที่ถูกเบียดบังไปทั้ง 2 ลักษณะมีจำนวนแต่ละปีมหาศาล นั่นคือภาษีประชาชน

“ถ้าเราช่วยกันป้องกันการเมืองในลักษณะการลงทุนไม่ให้ประสบผลสำเร็จ รัฐก็จะเหลือเงินไม่ถูกเบียดบังนำมาทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากมาย นี่คือภาพของธนาธิปไตยที่กำลังจะรุนแรงมากขึ้น และพิษภัยที่พอจะมองเห็นและน่าจะเข้าใจได้ว่า ปี 2566 จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงการเลือกตั้ง” ประธาน กก.สภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว

สำหรับลักษณะเด่นที่ 2 ของการเมืองในปี 2566 คือสภาพความขัดแย้งแบ่งฝ่ายรุนแรงมากขึ้น ซึ่งความจริงขณะนี้รุนแรงอยู่แล้ว สะท้อนออกมาคือการด้อยค่ากันเองจนเกินเหตุผล ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญติ หรือพรรคการเมือง ความจริงการวิพากษ์วิจารณ์หรือการตรวจสอบการถ่วงดุล เป็นเรื่องปกติธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ถ้าเราตรวจสอบถ่วงดุล ในลักษณะที่เราด้อยค่าจนเกินความเป็นจริงเกินเหตุผล ต่างฝ่ายต่างก็ทำกันมากขึ้น วันหนึ่งประชาชนจะรู้สึกว่าดูไม่มีใครดีเลย ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย และการทำการเมืองแบบแบ่งฝ่าย เช่นการแบ่งฝ่ายทางความคิด เศรษฐกิจ สังคม การเมือง อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม สังคมนิยม เป็นเรื่องธรรมดา แต่การแบ่งฝ่ายที่รู้สึกจะนำได้สู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงของสังคมไทย คือการแบ่งเป็นพวกเขาพวกเรา ถ้าเป็นพวกเราถูกหมด ถ้าเป็นพวกเขาผิดหมด มันจะนำไปสู่อันตราย ท้ายที่สุดประชาชนที่จะเข้าร่วมกระบวนการแบ่งฝ่ายด้วย จะไม่ได้ตัดสินปัญหาที่เหตุที่ผลความถูกและความผิด แต่ตัดสินว่าเป็นพวกเขาหรือพวกเรา คือกระบวนการปลูกความชิงชัง ให้เกิดขึ้นกับคู่แข่งขัน ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งจะก่อให้เกิดความรุนแรงทางสังคมเกิดการเผชิญหน้ากันได้

“หลักการของประชาธิปไตย ที่ว่าประชาธิปไตยดีเพราะการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธีก็เป็นไปไม่ได้ กลายเป็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยการเผชิญหน้าในระหว่างกัน เกินความรุนแรงเข้าหากัน ผมว่าปี 2566 ก็จะมีปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกที ถ้ารัฐมีอำนาจหรือผู้เกี่ยวข้องเองไม่ได้ตระหนักในอันตรายเหล่านี้ ความรุนแรงที่น่ากังวลอาจจะเกิดขึ้น เวลาเลือกตั้ง หรือหลังเลือกตั้งได้” นายบัญญัติ กล่าว

โดยเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2500 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีการใช้เงินทองอำนาจรัฐใช้อิทธิพล และมีข้าราชการบางหน่วยบางสังกัดคอยเดินเวียนเทียนลงคะแนนแทนคนที่ไม่มาลง และยังมีบัตรสำรองที่ลงคะแนนแล้วอยู่ก้นหีบ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ และองค์กรที่ต้องตระหนักถึงอันตรายคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) และหากกกต.ล้มเหลวจะทำให้เหตุการรุนแรงไปกันใหญ่ เพราะการเลือกตั้งสกปรกไม่สุจริตที่เกิดขึ้นสมัยจอมพลป. มีการชุมนุมเรียกร้องในกรุงเทพฯเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ตนคิดว่า ถ้าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่เรียบร้อย มีการกล่าวหาว่าเลือกตั้งสกปรก การชุมนุมเรียกร้องอย่างน้อยที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดที่เป็นเมืองของมหาวิทยาลัยและในทุกภาคของประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่ชี้ช่องหรือชี้โพรงให้กระรอกแต่ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยเมื่อสถานการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น

“กกต. ต้องคิดอ่านเดินหน้าลงสู่ชนบทได้แล้ว อาจจะต้องไปจับมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ เพื่อเดินหน้าตามโครงการให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน ในความสำคัญของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้เกิดความรู้สึกตระหนักในความเป็นพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตยและสำคัญที่สุด ให้ประชาชนตระหนักในพิษภัยของการเมืองที่ใช้เงินว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ตรงนี้สำคัญมาก โครงการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในกรุงเทพของ กกต. ไม่ว่าจะเป็นโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ การเมืองการเลือกตั้งต่อบุคคลที่พรรคการเมืองส่งไปหรือต่อบุคคลภายนอกควรจะเบาๆลง และเอาแรงไปเดินสู่ชนบทจะเป็นประโยชน์มากกว่า โครงการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการเมืองการเลือกตั้งต่อบุคคลภายนอกดูจะถูกครหานินทาอยู่เสมอว่าไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรเพราะผู้ที่เข้ารับการอบรมก็ไม่ได้นำความรู้ความเข้าใจนี่ไปใช้เพื่อประชาธิปไตยสักเท่าไหร่ แต่กลายเป็นศูนย์กลางของการสร้างคอนเนคชั่น แต่โอเคถ้ามีกำลังเหลือก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ในขณะที่ปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ไม่ใช่ตรงนี้ ปัญหาใหญ่คือต้องช่วยให้การเลือกตั้งบริสุทธ์ิยุติธรรม โดยลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงอย่างไร เพื่อไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นได้ภายหลัง” นายบัญญัติ ระบุ

เมื่อถามว่า พรรคภูมิใจไทยประกาศพร้อมจับทุกขั้วจัดตั้งรัฐบาลจะเกิดปัญหาตามหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของเขาที่จะเดินหน้าทางการเมืองอย่างไร แต่ก็เป็นสิทธิ์ของประชาชนเช่นกันว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่สำหรับคนอย่างพวกเราๆ ที่ทำการเมืองมานานเราก็จะดู 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1.การเลือกตั้งได้สะท้อนเจตจำนงของเราออกมาในลักษณะเช่นไร ประชาชนคิดอย่างไรสนใจแนวคิดไหนที่จะไปร่วมกันได้หรือไม่ และ 2.การจะไปร่วมกับใครอย่างไรจะทำประโยชน์ตามนโยบายที่ได้บอกกล่าวไว้ตอนรณรงค์หาเสียงไว้ว่าทำได้จริงหรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'พงษ์ศักดิ์' แชมป์เก่า 6 สมัย ร้องประธาน กกต. สั่งระงับรับรองผลเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น

นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 2 ได้ทำหนังสือเข้าร้องเรียน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลังตรวจพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 1 ได้หาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเฟสบุ๊ค จ

‘สนธิญา’ ยื่น กกต.สอบ ‘ทักษิณ’ ถือสัญชาติไทย-มอนเตฯ หรือไม่ เสี่ยงผิดกม.เลือกตั้งท้องถิ่น

สนธิญา ยื่น กกต.สอบ ทักษิณ ถือสัญชาติไทย-มอนเตฯ หรือไม่ เสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น-พรรคการเมือง-รธน. ห้ามคนต่างชาติเอี่ยวการเลือกตั้งทุกระดับ  พ่วงร้องสอบหาเสียงหยาบคาบ เป็นเท็จ อาจทำเลือกตั้ง อบจ.อดุรฯ โมฆะ 

ฟิล์ม-รัฐภูมิ ยื่น กกต.ไขก๊อกพ้นสมาชิก พปชร. ‘ไพบูลย์’ ชี้เรื่องส่วนตัวไม่กระทบพรรค

เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ที่ยังไม่รู้ว่าเขาผิดหรือเขาถูก เพราะเราไม่เกี่ยวข้อง และเรื่องนี้ไม่กระทบกับภาพลักษณ์พรรค ไม่ทำให้เรามีปัญหา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้เลือกนายกอบจ.อุดร เพื่อไทยชนะไม่ขาดจะกระทบสนามใหญ่ เตือน 'ทักษิณ' ปากพาซวย!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ 'ทักษิณ ชินวัตร' ยกทัพไปช่วยหาเสียงนายกอบจ.อุดรธานี แม้เกณฑ์คนไปฟังเยอะ คะแนนสวนทาง หากไม่ชนะขาด กระทบต่อสนามใหญ่ ยกวาทะ 'ถ้าจะเลือกทักษิณ ให้เลือกเบอร์ 2' ระวังทำคนหลงผิดโทษถึงคุก!