ฝ่ายค้านบ้อท่า! โหนสื่อตั้งฉายารัฐบาล ยื่นซักฟอกยุทธการถอดหน้ากากคนดี

ฝ่ายค้าน ยื่นญัตติ เปิดอภิปรายรัฐบาลไม่ลงมติ ขอ กระชากหน้ากาก8ปีคนดี เล็งเป้า ประยุทธ์ จำเลยหลัก ไม่มีซูเอี๊ย ป้อม โดนอภิปรายด้วย ชวน คาด เปิดอภิปราย หลังกลาง มกราคม 66

28 ธ.ค.2565 - ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล พ.ต.อ.ทวี สอดส่องส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ พร้อมด้วยส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา152 มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับญัตติจากส.ส.ฝ่ายค้าน

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมกันยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพล.อ.ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลโดยไม่ลงมติ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 ภายใต้ยุทธการ “ถอดหน้ากากคนดี” เนื้อหาที่จะอภิปราย จะชี้ให้เห็นถึงการบริหารงานราชการแผ่นดินที่บกพร่อง ไม่ได้ทำตามคำแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาฯ ครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

“ตามที่สื่อมวลชนมอบฉายาให้รัฐบาลหน้ากากคนดี ฝ่ายค้านจะขอกระชากหน้ากาก อภิปรายเจาะลึกทุกประเด็นให้เห็นว่าภายใต้หน้ากากคนดีที่อยู่มา 8 ปี เนื้อแท้ของคนดีที่เข้ามาทำหน้าที่ บริหารบ้านเมืองเป็นอย่างไร ถือเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งใหญ่ปีหน้า การอภิปรายครั้งนี้ ส.ส.ลงมติไม่ได้ แต่ประชาชนจะได้ร่วมตรวจสอบได้ดูว่า คนดีนั้น แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพื่อจะได้นำไปตัดสินใจในการเลือกตั้งปี 2566” นพ.ชลน่าน

นายพิธา กล่าวว่า การอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา152 ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นการอภิปรายในช่วงโค้งสุดท้ายของรัฐบาล ถึงแม้ ส.ส.จะโหวตไม่ได้ แต่ประชาชน สามารถนำไปตัดสินใจโหวตแทนส.ส.ได้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

นายชวน กล่าวภายหลังรับญัตติจากพรรคร่วมฝ่ายค้านว่า ช่วงเวลาการอภิปราย น่าจะหลังจากกลางเดือนม.ค.66 ไปแล้ว เพราะต้องไปหารือฝ่ายรัฐบาลว่ามีความพร้อมทางเวลาเมื่อไหร่ ถึงจะมีการบรรจุญัตติเข้าสภาฯนอกจากนี้ก่อนกลางเดือน ม.ค.66 จะมีการประชุมร่วมรัฐสภาตามที่ฝ่ายค้านเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ และการโหวตเลือกนายกฯ ให้มาจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอมา หรือมาจาก ส.ส.ในสภาฯเท่านั้น

เมื่อถามว่าการันตีได้หรือไม่ว่าเนื้อหาจะเน้นการอภิปรายเจาะไปที่รัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าพรรคทุกพรรค นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่สมาชิกเตรียมไว้ตามกรอบญัตติ เกี่ยวข้องกับผู้ใด ผู้นั้นก็จะถูกซักถามหรือสอบถาม เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีท่านนั้นที่จะต้องตอบ

ถามอีกว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการละเว้น พล.อ.ประวิตร หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เนื้อหาในญัตติเขียนครอบคลุมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบรองนายกฯท่านนี้อยู่ด้วย มีอยู่ในกรอบของญัตติ เราพูดในนามคณะรัฐมนตรี เป้าหมายหลักอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 แต่สิ่งที่จะหยิบยกมา ชี้ให้เห็นที่เป็นภาพเด่นชัดหรือนูนขึ้นมา อาจจะเจาะรัฐมนตรีเป็นบางท่าน บางคน

“การอภิปรายครั้งนี้พุ่งเป้าไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหมเป็นจำเลยหมายเลข 1 พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่อยากเป็นเครื่องซักล้างให้ใคร แต่มีความจำเป็นต้องล้างสิ่งที่แปดเปื้อนออก ที่แปดเปื้อนในระบบรัฐสภา แปดเปื้อนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปดเปื้อนโอกาสของประชาชน เราต้องซักล้างให้ได้ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์คือเป้าหลักเพราะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ทุกพรรคพุ่งเป้าไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ แม้ไม่มีการลงมติในสภาฯ แต่หวังให้ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนน ตัดสินว่ารัฐบาลชุดนี้มีอะไรให้ประชาชนไว้วางใจสืบทอดอำนาจต่อหรือไม่ พรรคร่วมฝ่ายค้านมีอะไรที่จะให้ประชาชนไว้ใจให้เข้ามาทำหน้าที่แทนพี่น้องประชาชนหรือไม่” นพ.ชลน่าน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489