แฟ้มภาพ
สำนักโพลล์องค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจพบว่าครู เกษตรกรและประชาชน ส่วนใหญ่พอใจการเปิดประเทศ เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อ 'ทักษิณ' มีอิทธbพลครอบงำพรรคเพื่อไทย 'ยุคอุ้งอิ้ง' อยากให้ 'บิ๊กตู่' ตั้งพรรคการเมืองใหม่ เป็นนายกอีกสมัย
19 พ.ย.2564 - ดร.อวยชัย วะทา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสังคม เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย แถลงว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาสังคมได้สำรวจวิจัยความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง“ทิศทางการเมืองไทยหลังเปิดประเทศ” ขึ้น ในระหว่างวันที่ 5-17 พฤศจิกายน 2564 ด้วยเห็นว่าห้วงระยะเวลาและสถานการณ์ต่อจากนี้จะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหลายๆด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและด้านอื่นๆ จึงได้ดำเนินการสำรวจวิจัยเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ 5 ด้านคือ 1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน 2. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงในพรรคฝ่ายค้านและพรรครัฐบาล 3. ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลด้านต่างๆ 4. ความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว 5. ความคาดหมายของประชาชนว่าผู้ใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไป
คณะผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มจากประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นตัวแทนของประชากรทั้งประเทศ 2 ลักษณะคือ 1. กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายตามขอบเขตด้านพื้นที่ ดังนี้ 1) ภาคอีสาน จำนวน 400 คน 2) ภาคเหนือ จำนวน 300 คน 3) ภาคกลาง จำนวน 300 คน 4) ภาคใต้ จำนวน 300 คน 5) กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน รวมกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายทั้งสิ้น 1,500 คน 2. กำหนดสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายตามสาขาวิชาชีพ ดังนี้ 1) เกษตรกร ร้อยละ 30 2) ครู อาจารย์ นักวิชาการ ร้อยละ 25 3) นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ร้อยละ 10 4) ข้าราชการ ร้อยละ 10 5) นักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ ร้อยละ 10 6) ค้าขาย/ลูกจ้าง/กรรมกร ร้อยละ 10 7) นักการเมือง / ผู้นำชุมชน / จิตอาสา ร้อยละ 5
การสำรวจความคิดเห็นและวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ( P-Value = 0.05) รูปแบบการสำรวจวิจัยกำหนดไว้ 3 รูปแบบคือ 1) การสำรวจวิจัยภาคสนาม เป็นการสัมภาษณ์โดยตรงแบบตัวต่อตัว โดยใช้ผู้ช่วยนักวิจัยแจกแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ภาคละ 20 คน รวม 100 คน 2) การสำรวจวิจัยแบบเปิด โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผ่าน google form 3) การสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นโดยใช้ระบบโทรศัพท์ ระบบซูม (zoom) และระบบไลน์
ผลการวิจัย 5 ประเด็น พบว่า 1. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน 1. ความพึงพอใจต่อการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศมากน้อยเพียงใด มากที่สุดร้อยละ 97.14 2) ศักยภาพของพรรคฝ่ายค้านและม็อบปฏิรูปสถาบัน จะสามารถล้มรัฐบาลได้หรือไม่ น้อยร้อยละ 78.4 3) ในสถานการณ์วิกฤตโควิท ฝ่ายค้านควรร่วมมือกับรัฐบาลแก้ไขปัญหาของชาติมากกว่ามุ่งโจมตีล้มล้างกันหรือไม่ มากที่สุดร้อยละ 90 4) ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธ เผาทำลายสถานที่ราชการ หยาบคาย จาบจ้วงสถาบัน ละเมิดกฎหมาย ใช้ข้อมูลเท็จ และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน มากน้อยเพียงใด มากที่สุดร้อยละ 96.32 5) การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า เครือข่ายขบวนการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ โดยให้มีการรัฐธรรมนูญและแก้ไขยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “ถือว่าเป็นการล้มล้างเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพียงใด มากที่สุดร้อยละ 93.36
2. ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงในพรรคฝ่ายค้านและพรรครัฐบาล
1) การที่พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งบุตรสาวอดีตนายกฯทักษิณเป็นประธานที่ปรึกษาพรรค มีอิทธิพลต่อการครอบงำพรรคหรือไม่เพียงใด มากที่สุดร้อยละ 90.44
2) การที่พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลประกาศนโยบายแก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 112 และ 116 ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพียงใด ไม่เห็นด้วยร้อยละ 93.74
3) ท่านเห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่มีนักการเมืองคุณภาพและนโยบายที่เกิดจากการร่วมคิดของประชาชนทุกกลุ่มหรือไม่ มากที่สุดร้อยละ 90.6
4) หากพล.เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ท่านเห็นว่าส.ส.พรรคพลังประชารัฐควรย้ายไปร่วมสร้างพรรคด้วยหรือไม่ เพียงใด มากที่สุดร้อยละ 91.9
5) ท่านเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหรือไม่เพียงใด มากที่สุดร้อยละ 73.74
3. ความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลด้านต่างๆ 1) การที่รัฐบาลใช้มาตรการและระดมพลังคนไทยทุกภาคส่วนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิทเกิน 70 % จนสามารถเปิดประเทศได้เป็นอันดับต้นๆของโลก มากที่สุดร้อยละ 75.34
2) การเยียวยาประชาชนทุกสาขาอาชีพในสถานการณ์โควิท เช่น โครงการคนละครึ่ง เราชนะ ปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนทุกกลุ่ม มากที่สุดร้อยละ 91.38
3) การสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับทวีป มากที่สุดร้อยละ 87.54
4) การปฏิรูประบบคมนาคมขนส่ง เช่น ทางด่วนเชื่อมต่างจังหวัด รถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑล สถานีรถไฟกลางบางซื่อที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน มากที่สุดร้อยละ 91.28
5) การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอาเซียน /สร้างถนน 4 เลนทั่วประเทศ /สร้างรถไฟรางคู่ 4 ภูมิภาค มากที่สุดร้อยละ 91.28
6) 16. การกระตุ้นเศรษฐกิจสู่ฐานราก เช่น เกษตรกร/ ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม/ โครงการโคกหนองนา/ ลดค่าเทอมนักเรียนนักศึกษา/การสร้างงานให้บัณฑิตใหม่ มากที่สุดร้อยละ 84.94
4. นโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว 1) การลดราคาน้ำมัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และการประกันราคาผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 98
2) การลดดอกเบี้ยหนี้สินเกษตรให้เหลือร้อยละ 3 และปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว /สร้างตลาดเกษตรชุมชนทั่วประเทศ มากที่สุดร้อยละ 93.2
3) การลดดอกเบี้ยหนี้สินครู / หนี้ก.ย.ศ. ให้เหลือร้อยละ 3 จัดตั้งธนาคารสหกรณ์ครูไทย และปฏิรูปการศึกษาโดยให้ครูและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง มากที่สุดร้อยละ 96.28 4) โครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง พัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ และจัดตั้งกระทรวงน้ำ มากที่สุดร้อยละ 89.84 5) การขุดคลองไทยเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก มากที่สุด ร้อยละ 88.28 6) การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปราม ยาเสพติดอย่างเด็ดขาดจริงจัง มากที่สุดร้อยละ 97.88
5. คาดว่าผู้ใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไป 1) พล.เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 40.16 2) นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ ร้อยละ 15.60 3) นายอนุทิน ชาญวีระกุล ร้อยละ 11.22 4) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 9.83 5) นายชลน่าน ศรีแก้ว ร้อยละ 9.70 6) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 7.2 และ 7) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 6.28
ส่วนข้อสังเกตจากการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์โดยตรง จากการประชุมกลุ่มย่อยระดมสมอง (Focus Group) และจากการสัมภาษณ์ด้วยระบบ Zoom Meeting พบว่า
1. ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน มากกว่าร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ /ในสถานการณ์วิกฤตโควิท ฝ่ายค้านควรร่วมมือกับรัฐบาลแก้ไขปัญหาของชาติมากกว่ามุ่งโจมตีล้มล้างกัน /การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า เครือข่ายขบวนการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันฯ โดยให้มีการรัฐธรรมนูญและแก้ไขยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “ถือว่าเป็นการล้มล้างเปลี่ยนแปลงการปกครอง” /โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธ เผาทำลายสถานที่ราชการ หยาบคาย จาบจ้วงสถาบัน ละเมิดกฎหมาย ใช้ข้อมูลเท็จ และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน มากที่สุดถึง ร้อยละ 96.32 นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลอย่างยิ่งว่าจะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆจนนำไปสู่ความแตกแยกภายในชาติครั้งใหญ่
2. ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงในพรรคฝ่ายค้านและพรรครัฐบาล กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 97 คัดค้าน แก้ไขหรือยกเลิก มาตรา 112 และ 116 และแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 6 เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 93.74 เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควรตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่มีนักการเมืองคุณภาพและนโยบายที่เกิดจากการร่วมคิดของประชาชนทุก และเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ทั้งนี้เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีภาวะผู้นำสูงกว่าตัวเลือกอื่นๆ มีพลังสนับสนุนจากกลุ่มพลังทางสังคมแทบทุกกลุ่มทั้งในและนอกสภา
3. ความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลด้านต่างๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อมาตรการการเยียวยาประชาชนทุกสาขาอาชีพในสถานการณ์โควิท เช่น โครงการคนละครึ่ง เราชนะ ปล่อยสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูประบบคมนาคมขนส่ง เช่น ทางด่วนเชื่อมต่างจังหวัด รถไฟฟ้าในกทม.และปริมณฑล สถานีรถไฟกลางบางซื่อที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมอาเซียน /สร้างถนน 4 เลนทั่วประเทศ /สร้างรถไฟรางคู่ 4 ภูมิภาค
4. นโยบายที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ ในระยะเร่งด่วนและระยะยาว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ต้องการให้มีการลดราคาน้ำมัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และการประกันราคาผลผลิตการเกษตร มากที่สุดถึงร้อยละ 98 ให้มีการลดดอกเบี้ยหนี้สินเกษตรให้เหลือร้อยละ 3 และปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว /สร้างตลาดเกษตรชุมชนทั่วประเทศ /การลดดอกเบี้ยหนี้สินครู หนี้ก.ย.ศ. ให้เหลือร้อยละ 3 จัดตั้งธนาคารสหกรณ์ครูไทย และปฏิรูปการศึกษาโดยให้ครูและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง มากที่สุดร้อยละ 96.28 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาดจริงจัง มากที่สุดร้อยละ 97.88
5. ความคาดหมายว่าผู้ใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไป พล.เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังนำโด่งถึงร้อยละ 40.16 ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มตัวอย่างจากครู เกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อย ตามมาด้วย นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ ร้อยละ 15.60 ส่วนนายอนุทิน ชาญวีระกุล ร้อยละ 11.22 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจเปิดประเทศ และผลงานการติดตามช่วยเหลือเกษตรกร การควบคุมราคาสินค้า ผลงานการระดมพลังแพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องสกัดการระบาดของโรคโควิทและการระดมฉีดวัคซีนได้ทะลุเป้าก่อนเวลาที่กำหนด
ส่วน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 9.83 นายชลน่าน ศรีแก้ว ร้อยละ 9.760 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 7.2 และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 6.28 ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ การแตกตัวของพรรคเพื่อไทย และความไม่เป็นเอกภาพของพรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายปฏิรูปสถาบันอย่างสุดโต่งทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจ จนไม่เอาสามารถชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง
ปากไว! นายกฯ อบรม 'พ่อนายกฯ' รอที่ประชุมเคาะก่อนไปพูดบนเวทีแจกเงินหมื่น
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีปราศัยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น มอง