นิด้าโพล เผย '6 เดือนผู้ว่าฯ ชัชชาติ' คนกรุงให้สอบผ่าน มีแค่ 18% ไม่พอใจผลงาน

4 ธ.ค. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “6 เดือนผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-30 พฤศจิกายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานในรอบ 6 เดือนแรกของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก(Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 6 เดือนแรกของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1.การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ตัวอย่าง ร้อยละ 39.07 ระบุว่า ดีมาก รองลงมา ร้อยละ 36.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 13.33 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 9.13 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.07 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

2.การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 40.54 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 38.13 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 11.33 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 7.53 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.47 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

3.การสนับสนุนการกีฬา ตัวอย่าง ร้อยละ 38.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 34.87 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 14.60 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 9.00 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 3.13 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

4.การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย ตัวอย่าง ร้อยละ 39.73 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 33.13 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 16.40 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 9.87 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 0.87 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

5.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ตัวอย่าง ร้อยละ 34.87 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 31.80 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.93 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 13.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

6.การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 40.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.53 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 16.00 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 9.67 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 4.40 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

7.การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.13 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.27 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 16.07 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.53 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 3.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

8.การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย ตัวอย่าง ร้อยละ 41.33 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 29.20 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.07 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.27 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.13 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

9.การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ตัวอย่าง ร้อยละ 42.67 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 25.33 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 17.93 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.54 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 3.53 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

10.การจัดระเบียบการชุมนุม ตัวอย่าง ร้อยละ 37.80 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 24.53 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 17.33 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 16.54 ระบุว่า ไม่ค่อยดี และร้อยละ 3.80 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

11.การป้องกันอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย ตัวอย่าง ร้อยละ 39.13 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 24.40 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 21.54 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.33 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

12.การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่าง ร้อยละ 30.60 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 23.87 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 21.60 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.06 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.87 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

13.การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตัวอย่าง ร้อยละ 38.47 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 22.13 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 20.20 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 12.13 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.07 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

14.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ ตัวอย่าง ร้อยละ 42.13 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.87 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 18.07 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 10.60 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

15.การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด ตัวอย่าง ร้อยละ 44.60 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 21.00 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 18.40 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 14.13 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 1.87 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

16.การจัดระเบียบ คนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน ตัวอย่าง ร้อยละ 39.13 ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา ร้อยละ 25.60 ระบุว่า ไม่ค่อยดี ร้อยละ 16.87 ระบุว่า ดีมาก ร้อยละ 14.07 ระบุว่า ไม่ดีเลย และร้อยละ 4.33 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

17.การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่าง ร้อยละ 32.26 ระบุว่า ไม่ค่อยดี รองลงมา ร้อยละ 31.40 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ไม่ดีเลย ร้อยละ 10.07 ระบุว่า ดีมาก และร้อยละ 5.87 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพึงพอใจของคนกรุงเทพมหานครต่อการทำงานในรอบ 6 เดือนแรก ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.60 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ เพราะ เป็นคนขยัน ตั้งใจในการทำงาน เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของ กทม. และการแก้ปัญหาได้ตรงจุด รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า พอใจมาก เพราะ มีผลงานชัดเจน มีความทุ่มเทให้กับการทำงาน และลงพื้นที่รับฟังปัญหาของประชาชน ร้อยละ 10.54 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ เพราะ ผลงานไม่ชัดเจน แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และร้อยละ 7.93 ระบุว่า ไม่พอใจเลย เพราะ ไม่สามารถทำตามนโยบายที่พูดไว้ได้ และยังไม่สามารถแก้ปัญหาเดิม ๆได้ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการจราจร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด

ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน

ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี