17 พ.ย.2564 - ที่รัฐสภา นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล กล่าวถึงการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชน ที่รัฐสภาไม่ผ่านความเห็นชอบว่า ที่ร่างแก้ไขนี้ต้องตกไป เพราะมีปัญหาในเชิงเนื้อหาหลายประการ ซึ่งเท่าที่ศึกษาและอ่านเนื้อหา รวมถึงติดตามสถานการณ์การเมือง ทำให้เห็นว่าวันนี้ไม่ว่าผลโหวตจะเป็นอย่างไร แต่สมาชิกรัฐสภาผู้โหวตจะถูกตีตราทางการเมืองออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่โหวตรับหลักการจะเป็นฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ส่วนฝ่ายที่โหวตไม่รับหลักการจะถือว่าสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เพราะการเมืองวันนี้บีบพื้นที่และแบ่งความเห็นใหญ่ๆ ออกเป็นสองฝ่ายทั้งที่จริงๆ เนื้อหาในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีปัญหามากทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขบางคนต้องตกเป็นจำเลยทางการเมืองไปโดยปริยาย
ทั้งนี้ สำหรับตนนั้นจำเป็นต้องโหวตรับหลักการเพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของพรรคฝ่ายค้านทั้งที่จริงยังมีความไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาในร่างบางประการ ตัวอย่างเช่น
1.การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่าแทบจะยกเครื่องเนื้อหารัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับระบบการเมือง ศาลและองค์กรอิสระ รวมถึงระบบตรวจสอบถ่วงดุลต่าง ๆ เกือบทั้งหมด ซึ่งการยกเครื่องเนื้อหารัฐธรรมนูญจำนวนมากขนาดนี้ควรที่จะต้องใช้เวลาในการตกผลึกและมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ช่วยกันคิด เหมือนก่อนจะได้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่ใช้เวลากว่า 5 ปี ผ่านกระบวนการคิดมาหลายรัฐบาล ตั้งแต่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สมัยรัฐบาลชวน 1 รวมถึงตั้งคณะกรรมการประชาธิปไตย และต่อมาสมัยรัฐบาลบรรหาร ก็ตั้งคณะกรรมการปฎิรูปการเมือง รวมถึงคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอแก้ไขมาตรา 211 จนนำไปสู่การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดังนั้นร่างแก้ไขเพิ่มเติมที่แม้ประชาชนจะลงชื่อถึง 135,247 คน แต่กระบวนการยกร่างมาจากบุคคลเพียงไม่กี่คน
2.เป็นการเสนอแบบมัดรวมหลายๆ เรื่องเข้าด้วยกันทำให้ตัดสินใจยากเพราะบางอันดี บางอันละเอียดอ่อน เช่นเรื่องที่ผมให้การสนับสนุนคือ การยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฎิรูปประเทศ, ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกฯ, การป้องกันการรัฐประหาร, การให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ในเรื่องการเปลี่ยนให้เป็นสภาเดี่ยว รวมถึงการยกเครื่องเรื่องที่มา คุณสมบัติ การตรวจสอบและถ่วงดุลของ ศาล ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ นั้นจะคิดกันแก้ไขกันเฉพาะกลุ่ม หรือเอาความเห็นทางวิชาการ หรือมุมมองโลกตะวันตกโดยใช้ตรรกะความคิดของคนเพียงไม่กี่คนไม่ได้
3.การเสนอให้เป็นสภาเดียวนั้นดูจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด แม้ว่าในอดีตหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะใช้ระบบสภาเดียว หรือหลังการรัฐประหารจะใช้แบบสภาเดี่ยว เช่นกันก็ตาม แต่ปัญหาของวุฒิสภาชุดนี้คืออำนาจที่มากแต่มีที่มาจากการแต่งตั้งของยุค คสช. ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน เพราะหลักการคือวุฒิสภา ควรมาจากการเลือกตั้งและควรมีส่วนที่เข้าไปเกี่ยวกับการเมืองให้น้อยที่สุด ประกอบกับร่างแก้ไข นี้เขียนรวบเอาอำนาจทางการเมืองและกระบวนการตรวจสอบไว้อยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงองค์กรเดียวดูจะน่ากลัว และเป็นอันตราย โดยเฉพาะการให้สมาชิกสภาผู้แทนฯ เข้าไปอยู่ในคณะผู้ตรวจการศาลและศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงองค์กรอิสระ แม้จะไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัย ก็ตาม
4.การตั้งผู้ตรวจการกองทัพเป็นการปฎิรูปกองทัพไม่ตรงจุด แต่ควรต้องแก้ไข พรบ บริหารราชการกระทรวงกลาโหม และเสนอยุบหน่วยงาน กอ.รมน. เพราะหลังการรัฐประหารปี 2549 มีการแก้ไขพรบ บริหารราชการกระทรวงกลาโหม ทำให้ผู้บัญชาการทหารบกไม่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี กองทัพมีสถานะเป็นอิสระ จากรัฐบาลเหมือนรัฐซ้อนรัฐ ทำให้เกิดการรัฐประหารได้ง่าย และหลังรัฐประหารปี 2557 ก็แก้ไขกฎหมายขยายอำนาจ และภารกิจของพลเรือนให้ กอ.รมน. โดยเฉพาะการตั้ง กอ.รมน.ภาค หรือ กอ.รมน.จังหวัด ที่เข้าไปทับซ้อนงานของข้าราชการพลเรือน และเอาอัยการ ตำรวจ ผู้ว่า มาเป็นลูกน้องนายพล
5.กระบวนการตรวจสอบและถอดถอนตุลาการโดยภาคประชาชนมีสิทธิเสนอชื่อ 20,000 ชื่อนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ปลายทางของกระบวนการที่ใช้เสียงข้างมากไม่ว่าจะเป็น“องค์คณะพิจารณาถอดถอน” หรือสภาผู้แทนฯ เป็นผู้ถอดถอนนั้นก็สุ่มเสี่ยงที่การเมืองจะเข้าไปแทรกแซงองค์กรตุลาการเพราะหากดูองค์ประกอบของผู้ออกเสียงล้วนมาจากสภาผู้แทนฯ ของนักการเมือง
นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อว่า แม้ร่างแก้ไขนี้จะตกไป แต่ก็ต้องขอชื่นชมคณะผู้ยกร่างที่สามารถรวบรวมเสียงของประชาชนนำเข้ามาสู่สภาได้ ถือว่าสำเร็จในแง่การกระตุ้นให้ประชาชนและสังคมเห็นถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าในอนาคตเมื่อบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ 2560 ถูกปลดล็อค คงจะได้มีการนำเสนอเรื่องร่างแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน.จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ แฟ้มภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน
'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้
สภาสูง ยั๊วะ รัฐบาล ข้ามหัว เทตอบ 5 กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯนินจา’ หนีสภา
‘สภาสูง’ ยั๊วะ รบ.ข้ามหัว เทตอบ 5กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯ นินจา’ หนีสภา ‘หมอเปรม’ อาลัย ‘แพทองโพย’ ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน
รัฐสภารับหลักการ ร่าง 'พ.ร.ป.ปราบทุจริต' สว.เสียงแตก หนุน-ค้าน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.)
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
อีกแล้ว! ชูศักดิ์ขายฝันแก้รัฐธรรมนูญมีสิทธิ์เสร็จทันยุคอุ๊งอิ๊ง
'ชูศักดิ์' ชี้สภายืนทำประชามติชั้นเดียว เป็นสัญญาณดีแก้ รธน. มองพรรคร่วมเสียงแตกเป็นสิทธิ์ แต่เชื่อไม่ถึงขั้นทำตีบตัน ลั่นเดินหน้าแก้ รธน.ฉบับใหม่ ระบุมีลุ้นเสร็จทัน รบ.นี้ถ้าเหลือทำประชามติ 2 ครั้ง
'พริษฐ์' ชักแม่น้ำทั้งห้าชวนรัฐบาลยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประกบ
'พริษฐ์' แนะ 'รัฐบาล' ควรยื่นร่างแก้ไข รธน.เกี่ยวข้องกับ ส.ส.ร. ประกบฝ่ายค้าน มอง มี 2 ด่านต้องผ่าน ชี้ 'นายกฯ' ต้องเป็นผู้ยุติร้อยร้าว เชื่อยิ่งร่วมมือฝ่าฟันเท่าไหร่ โอกาสสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น