'มัลลิกา' ชำแหละกฎหมายฉบับธนาธร-ปิยบุตร เขียนเหมือนฝันปฏิบัติไม่ได้

'มัลลิกา' จับไต๋ กฎหมายฉบับธนาธร-ปิยบุตร หลักการดีแต่มีสอดไส้หรือไม่ จะรับหลักการต้องเคลียร์ให้แจ่มก่อน ติงเขียนเหมือนฝันปฎิบัติไม่ได้จะกลายเป็น โฆษณาชวนเชื่อ

30 พ.ย.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะสมาชิกรัฐสภา อภิปราย กรณีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 14 ที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น เรื่องการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเสนอเข้าสภาโดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และคณะซึ่งมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล อยู่ด้วย

โดย นางมัลลิกา กล่าวว่า เวลาพูดได้ใจคนเยอะแต่ปัญหาของสภาแห่งนี้เรารู้สึกระแวงในเจตนาภายใต้ร่างนี้รายละเอียดข้างในมีอะไรที่สอดไส้ไว้อย่างไรหรือไม่ ควรต้องตรวจตราอย่างละเอียด เบื้องต้นเห็นด้วยกับการรับหลักการเรื่องนี้แต่พอตรวจสอบในหลายประเด็นอยากให้ผู้เสนอชี้แจงให้กระจ่างก่อนและควรทำความเข้าใจกับสังคมทั้งภายในและภายนอกให้ชัดเจนว่าไม่มีเจตนาสอดไส้

"เรื่องการกระจายอำนาจ กระจายรายได้ กระจายโอกาส คำพูดนี้ คนที่ปฏิบัติได้จริงและทำมาอย่างต่อเนื่องคือ รัฐบาลท่านชวน หลีกภัย คนที่เคยเสนอจนนำไปสู่การเลือกตั้ง นายก อบต.ได้จริงคือท่านสุทัศน์ เงินหมื่น ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีและเป็นรัฐบาลสมัยนั้นการกระจายทั้งอำนาจ รายได้และโอกาสดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องความเหมาะสมในบริบทต่างๆของสังคมไทย

และวันนี้ขอตั้งข้อสังเกต 2-3 ข้อในร่างนี้สำหรับผู้เสนอ มาตรา 250 การกำหนดให้การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นรูปแบบทั่วไปตั้งแต่องค์กร เทศบาลตำบล รูปแบบอื่นๆและรูปแบบพิเศษ ปัญหาในทางปฏิบัติขีดความสามารถและศักยภาพของท้องถิ่นแต่ละแบบแตกต่างกันหลักการดูดีมากแต่ในทางปฏิบัติมองไม่เห็น ตรงจุดนี้อาจต้องคุยกันในขั้นตอนการปฎิบัติ ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ต่อไปเรื่องการกำหนดรายรับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระเรื่องการเงิน งบประมาณ การบริการสาธารณะ อำนาจจัดเก็บภาษีในมาตรา 253 ท่านได้คุยกับสำนักงบประมาณหรือยัง ได้เข้าไปเจรจาหรือศึกษาการจัดทำแผนงบประมาณหรือดูรายรับ-รายจ่าย งบประมาณแผ่นดินบ้างหรือยัง เพราะประสบการณ์ในการทำงานกับรัฐบาลมา 3 ยุค อุปสรรคสำคัญมากที่สุดของประเทศนี้คือ เงินงบประมาณและทัศนคติความคิด กรอบวินัยต่างๆของสำนักงบประมาณ ต้องมาดูรายละเอียดกันอย่างหนักมาก ไม่ใช่จะฝันอะไรก็ได้ ทำอย่างไรก็ได้ หรือชวนเชื่อประชาชนให้หลงอารมณ์ตามเราไม่ได้ พูดแล้วทำไม่ได้เป็นเรื่องที่ดิฉันมองว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ " นางมัลลิกา กล่าว

จากนั้น นางมัลลิกา กล่าวถึงอีกประเด็นที่ติดใจคือการกำหนดให้มีกฎหมายที่จะกำหนดวิธีการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำบริการสาธารณะ เช่น การตั้งบรรษัท การให้อำนาจเอกชนจัดทำบริการสาธารณะแทน เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บริการสาธารณะมีหลากหลายรูปแบบ มีหลายอย่าง ขณะเดียวกันไม่สามารถ ดูรายละเอียดได้ว่าทางปฏิบัติจริงทำได้หรือไม่อย่างไร อย่างเช่น กรณีการศึกษาในพื้นที่ท้องถิ่น จะมีศักยภาพสามารถสร้างศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนของเราได้หรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องสงสัยอยู่

โดยหลักการพอจะเข้าใจได้ แต่หลักปฏิบัติมองไม่เห็น เหมือนจินตนาการทั้งหมดประมาณ 9 ประเด็น มองว่าโดยหลักการพอจะรับได้แต่มีข้อสงสัยในเรื่องการปฏิบัติและยกตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งแต่ขณะเดียวกันสิ่งที่เสนอและกำลังจะให้สมาชิกรับหลักการไปก่อนและบอกว่ารายละเอียดอื่นไปคุยกัน อยากให้ผู้เสนอและคณะทั้งหมดกลับไปทำความเข้าใจกับสังคมภาคประชาชนที่อยู่ข้างนอกด้วย มีคนต่อต้านท่านเยอะว่ามีเจตนาอะไรและรายละเอียดที่ทำมามีอะไรที่เป็นแนวทางปฏิบัติอยู่ตรงไหน สามารถอธิบายเรื่องเกี่ยวกับการยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคได้อย่างไร การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้านด้วยไหม การขจัดการระแวงระหว่างภาคประชาชนที่อยู่ข้างนอกนั้นก็สำคัญเพราะสิ่งที่ท่านทำหลายเรื่องที่ผ่านมาพูดอีกอย่างพอปฏิบัติเป็นอีกอย่าง แต่คนเชื่อในสิ่งที่ท่านพูดอย่างแรกไปแล้ว จะทำให้ประชาชนไว้วางใจท่านได้อย่างไร จะเอาสมาชิกสภานี้ไปเป็นตัวประกันไหมในการทำในสิ่งที่ผิดจากเจตนารมณ์เฉพาะการผลักดันเรื่องนี้ ในรายละเอียดสงสัยกันว่า ถ้าไม่มีราชการส่วนภูมิภาคแล้วส่วนท้องถิ่นกับส่วนกลางจะเชื่อมกันได้อย่างไรและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้เกิดประโยชน์กับประชาชนได้จริงเป็นหลักที่เราควรต้องตั้งข้อสังเกตไว้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย