'ธนาธร-ปิยบุตร' โผล่รัฐสภาชงแก้รัฐธรรมนูญปลดล็อกกระจายอำนาจ

'ธนาธร' ควง 'ปิยบุตร' เสนอรัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญปลดล็อกกระจายอำนาจ แจงไม่แตะกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ลั่นไม่คิดแบ่งแยกดินแดน ปัดยุบส่วนราชการ ชี้แค่ย้ายไปสังกัดท้องถิ่นแทน

30 พ.ย.2565 - ในการประชุมรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เกี่ยวกับหมวดการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ ที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้า และประชาชน จำนวน 76,591 คน เป็นผู้เสนอ

นายธนาธร อภิปรายว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉบับปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อทำให้อำนาจและมีอิสระในการบริหาร งบประมาณ รวมถึงประชามติปรับโครงสร้างการบริหารประเทศครั้งใหญ่ โดยยังยึดหลักการพื้นฐานอำนาจเป็นของประชาชนและประชาชนเป็นผู้เลือกตัวแทน ทั้งนี้จะมีความชัดเจนในอำนาจของการให้บริการสาธาณะ ออกแบบพัฒนาชุมชนของตนเอง เพื่อพัฒนาจังหวัดไปข้างหน้าตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน ขณะที่งบประมาณ กำหนดให้จัดสรรงบประมาณเป็นธรรม เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งให้ท้องถิ่น 50% จากเดิมแบ่งให้ 30%

“ผมเชื่อว่าการแบ่งสรรอำนาจจัดสรรงบที่เป็นธรรมตามร่างปลดล็อกท้องถิ่นจะทำให้เป็นจริงได้ ภายใน 10 - 15 ปี ร่างนี้เสนอให้ทำประชามติภายใน 5 ปี ในการยกเลิก ควบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้ากับส่วนท้องถิ่น ซึ่งระยะเวลา 5 ปีจะเป็นช่วงที่สังคมไทยถกเถียงในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดีมีตัวอย่างจากรัฐรวมศูนย์ที่ชัดเจน คือ การหารือของ ส.ส.ที่หารือในสภาถึงปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อให้ผู้มีอำนาจแก้ปัญหา ข้อมูลพบว่า 65% ข้อหารือเป็นปัญหาเชิงพื้นที่ที่แก้ได้ด้วยท้องถิ่นหากได้รับงบประมาณที่เพียงพอและได้รับอำนาจเพื่อแก้ปัญหา ตอบสนองปัญหาให้ประชาชนได้ ดังนั้นหากท้องถิ่นละประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ งบประมาณ และประเทศร่วมกันจะแก้ไขปัญหาได้”นายธนาธร กล่าว

นายธนาธรกล่าวด้วยว่า สมาชิกหลายคนอาจไม่ชอบตนเองไม่เป็นไร แต่ขอให้ดูผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก ร่างปลดล็อกท้องถิ่น ตนเองไม่ได้รับประโยชน์อะไร แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ หากเห็นด้วยในทิศทางและหลักการในการกระจายอำนาจ หากไม่เห็นด้วยรายละเอียดบางประเด็นขอให้รับหลักการ เพื่อหาทางประนีประนอม ข้อสรุปที่ยอมรับได้ในวาระต่อไปเพื่อให้เราเท่าทันปัญหาของประเทศ

ขณะที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล ชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภาโดยย้ำถึงสาระของร่างรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่น ว่า รับรองหลักการกระจายอำนาจ ปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของคนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 1 เพื่อยืนยันการกระจายอำนาจในประเทศไทย อยู่ภายใต้หลักความเป็นราชอาณาจักร และรัฐเดี่ยว และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อป้องกันปัญหาคนตีความพิสดาร หรือเข้าใจกลุ่มตนเองผิดว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน นอกจากนั้นยังมีหลักการสำคัญ คือ ประชาชนต้องมีสิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น

“ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ท้องถิ่นและส่วนกลางต้องมีการเกาะเกี่ยว ผ่านการกำกับดูแล ดังนั้นร่างปลดล็อกท้องถิ่นได้กำหนดให้มีการกำกับดูแลภายหลังจากที่ท้องถิ่นดำเนินการไปแล้ว และพบการทำผิดกฎหมาย ขณะที่การมีส่วนร่วมของพลเมือง กำหนดให้เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ถอดถอน และเติมให้ทำประชามติในระดับท้องถิ่นในการทำโครงการ เพื่อต้องการสร้างสภาพลเมือง ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบ ถ่วงดุลนายกท้องถิ่น ในฐานะฝ่ายบริหารท้องถิ่นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการกำหนดให้มีการเปิดเผยการประชุมสภาท้องถิ่น สัญญา จัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส นอกจากนั้นประชาชนจะมีสิทธิในการกำหนดงบประมาณในการทำโครงการที่ประชาชนต้องการ”นายปิยบุตรกล่าว

นายปิยบุตร อภิปรายถึงการโอนถ่ายส่วนราชการภูมิภาคที่จะกำหนดกรอบการถ่ายโอนที่ชัดเจน ขณะที่การออกเสียงประชามติในการถ่ายโอน ยุบราชการภูมิภาค ที่กำหนดโรดแม็ปฟังความเห็นในระยะ 5 ปี หากประชาชนเห็นด้วย ส่วนราชการไม่ได้ถูกยุบ แต่จะย้ายไปสังกัดท้องถิ่นเท่านั้น และที่สำคัญร่างปลดล็อกท้องถิ่นไม่ยุ่งกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยคาดหวังว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปลดล็อกท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนจากทุกพรรคการเมือง และวุฒิสภา ซึ่งพบว่ามีความคิดสนับสนุนกระจายอำนาจ

“ร่างนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวุฒิสภา แต่ร่างนี้จะเป็นสิ่งที่แสดงให้สังคมเห็นว่า วุฒิสภาไม่ได้ขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญหากเป็นประโยชน์ประชาชน”นายปิยบุตรระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นันทนา' คึก! ลั่นปฏิบัติการ สว.เล็กเปลี่ยนสภา

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะแกนนำสว.พันธุ์ใหม่ ซึ่งถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ปฏิ

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'เปรมศักดิ์' ชี้ประธานวุฒิสภา ต้องไม่ถูกครอบงำจากสส.-พรรคการเมือง

"หมอเปรม" ชี้ เลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภาไม่ควรรวมก๊วนต่อรอง เรียกร้อง 200 สว.ฟังวิสัยทัศน์ก่อนโหวต -ไม่สนใบสั่ง แนะคนเป็น”ปธ.สภาสูง”ต้องมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกครอบงำจาก สส.-พรรคการเมือง รับหากถูกเสนอชื่อ คงเซอร์ไพรส์มาก

'หมอเกศ' โผล่สภาแล้ว! ยิ้มแทนคำตอบ

พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้เดินทางเข้ามายังอาคารรัฐสภาฝั่งสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สื่อข่าวบังเอิญไปเจอ พญ.เกศกมล ที่ห้องอาหารชั้น 1

ชิงประธานวุฒิสภาระอุ! 30 สว.ปิดตึกหรูชั้น 7 แสดงพลัง

สภาสูงระอุ ชิงเก้าอี้ ปธ.วุฒิสภา-รองประธานฯ เดือด สว. 30 คน ตบเท้าแสดงพลัง ปิดชั้น 7 ตึกหรูรัชดาฯ คุยกันสี่ชั่วโมง ดัน”บุญส่ง-อดีตกกต.”สู้สว.สีน้ำเงิน พร้อมตั้ง”กลุ่มสว.อิสระ” บ้านใหญ่บุรีรัมย์ เคาะจบวันอาทิตย์นี้เอาใคร “มงคลหรือบิ๊กเกรียง” สะพัด ล็อกโผเก้าอี้ประธานกมธ.เกรดเอหมดแล้ว