27 พ.ย.2565 - นายนิพิฏฐ์ อินทนสมบัติ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้ระยะเวลาในการยุบสภา
ผมเห็นด้วยกับ ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกม.เลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 30 พย.2565 แล้ว นายกรัฐมนตรี จะยังไม่ยุบสภาทันที
เหตุผลของผม คือ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กม.ไม่ตกไป นายกรัฐมนตรีต้องนำขึ้นทูลเกล้า เพื่อลงพระปรมาภิไธยเสียก่อน
ในขณะที่ยังไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาเลย ก็กระไรอยู่ ความเห็นผม คือ มิบังควร
ร่างกม.จะอยู่ในระหว่างพระราชวินิจฉัย 90 วัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 146 ถ้ามิได้ทรงพระราชทานกลับคืนมา รัฐสภาต้องพิจารณาว่า จะยืนยันกม.นั้น หรือ จะทำอย่างไรต่อไป
ผมคิดเอาเองว่า ร่างพรบ.ที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว และ ผ่านการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ คงใช้เวลาไม่นานในการลงพระปรมาภิไธย
ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อไหร่ นั่นแหละ คือ เวลาที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
การยุบสภา ก็มีเหตุผล และ เวลา ด้วยประการฉะนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
6 เหตุผลแนะ 'เศรษฐา' ถ้าไปไม่รอด ยุบสภาดีกว่าลาออก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ออกมาสัมภาษณ์ยืนยันว่า จะไม่ชิงลาออก-ยุบสภาฯ หนีคำตัดสิน
มีแต่ได้กับได้! 'ก้าวไกล' ประกาศไม่จับมือ 'เพื่อไทย' ตั้งรัฐบาล
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ก้าวไกล” ประกาศไม่จับมือ “เพื่อไทย” เป็นรัฐบาล มีแต่ได้กับได้
'ดร.เสรี' เตือนรัฐบาล ถ้าไม่อยากยุบสภา หรือเปลี่ยนตัวนายกฯ ดูคำแนะนำกฤษฎีกาให้รอบคอบ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า กฤษฎีกาบอกว่ากู้ได้อย่างมีเงื่อนไขว่าต้องทำตามบทบัญญั