ส่อตีตก ส.ว.ค้าน ทำประชามติแก้รธน. วันเลือกตั้ง

แฟ้มภาพ

ส่อตก ส.ว.ค้านทำประชามติ แก้รัฐธรรมนูญวันเดียวกับเลือกตั้ง หวั่นประชาชนสับสน จวก ญัตติมาจากฝ่ายค้านหวังใช้เคลมหาเสียง

20 พ.ย.2565 –  นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ กรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณาญัตติของสภาฯ เพื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ทำประชามติถามความเห็นประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า การทำประชามติตามกฎหมายประชามติเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี ร่วมกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ คณะกรรมการกฤษฎีกา มองว่าประเด็นที่พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเสนอญัตติดังกล่าวพร้อมสนับสนุนให้ทำช่วงวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งนั้น ไม่เห็นด้วย การทำประชามติมี 2 ทาง คือ ก่อนเลือกตั้ง หรือ หลังการเลือกตั้ง หากทำในวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งจากประสบการณ์แล้วอาจทำให้ผู้มาใช้สิทธิสับสน และการตั้งคำถามประชามติ อาจทำให้ประชาชนสับสนได้

“มองว่าถึงเวลาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว  เพื่อลดความขัดแย้ง ผ่านการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะทำประชามติเมื่อใดขอให้เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจโดยตรง  ส่วนการลงมติในญัตติที่ฝ่ายค้านเสนอนั้น ไม่อยากให้เป็นเรื่องการเมือง หรือให้พรรคใดพรรคหนึ่งใช้เป็นข้ออ้างในการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ส.ว.ที่มีหน้าที่ลงมติสุดท้าย ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ไม่อยากให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือการเมือง” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

 เมื่อถามย้ำว่า การลงมติในญัตติดังกล่าวจะเป็นในทิศทางใด นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูอีกครั้ง ไม่อยากให้เป็นข้ออ้างว่าเป็นผลงานของพรรคการเมือง และไปกระทบหน่วยงานอื่น ทั้งนี้เชื่อว่าการประชุมวุฒิสภาเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว จะมีการอภิปรายกันพอสมควรก่อนลงมติว่าจะไปในทางไหน”

ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)  เปิดเผยว่า วันที่ 21 พฤศจิกายน เวลา 9.00 น. วิปวุฒิสภามีประชุม สำหรับการพิจารณาญัตติของสภาฯ เพื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ทำประชามติถามความเห็นประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยังไม่ทราบว่าจะให้ลงมติในวันที่พิจารณา คือวันที่ 21 พฤศจิกายน หรือตั้งกรรมาธิการเพื่อศึกษา เบื้องต้นยังไม่มีผู้ใดที่เสนอให้ตั้งกรรมาธิการ ดังนั้นขึ้นอยู่กับการอภิปรายของส.ว. โดยตามวาระคือเรื่องที่เสนอให้พิจารณาเท่านั้น

“กรณีที่มีผู้เสนอให้ทำประชามติวันเดียวกับวันเลือกตั้ง ส่วนตัวมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งในกฎหมายเลือกตั้งส.ส. และกฎหมายประชามติ อีกทั้งการทำประชามติเป็นคนละวัตถุประสงค์กับการเลือกตั้ง ส่วนจะมีผลต่อการเลือกตั้งส.ส.ที่ได้เปรียบเสียเปรียบกันหรือไม่นั้น มองว่าเมื่อส.ส.โหวตเป็นเอกฉันท์ในญัตติดังกล่าวเท่ากับว่าทุกพรรคเห็นตรงกัน และไม่มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน” นายคำนูณ ระบุ .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชี้เปรี้ยง 'ทักษิณ' หลงประเด็น อ้างแพ้เลือกตั้งเพราะ 'อิ๊งค์' ลาคลอด 10 วัน

ทำไมการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 พรรคเพื่อไทยจึงไม่ชนะเป็นที่1 คุณทักษิณได้อธิบายเหตุผลว่า การแพ้เลือกตั้งให้กับพรรคก้าวไกล เมื่อการเลือกตั้ง เมื่อ

เอาแล้ว! สส.เพื่อไทย แฉ สส.บางพรรค เป็นต้นเหตุทำน้ำท่วมภาคเหนือ

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธนวิปรัฐบาล สส.พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความใน X ระบุว่า "ความสะใจของพวกคุณในวันนั้น คือความเดือดร้อนของประชาชนใน

ประเทศไม่ใช่ของเล่น! ‘สาธิต’ ลั่นขอทำหน้าที่ตรวจสอบ ‘นายกฯ’ ในฐานะประชาชน

สาธิต ลั่นประเทศไทยเรา ไม่ใช่ของเล่น หรือของใครคนใดคนหนึ่ง นายกรัฐมนตรีต้องบริหารประเทศเพื่อประชาชน

'สวนดุสิตโพล' ชี้คนไทยคาดหวัง 'นายกฯ ใหม่' เข้าใจปัญหา แก้ปากท้องได้ทันที

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับนายกรัฐมนตรี” ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน