16 พ.ย.2564 - ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภาร่วมกัน ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ นายปิยบุตร แสงกนกกุล และประชาชนเข้าชื่อ จำนวน 1.3 แสนคน เป็นผู้เสนอ
เวลา 14.00 น. นายวันชัย สอนสิริ ส.ว . อภิปรายว่า ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่คณะผู้เสนอ เสนอมาแล้วทั้งหมด ได้ใจความจากการเสนอร่างมีด้วยกัน “4ก” คือ เกลียด โกรธ กลัว และ เกิน ยกร่างเกินไป เกินกว่าความจริง เกินลงกาไปมาก คณะผู้เสนอร่างด้วยความ “เกลียด” ส.ว. เครือข่ายของระบอบประยุทธ์ และคนที่ตั้งส.ว. “โกรธ” โกรธศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีพรรคพวกตัวเอง แต่หากเป็นเครือข่ายอื่นจะโดนอีกแบบหนึ่ง “กลัว” กลัวยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งที่ความจริงผู้ที่เกี่ยวข้องชี้แจงแล้วว่าสามารถแก้ไขได้ตามสถานการณ์ “เกิน” คือ เกินไป มรดกรัฐประหาร ถ้าเลวร้ายก็ควรจะล้าง แต่สิ่งที่เสนอคือต้องการล้างทั้งคน ทั้งการกระทำ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นมรดก ถ้าเอาความคิดแบบนี้อาจต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งหมด
“ข้อเสนอรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้น มาจากชุดความคิดสองประการ ประการแรก คือคิดว่าคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นคนดีที่สุด เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นดินนี้ ประการที่สอง คนที่ทำรัฐประหารเป็นคนเลว ต้องล้มล้างให้หมด ต้องปฏิเสธศาล ประชาชนต้องลุกมาต่อต้าน ทุกภาคส่วนต้องลุกขึ้นมาเหยียบย้ำ ผู้เสนอมองโลกด้านเดียว โลกสวย มองบริบททางการเมืองอุดมการณ์เกินจริง ไม่ใช่บริบททางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้” นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวต่อว่า การมองว่าผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งส.ส. อบต. อบจ. เทศบาล หรือองค์กรใดก็ตามที่มาจากการเลือกตั้ง คือดี เป็นใหญ่ในแผ่นดินนี้ได้ ตนเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ แต่ท่านมองไม่ครบถ้วน รอบด้าน ถามว่าบริบททางการเมืองตอนนี้บริสุทธิ์ดุจดั่งทองหรือไม่ การกล่าวหาฟ้องร้องทั้งในและนอกว่าคนนั้นมาจากอิทธิพล เงินทอง อำนาจ คนนี้มาจากธุรกิจการเมือง ที่กล่าวหาฟ้องร้องเลือกตั้งก็ยังคาอยู่ การใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ของผู้ที่มาจากการเลือกตั้งก็มีให้เห็น คดีทุจริตจำนวนมาก ระดับรัฐมนตรีติดคุกก็ยังมีอยู่ ถ้าการเลือกตั้งสุจริต รัฐธรรมนูญที่เสนอมาถูกต้อง
นายวันชัย กล่าวต่อว่า เห็นด้วยคนที่ทำปฏิวัติรัฐประหาร เป็นคนเลว แต่เคยทราบเบื้องหลัง มูลเหตุหรือไม่ ว่าทำไมต้องปฏิวัติ ใครให้ปฏิวัติ หากการเมืองเข้มแข็ง ไม่โกง ไม่ทุจริต คณะทหารที่ไหนจะกล้าปฏิวัติ ถ้าประชาชนไม่ยอมให้ปฏิวัติ เพราะการเมืองแข็งการเมืองดี ไม่มีทาง นี่คือมองมุมเดียว และแม้มองในแง่สืบทอดอำนาจ อย่างที่เห็นเป็นปัจจุบันนี้ ก็อยู่ได้เพราะประชาชน ถ้าส.ส. พรรคการเมืองไม่เอา ไม่มีทาง ส.ว.จะทำอะไรได้ คิดดูให้ดี มาจากประชาชนให้อยู่ มาจากประชาชนให้สืบทอดอำนาจ แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าส.ส.ไม่ยอมก็อยู่ไม่ได้ นั่นแปลว่าประชาชนยอมให้อยู่เช่นนี้ ถ้าพิจารณาข้อเท็จจริง กฎหมาย และบริบททาการเมือง จะเห็นว่าการเสนอแก้ครั้งนี้ มองไม่ครบวง ไม่รอบด้าน มองเพียงมุมเดียว ท่านควรเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบไร้อคติ นำบริบทการเมืองเป็นตัวตั้ง การเสนอวัคซีนแก้ประเทศไทยที่กำลังป่วยตามที่คณะผู้เสนออ้างนั้น เป็นวัคซีนไม่เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ เพราะเป็นข้อเสนอที่เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ แม้จะร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข จะให้สว.อยู่ต่อไปก็ตาม ตนก็ไม่อาจเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย