เปิดชื่อผู้ที่คาดว่าจะถูกกล่าวหาคดีซื้อขายมันสำปะหลังยุค'อภิสิทธิ์' มันเส้นจีทูจียุค 'ยิ่งลักษณ์' จ่อชงที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.ชี้ขาด
17 พ.ย.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีนายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการไต่สวนกรณีโครงการขายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และโครงการขายมันเส้นแบบจีทูจีสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว เตรียมจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณานั้น พบว่า สำหรับคดีซื้อขายแป้งมันสำปะหลังแบบจีทูจีสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ปรากฏชื่อผู้ถูกกล่าวหารวม 46 ราย แบ่งเป็น คณะรัฐมนตรี 32 ราย ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี, นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายวีระชัย วีระเมธีกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม, นายกรณ์ จาติกวณิช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.การคลัง, นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.การคลัง, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.การคลัง, นายอิสสระ สมชัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายธีระ วงศ์สมุทร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์, นายศุภชัย โพธิ์สุ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์, นายโสภณ ซารัมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม, นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม, นายสุวิทย์ คุณกิตติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม, นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พลังงาน
นางพรทิวา นาคาศัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ ในฐานะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง, นายอลงกรณ์ พลบุตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.พาณิชย์, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย, นายถาวร เสนเนียม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม นายไพฑูรย์ แก้วทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.แรงงาน, นายธีระ สลักเพชร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม, คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ, นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ, น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข และนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรมช.สาธารณสุข
ขณะที่คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง 14 ราย ประกอบด้วย นายกนก คดีการ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์, ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ช่วย รมว.พลังงาน และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์, นางอรสา มั่นคงขันติวงศ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์, นายโอฬาร พิทักษ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์, นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการปกครอง, นายเดโช จันทร์หอม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งวิศวกรชำนาญการพิเศษ กระทรวงพลังงาน, น.ส.สุนิสา ตามไท เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กระทรวงอุตสาหกรรม, น.ส.ลดาวัลย์ คำภา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, นายพิมล ชมพูพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ, นางวัชรี วิมุกตายน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทวงพาณิชย์ รักษาการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน, นายอภิชาต จงสกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, นายมนัส สร้อยพลอย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายบุณยฤทธิ์ กัลป์ยาณมิตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
โดยพฤติการณ์ตามที่ถูกกล่าวหา ระบุว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกับพนักงานสอบสวน กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ส่งเรื่องมาให้กับ ป.ป.ช. เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งในรายงานผลการสอบสวนการซื้อขายมันสำปะหลังจีทูจี ระหว่างกรมการค้าต่างประเทศ กับ บริษัท China Marine Shipping Agency Lianyungang Co.,Ltd ตัวแทนจากจีน จำนวน 1.4 แสนตัน วงเงินรวม 1,460 ล้านบาท ในยุคที่นางพรทิวา เป็น รมว.พาณิชย์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2553 ที่ สตง. นำส่งไปให้ปลัด พณ.เพื่อรับทราบ และสั่งดำเนินคดีทางอาญาและวินัย กับนายมนัส สร้อยพลอย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการ พณ.รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
สรุปพฤติการณ์ว่า การซื้อขายแป้งมันสำปะหลังกับบริษัท China Marine Shipping Agency Lianyungang Co., Ltd ขายในราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด รวมถึงบริษัท China Marine ยังไม่ได้รับการมอบอำนาจจากประเทศจีน และวัตถุประสงค์ของบริษัทไม่ใช่การซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จึงถือว่าไม่ใช่บริษัทที่มีอำนาจลงนามทำสัญญาในนามของประเทศจีนแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีการโอนสิทธิ์ดังกล่าวไปให้กับบริษัทเอกชนประเทศไทยอย่างน้อย 3 แห่ง เข้ามาดำเนินการซื้อขายแป้งมันสำปะหลังแทนอีกด้วย
ขณะที่คดีซื้อขายมันเส้นจีทูจีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรากฏชื่อผู้ถูกกล่าวหารวม 31 ราย ได้แก่ ผู้เจรจา ผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ผู้ลงนามในสัญญา และผู้เกี่ยวข้องกับซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์, พ.ต.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขานุการ รมว.พาณิชย์, นายมนัส สร้อยพลอย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, นางปราณี ศิริพันธ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, บริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company Mr. Chen Houpeng ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company, บริษัท Hainan Grain Warehousing Industrial Corporation Mr. Xing Gucun ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Province Grain and oil Trading Company, บริษัท Hainan Grain and Oil Industrial Trading Company Mr. Lin Haihui ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท Hainan Grain and Oil Industrial Trading Company,
ด้านผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทนนิติบุคคลของผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ เจ้าของเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระค่ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผู้มีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าว ได้แก่ บริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด นายชู หมิง เช็น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด, นางสาวลิอุ ยุก หมิง ไอลีน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด, นายชู หมิง คิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เอลัช (ประเทศไทย) จำกัด, นายสุธี เชื่อมไธสง Miss Chen Yifan บริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นางสาวอารยา กำปั่นแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นายสุมนต์ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นายสรัญ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นายสิรินทร์ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นายสราวุธ เสรีธรณกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท พี เอส ซี สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) , นางสาวเรณู รักแม่ Ms. Liang Jinmei บริษัท เอส บี พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด, นายสมบูรณ์ วัฒนวานิชย์กุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเอสบี พรีเมียร์ โปรดักส์ จำกัด, นายลิตร พอใจ บริษัทสุวรรณเกลียวทอง จำกัด, นายจักรพงศ์ ปิติพรสัมฤทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทสุวรรณเกลียวทอง จำกัด และนายสมคิด เอื้อนสุภา
โดยสรุปพฤติการณ์ตามสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. ว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้มีการทำสัญญา ซื้อขายมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จำนวนรวม 7 สัญญา ปริมาณรวม 4,790,000 ตัน จำนวนเงินรวม 30,642,500,000 บาท อย่างไรก็ดี บริษัทที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่บริษัทที่ได้รับมอบหมายหรือรับมอบอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยการกระทำนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเอื้ออำนวยหรือช่วยเหลือให้บริษัทดังกล่าวได้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายหรือหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ประกอบกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องของราคาที่ซื้อขาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ได้ให้ความเห็นชอบในราคาตามข้อเสนอของบริษัท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าข้อเสนอของฝ่ายไทย เว้นแต่สัญญาที่ 2/2013 ซึ่งเสนอราคาเท่ากันทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน การกระทำดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และประเทศชาติอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดยังอยู่ระหว่างชั้นพิจารณาของ ป.ป.ช. มีสิทธิต่อสู้คดีอีกในชั้นอัยการและชั้นศาล จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งหมด จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กต่าย' ยันไม่ได้ลอยตัว ปม ป.ป.ช. รับไต่สวนจนท.รัฐ เอื้อทักษิณนอนชั้น 14 พร้อมทำตามกฎหมาย
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มีมติให้ตั้งองค์คณะไต่สวนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ รวม12 ราย
'เด็จพี่' บอกอย่าให้ราคาก๊วนกดดัน ป.ป.ช.สอบป่วยทิพย์ชั้น 14
พร้อมพงศ์ชี้ อย่ากดดัน ป.ป.ช. กระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องอิสระ เลิกดูหมิ่นดูแคลน!
อดีตบิ๊กข่าวกรองฝาก ป.ป.ช.เร่งปมป่วยทิพย์ชั้น 14 บอกเป็นการคอร์รัปชันที่รุนแรงที่สุด
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ม็อบไม่ไว้ใจบุกปปช. กลุ่มต้านทักษิณบี้ชั้น14 กกต.ใกล้ปิดคดียุบพรรค
“ทวี” บอกเป็นเรื่องดี ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวนป่วยทิพย์