กลมกล่อม! 'ไอติม-ปิยบุตร' เสนอร่างแก้รธน.ที่ไม่มีทางผ่านการพิจาณาของรัฐสภา

'พริษฐ์'เสนอแก้รธน. ต่อ รัฐสภา ให้หยุดอ้าง 16 ล้านเสียงรับรองรธน.ปี60 ท้า ให้เห็นชอบแล้วไปวัดตอนทำประชามติ ชี้ ไทยป่วยเจอ 'ไวรัสตู่' จวก ส.ว.ไร้ความชอบธรรม-ไม่ยึดโยงปชช. เสนอโละทิ้งเหลือแค่ส.ส. ระบุ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีสืบทอดอำนาจระบอบประยุทธ์ ด้าน 'ปิยบุตร' ชงปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ ยกเลิกม.279 จับคนทำรัฐประหารลงโทษ ป้องกันนายทหารก่อการซ้ำ

16 พ.ย.2564- ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภาร่วมกัน ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ และประชาชนเข้าชื่อ จำนวน 1.3 แสนคน เป็นผู้เสนอ โดยนายพริษฐ์ กล่าวนำเสนอหลักการและเหตุในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญว่า ประเทศไทยเป็นผู้ป่วยร้ายแรง 3โรค คือ 1.โรคเศรษฐกิจอ่อนแอ 2.โรคเหลื่อมล้ำเรื้อรัง 3.โรคประชาธิปไตยหลอกลวง เป็นผลจากไวรัสพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่สิ่งที่อันตรายกว่าไวรัสตัวนี้คือ ระบอบประยุทธ์ ที่มีรัฐธรรมนูญปี2560 ปกป้องอยู่ เพื่อสืบทอดอำนาจให้พล.อ.ประยุทธ์ มีกลไกต่างๆที่ควบคุมได้เบ็ดเสร็จจากส.ว. องค์กรอิสระ ช่วยผูกขาดอำนาจ ไม่ว่าจะบริหารประเทศอย่างไร

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่เราต้องการคือการทำให้ประเทศแข็งแรงผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อฆ่าไวรัสพล.อ.ประยุทธ์ โดยต้องมีรัฐธรรมนูญภาคประชาชน เป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 1ให้ประเทศไทย มีข้อเสนอ 4ข้อคือ 1.ยกเลิกส.ว.ให้เหลือสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว เพราะส.ว.ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย มีอำนาจล้นฟ้า แต่ไม่มีที่มายึดโยงจากประชาชน รัฐสภาดีที่สุดคือ รัฐสภาที่ไม่มีวุฒิสภา มีข้อดีคือช่วยประหยัดงบประมาณประเทศ เงินเดือนส.ว.บวกที่ปรึกษา ผู้ติดตาม อยู่ที่ 800ล้านต่อปี รวมค่าน้ำ ค่าฟ้า ค่าประชุม มีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ไม่รู้คุ้มค่าหรือไม่ และช่วยให้มีกระบวนการนิติบัญญัติรวดเร็ว กระชับ ส่วนข้อกังวลการยกเลิกส.ว.นั้น จะมีกลไกอื่นมาทดแทนได้และอาจมีประสิทธิภาพมากกว่า หากเห็นว่าควรมีส.ว.อยู่เพื่อถ่วงดุลอำนาจรัฐบาลนั้น ขอให้เพิ่มอำนาจส.ส.ฝ่ายค้านในการตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลแทน การให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลการทำงานของรัฐได้ละเอียดขึ้น การออกกฎหมายคุ้มครองประชาชนที่เปิดโปงการทุจริต ข้อทักท้วงการทุจริตต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น กรณีเรือดำน้ำ เกิดจากการทักท้วงของประชาชน ไม่ใช่การทักท้วงจากส.ว.

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า 2.การเสนอยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20ปีและแผนการปฏิรูปประเทศ เพราะตัวแทนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่มีตัวแทนภาคประชาชน การกำหนดแนวทางบริหารประเทศล่วงหน้า 20ปี ในสภาวะที่โลกมีความผันผวนเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่น่ากังวลคือ การไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี จะมีความผิด กำหนดให้ลงโทษรัฐบาลที่ไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติได้ เป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจรัฐบาลประยุทธ์ และเล่นงานคู่แข่งทางการเมือง ข้อเสนอเหล่านี้ไม่สุดโต่ง เป็นเรื่องปกติในประเทศประชาธิปไตย ส่วนที่ระบุร่างแก้ไขฉบับประชาชน มีความขัดแย้งกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ขัดแย้งกับร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบบัตรเลือกตั้ง 2ใบนั้น เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ทำขึ้นก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาฯให้ความเห็นชอบจะแก้ไขเสร็จ เรายินดีแก้ไขร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนในชั้นกมธ. ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบไป ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นระบบที่ไว้วางใจประชาชน เลือกตัวแทนเข้ามาผ่านกลไกรัฐสภา ไม่ให้ทหารเข้ามาแก้ปัญหา ขอให้หยุดยกเสียง 16 ล้านเสียง อ้างเป็นเสียงส่วนใหญ่รับร่างรัฐธรรมนูญปี2560 ขอให้รับร่างแก้ไขฉบับนี้ แล้วไปวัดที่การทำประชามติ

จากนั้นเวลา 10.30 น. นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ร่วมเสนอ ชี้แจงว่า 3.การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาแม้จะอมพระมาพูดว่า ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระมีความเป็นกลาง พูดให้ตายประชาชนก็ไม่เชื่อ เพราะมีที่มาจากคสช. องค์กรเหล่านี้มีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนชี้ชะตานักการเมืองได้ ฝ่ายการเมืองอยากเข้ามาช่วงชิงองค์กรเหล่านี้ เพราะให้คุณให้โทษได้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจึงเสนอปรับโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญให้มีที่มาโดยให้ส.ส.รัฐบาล ส.ส.ฝ่ายค้าน และที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเสนอมาฝ่ายละ 6คน รวมเป็น 18คน ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาคัดเลือกเหลือ 9คน ใช้มติ 2ใน3 ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีความถ่วงดุล เพราะมาจากตัวแทนรัฐบาล ฝ่ายค้าน ศาลฎีกาฝ่ายละ 3คน นอกจากนี้ให้แก้ไขเรื่องอำนาจศาลรัฐธรรมนูญให้เหลือเฉพาะพิจารณาร่างพ.ร.บ. ใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ การขัดแย้งระหว่างองค์กรเท่านั้น และให้ยกเลิกอำนาจการตรวจสอบเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงให้มีระบบถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระได้ แต่ไม่ใช่ให้ถอดถอนกันง่ายๆ มีกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ต้องกังวลว่า ส.ส.จะครอบงำศาลรัฐธรรมนูญ แต่ออกแบบให้มีการถ่วงดุล

นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า 4.การล้มล้างผลพวงการรัฐประหาร โดยยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา279 ที่รับรองคำสั่งและการกระทำของคสช.ชอบด้วยรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่สร้างหลุมดำและความด่างพร้อยให้รัฐธรรมนูญ เราจะเขียนคุ้มครองแบบมาตรา 279 ไม่ได้ เพราะจะหมายความว่าถ้าทำรัฐประหารสำเร็จจะไม่ถูกลงโทษ ฉะนั้น ต้องยกเลิกมาตราดังกล่าว เพื่อให้การรัฐประหารเป็นโมฆะ ให้ผู้ที่ทำรัฐประหารถูกดำเนินคดี การเสนอเช่นนี้ไม่ได้คิดล้างแค้นใคร แต่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นายทหารกล้าทำรัฐประหารอีกต่อไป

“ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการออกแบบสร้างกติกาเป็นกลาง ไม่ใช่เขียนกติกาเฉพาะคนชนะ กำราบฝ่ายแพ้ให้ราบคาบ ไม่เห็นเหตุผลที่สมาชิกรัฐสภาจะไม่เห็นชอบร่างแก้ไขฉบับประชาชน หากสมาชิกให้ความเห็นชอบวาระ 1 ความเห็นที่แตกต่างกันยังมีโอกาสปรับปรุงในวาระ 2 และถ้าผ่านวาระ 3ไปได้ ก็ยังมีหนทางร้องศาลรัฐธรรมนูญและทำประชามติ ผมขอให้สมาชิกรัฐสภาให้ความเห็นชอบลงมติรับวาระหลักการไปก่อน เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ปิดประตูรับรับฟังร่างภาคประชาชน เพื่อให้ได้ศาลรัฐธรรมนูญที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่มีการรับรองการทำรัฐประหาร จะได้ไม่มีคำวินิจฉัยของศาลแบบเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ก่อวิกฤติการเมือง และมีองค์กรอิสระที่เป็นกลาง” นายปิยบุตร กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ

รักษาจุดยืนพรรค ’ชูศักดิ์’ ปัดตอบ ‘พริษฐ์’ มอง พท. มีโอกาสกลับลำไม่แก้ รธน. บางประเด็น

’ชูศักดิ์‘ ปัดคอมเมนต์ ‘พริษฐ์’ มอง ‘เพื่อไทย’ มีโอกาสกลับลำไม่แก้บางประเด็น ย้ำชัดต้องรักษาจุดยืนของพรรค โยน ‘วิสุทธิ์’ ตัดสินใจประชุมร่วมฯ แก้ รธน. 14-15 ม.ค.หรือไม่ เมิน เสียงวิจารณ์ พท.คว่ำร่าง ปชน.บอกเป็นแค่เสียง ต้องรอดูถกในสภาฯ

‘คำนูณ’ ยันแก้ รธน. มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ ต้องมีประชามติ สอบถาม ปชช.ก่อน

จะแก้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วว่าทำได้ แต่จะต้องจัดให้มีประชามติสอบถามประชาชนเสียก่อน

'ชูศักดิ์' เผยครม.ติดจรวจ กม.เพื่อปชช. หาช่องแก้ม. 256 ดันรธน.ใหม่ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอกฎหมายต่อสภาฯในนามรัฐบาล ว่า สิ่งที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนนโยบายทางด้าน

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน