นักกฎหมาย ชี้ร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับไม่ง่าย ต้องผ่านด่านอรหันต์หลายชั้น!

7 พ.ย.2565 - สืบเนื่องจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเอกฉันท์ 323 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ออกเสียง 7 เสียง กรณีขอให้สภาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติ เกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่เสนอโดยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม.พรรคก้าวไกล

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่าอำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของประชาชน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับใหม่ เงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะต้องฟังเสียงประชาชนทั้งประเทศก่อนว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ กล่าวคือจะต้องจัดทำประชามติ เพื่อฟังเสียงประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่

เคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อน ว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว กำหนดเงื่อนไขในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยู่ 2 เงื่อนไข คือ ก่อนจัดทำและภายหลังจัดทำ โดยจะต้องให้ กกต.ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคหนึ่ง(1)(2) ข้อดี เป็นการรับฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่จะชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วย ข้อเสีย ต้องเสีย งบประมาณในการจัดทำประชามติจำนวนมากถึงสองครั้ง ก่อนที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ส่วนโอกาสที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีตัวแปรและเงื่อนไขอย่างไร โอกาสจะผ่านหรือไม่ ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 วรรคท้าย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด ย่อมมีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นบทบัญญัติที่สำคัญของรัฐธรรมนูญเนื่องจากสภาพสังคมและบริบททางการเมืองของประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา การใช้รัฐธรรมนูญอาจไม่สอดรับกับสภาพสังคมการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

รัฐธรรมนูญแต่ละประเทศจึงมีบทบัญญัติให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้เพื่อให้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย โดยกำหนดเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในหมวด 15 ตามมาตรา 255 และ 256 ตัวแปรที่สำคัญ อยู่ที่ วาระสาม ลงมติ เงื่อนไขที่สำคัญ ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าตามที่รัฐสภามีมติเอกฉันท์ 323 เสียง เป็นเพียงขั้นตอนแรกในชั้นก่อน จะจัดทำประชามติเพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาเพื่อลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ หากเห็นชอบ จะต้องส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป คือ ช่องทางมาตรา 256 วรรคหนึ่ง แต่หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบถือว่าเรื่องนี้ย่อมตกไป ดังนั้นรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับเรือแป๊ะ “ลงเรือแป๊ะ จะต้องตามใจแป๊ะ” นั้นมีด่านเหล็กสำคัญที่ซ่อนเงื่อนไขเอาไว้ แก้ไขยากมาก ตัวแปรคือจะต้องจัดทำประชามติรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนก่อน และหลังว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ และมีตัวแปรด่านหิน คือ ต้องใช้เสียงสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 84 เสียง มีมติเห็นชอบในวาระสาม เทียบเคียงกับการปิดสวิตซ์ สว.ตามมาตรา 272 ยังไม่ผ่านด่านอรหันต์วุฒิสภา จะมาคิดการใหญ่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จึงมีโอกาสน้อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธาน กกต.แสลงคำว่า 'เลื่อน' บอกยังไม่ประกาศชื่อ สว.เพราะยังไม่เสร็จ!

ประธาน กกต.รับ ยังไม่ประกาศรับรอง สว.วันนี้ชี้ไม่ใช่การเลื่อนแต่ต้องพิจารณาคำร้องให้แล้วเสร็จ ย้ำหากสุจริตเที่ยงธรรมก็ประกาศได้

รทสช. เตรียมดัน กม.ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเข้าสภา จ่อเรียกถก สส. 2 ก.ค.นี้

พรรครวมไทยสร้างชาติได้เตรียมร่างกฎหมายที่จะเสนอไปเข้าสู่การพิจารณาของสภาหลายฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนในหลายเรื่อง

กันลืม! ย้อนอ่านบันทึก 'มีชัย ฤชุพันธุ์' ที่มา 200 สว. จาก 20 กลุ่มอาชีพ

เราแบ่งกลุ่มออกเป็น 20 กลุ่ม เพื่อให้สามารถกระจายกันไปแต่ละกลุ่มจะมีหลักประกันว่าจะมีตัวแทนของคนอยู่ในวุฒิสภา มีคนตั้งข้อสงสัยว่าการกำหนดไว้ 20 กลุ่ม ไม่มีเหตุผลอะไร ทำไม่จึงไม่เป็น 25

'นิกร' สยบข่าวโละปาร์ตี้ลิสต์ แค่มโนกันไปเอง ยันขึ้นอยู่กับ สสร.

'นิกร' ชี้กระแสข่าวแก้ รธน. ให้มีแต่ 'สส.เขต' มโนกันไปเอง ยันรัฐบาลไม่ได้ตั้งธงไว้ กติกาเลือกตั้งขึ้นอยู่กับ สสร. ชุดใหม่ ย้ำ ชทพ. ยึดตามประชาชน

ผ่านฉลุย สภาฯ รับหลักการแก้ พ.ร.บ.ประชามติ ปลดล็อกเงื่อนไขให้ผ่านง่ายขึ้น

ที่รัฐสภา มีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่1 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่...)