6 พ.ย. 2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง เพื่อไทย แลนด์สไลด์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,643 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งด้วยจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือ จำนวน ผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองมากที่สุด คือ 25 ที่นั่ง และอาจสูงขึ้นถึง 30 ที่นั่งในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ประมาณการว่าจะได้ 21 ที่นั่ง และอาจจะสูงถึง 26 ที่นั่ง ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐคาดว่าจะได้ 16 ที่นั่ง หรืออาจจะสูงถึง 21 ที่นั่ง โดยยังไม่มีปัจจัยย้ายพรรคของ ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นเพิ่มเติม
อันดับที่สี่และอันดับที่ห้า สูสีกันคือ พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคก้าวไกล โดยพรรคประชาธิปัตย์คาดว่าจะได้ 11 ที่นั่ง และพรรคก้าวไกล คาดว่าจะได้ 9 ที่นั่ง เป็น ส.ส. ผู้แทนราษฎรส่วนของพรรคการเมือง ตามด้วยส่วนของ พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวน 10 ที่นั่ง และมีอีกจำนวนที่นั่งที่อาจจะเทไปให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอีกจำนวน 5 ที่นั่ง
ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า พรรคเพื่อไทยแลนด์สไลด์ในภาคอีสาน ร้อยละ 45.6 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 32.9 ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 29.6 ในภาคกลางร้อยละ 8.0 และในภาคใต้ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคภูมิใจไทย ได้ในภาคกลางมากที่สุดคือร้อยละ 26.2 ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.0 ภาคอีสานได้ร้อยละ 21.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 19.3 และภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ
สำหรับพรรคพลังประชารัฐในเงื่อนไขว่า ยังไม่มีการย้ายพรรคของ ส.ส.และยังไม่เกิดความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ภาคใต้ได้ร้อยละ 26.0 ภาคกลางได้ร้อยละ 25.8 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 13.3 ภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 และภาคอีสานได้ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.3 ภาคกลางได้ร้อยละ 11.5 ภาคเหนือได้ร้อยละ 11.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 7.4 และภาคอีสานได้ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ
ส่วนพรรคก้าวไกล กระจายไปได้ภาคเหนือมากสุดร้อยละ 14.0 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 9.6 ภาคอีสานได้ร้อยละ 8.7 ภาคกลางได้ร้อยละ 8.2 และภาคใต้ได้ร้อยละ 4.9 ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความชัดเจนว่า พรรคการเมืองเด่น ๆ ที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้อยู่ที่ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ (บนเงื่อนไขของการย้ายพรรคและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคก้าวไกล ส่วนพรรคการเมืองอื่น ๆ อาจเป็นพรรคการเมืองที่ต้องควบรวมสร้างอำนาจต่อรองการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตหลังการเลือกตั้งได้
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า เพื่อไทยแลนด์สไลด์จะเป็นภาพที่ไม่เกินความเป็นจริงโดยเฉพาะในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ ที่น่าจับตามองคือ ภาคใต้จะกลายเป็นสนามรบแรง 3 พรรค พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร จะขึ้นกับกระแสเป็นหลัก ที่โดดเด่นคือ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และที่น่าจับตามองมากที่สุดในสนามกรุงเทพมหานครคือ พรรคก้าวไกล ด้วยสำหรับพื้นที่ภาคเหนือ จะตกเป็นของพรรคเพื่อไทย และ พรรคก้าวไกลที่เด่น ส่วนภาคกลาง จะกลางจริง ๆ คือกระจายกันไปหลายพรรคแต่ที่จะเด่นขึ้นมาคือ พรรคภูมิใจไทย กับ พลังประชารัฐ ในภาคกลาง แต่ถ้าแพแตก ก็ค่อยว่ากันอีกภาพหนึ่ง
“แต่มีสัญญาณจากข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งชี้ให้เห็นว่ามีความน่าจะเป็น ชัชชาติ เอฟเฟกต์ ที่ทำให้คู่แข่งขันทางการเมืองแตกกระจายเป็นส่วนย่อย ๆ ไร้พลังสู้ เกิดขึ้นในการสู้รบทางการเมืองระดับชาติได้ คือ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล เข้มแข็ง ในขณะที่ พรรคคู่แข่งเช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์จะถูกปั่นกระแสทำลายให้อ่อนแอ ทั้งจากภายในฝ่ายรัฐบาลเอง ฝ่ายค้านและฝ่ายอื่น ๆ จึงอาจจะเห็นภาพ เพื่อไทยแลนสไลด์เกิดขึ้นแท้จริง ก็เป็นไปได้เหมือนชัยชนะที่ชัชชาติ ทำได้มาแล้ว” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ไชยชนก" นำ รมต. - รมช. - กก.บห. - สส. พรรคภูมิใจไทย วางพวงมาลาถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ต.ค.
23 ตุลาคม 2567 ณ พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระลานพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
'อนุทิน' แกะบ่วงทิ้ง ใครก็ 'ครอบงำ' ภูมิใจไทยไม่ได้
“อนุทิน” ยัน ใครครอบงำ “ภท.” ไม่ได้ ย้ำทุกอย่างมาจากมติที่ประชุม หลัง กกต.รับคำร้องยุบ พท.- พรรคร่วม เผยดินเนอร์เย็นนี้ขึ้นอยู่กับ นายกฯ พิจารณา มั่นใจ ปม แก้รัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรม ไม่ใช่ชนวนความขัดแย้ง
'ภูมิใจไทย' คว่ำรายงานนิรโทษกรรมปูทางล้างผิด 112
“ภูมิใจไทย” ไม่เอาด้วย ยันโหวตคว่ำรายงานนิรโทษกรรม ไม่ร่วมสังฆกรรม ชงล้างผิด 112 ย้ำเนื้อหามีปัญหา กำกวม
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ! “ไชยชนก” นำคณะล่องเรือแม่น้ำน้อยช่วยเหลือชาวบ้านกลุ่มผู้เปราะบาง ให้กำลังใจ ชาวผักไห่ จ.อยุธยา
12 ตุลาคม 2567 เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค อาทิ นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภา คนที่
จับตา 'ภท.' รุกคืบ! สัญญาณแข็งข้อกับ 'พท.' ชัดขึ้นเรื่อยๆ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ภูมิใจไทยงดออกเสียง พ.ร.บ.ประชามติ สัญญาณการแข็งข้อกับเพื่อไทย
"โสภณ" นำชาวบุรีรัมย์ นำร่องปราบยาเสพติดปิดประตูตีแมวล็อคทั้งหมู่บ้าน คืนศรัทธาให้เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
7 ตุลาคม 2567 นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์ เขต 4 พรรคภูมิใจไทย และประธานที่ปรึกษามูลนิธิอาณัติพณ ซารัมย์(ลูกเติ้ง) พร้อมด้วยประชาชนชาวอำเภอคูเมือง