'กรณ์' หนุนปลดล็อกต่างชาติซื้อที่ดิน แนะมาตรการภาษีรัดกุมคลายกังวลคนไทย

‘กรณ์’ เห็นด้วยปลดล็อกต่างชาติซื้อบ้าน-ที่ดินได้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ทดลอง 5 ปี ไม่ดีเลิก แนะแจงประชาชนให้คลายกังวล พร้อมปรับโครงสร้างภาษีเป็นธรรม

28 ต.ค. 2565 – นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมหาดไทย ปลดล็อกต่างชาติ ให้สามารถซื้อบ้าน-ถือครองที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ แลกการลงทุนในไทยขั้นต่ำ 40 ล้านบาท ว่า โดยรวมมองว่าเป็นนโยบายที่น่าสนใจ เพราะจะเป็นจุดดึงดูดทุนจากต่างประเทศเข้าในประเทศไทย และตัวคนต่างชาติเองก็จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ดังนั้นมุมทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้นก็จะมีเงินเข้ามาจากการซื้อที่ดิน ที่อยู่อาศัย และในระยะยาวกว่านั้นก็มาจากการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งการใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถของเขา มาสร้างงงาน สร้างโอกาสในบ้านเราด้วย

อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาที่หลายคนอาจจะกังวล ในแง่ของผลข้างเคียง ว่าต่างชาติจะมาแย่งซื้อที่ซื้อบ้านจากคนไทยหรือไม่ ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ ครม. ได้วางกรอบกติกา เพื่อที่จะจำกัดผลค้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น การที่ระบุว่า ต่างชาติที่สนใจจะเข้ามาซื้อที่ดิน หรือที่อยู่อาศัย ต้องมีเงินลงทุนผูกพัน ในประเทศไทย อย่างน้อย 3 ปี เป็นวงเงิน 40 ล้าน ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า ตัวมูลค่าสินค้า บ้านและที่ดิน ในราคาค่อนข้างสูง จะเป็นคนละตลาดกับการซื้อขายบ้านทั่วไป นอกจากนี้ กฎหมายยังจำกัดพื้นที่ในการซื้อที่ดิน ที่อยู่อาศัยเฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แย่งซื้อกับชาวบ้าน เกษตรกร ที่อยู่นอกเขตเทศบาล และการที่รัฐบาลจำกัดเวลาการทบทวนใน 5 ปี ก็ชี้ให้เห็นหลักคิดในเชิงแซนด์บ็อกซ์ คือ ทำทดลองดู เรื่องนี้พูดกันมานานมาก ถกเถียงกันมาไม่มีข้อสรุป รัฐบาลเลยให้ลองดู 5 ปี มีข้อเสียมากกว่าข้อดี ก็สามารถยกเลิกกฎหมายได้ตามความเหมาะสม ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า เป็นแนวทางที่ดี แต่ก็ต้องคอยดู จะเป็นอย่างไร

“เราต้องอย่าลืมว่า ในบริบทสังคมไทยเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชากรเริ่มมีแนวโน้มลดลง เพราะฉะนั้นการเปิดโอกาสให้ต่างชาติ ที่มีเงิน มีทักษะ เข้ามาทำงาน หรือตั้งรกราก เปิดกิจการในประเทศไทย หรือ Work from Thailand มากขึ้น จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่มีคนพูดถึงกันอยู่แล้ว และในบริบททั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะทดลองนโยบายนี้” หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ระบุ

อดีต รมว.คลัง กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐบาลออกมาตรการมาแล้ว ในช่วงการพิจารณารายละเอียด ก็ควรฟังความกังวลของประชาชน และวิธีที่จะสร้างความเป็นธรรม ซึ่งวิธีการที่จะคลี่คลายความกังวล คือ ปรับโครงสร้างภาษี ให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝาย ไม่ใช่ฝั่งของเจ้าของที่ดินเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งภาษีจากการซื้อขายที่ดิน ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นธุรกิจเฉพาะ ก็จะมีค่าอากรแสตมป์ 3% ตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นภาระของผู้ซื้อหรือไม่ แต่โดยทั่วไปแล้วภาษีควรต้องจ่ายโดยผู้ที่มีกำไร คือผู้ที่มีทรัพย์สิน และขายทรัพย์สินให้กับต่างชาติ ที่ได้โอกาสจากการทำกำไร เรื่องราวเหล่านั้นต้องพิจารณาด้วย เพราะมาตรการภาษีโดยรวม มันมีเม็ดเงินกลับเข้ามาในส่วนของรัฐบาลเพื่อที่จะเอาไปสร้างประโยชน์ให้ประชาชนในวงกว้างได้มาก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษก มท. เผยมหาดไทยพร้อมชง ครม. เคาะกฎกระทรวงกำหนดเวลาเล่นแข่งวัวลาน 18.00 น. ถึง 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น หนุนท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายนายกรัฐมนตรี 'อนุทิน' มอบปกครองวางมาตรการกวดขัน ป้องกันผลกระทบสังคม

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดูแลปรับปรุงข้อกฎหมายเพื่อให้การแข่งขันวัวลาน จ.เพชรบุรี

'กุนซือนายกฯ' เขย่า 'แบงก์ชาติ' หัดร่วมมือรัฐบาลแก้เศรษฐกิจ

'พิชัย' ลั่นเตือนแล้วเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกย่ำแย่ ชี้นโยบายการเงินไม่สนับสนุน ขณะที่งบประมาณยังใช้ไม่ได้ จี้ 'แบงก์ชาติ' หนุนแก้เศรษฐกิจเหมือนธนาคารกลางประเทศอื่น

'กรณ์' กังวลรัฐบาลแจกดิจิทัลด้วยการกู้งบกลาง หนี้เพิ่ม ดุลบัญชีเดินสะพัดยังอ่อนแอ

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า มีรายงานว่า ครม.เปลี่ยนแนวทางการหาเงินโครงการ #แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คือยกเลิกแผนการเจียดจากงบปี 67 ที่คาดว่าจะใช้ไม่หมด โดยที่รัฐบาลจะเปลี่ยนมา “กู้เพิ่ม”

ดิจิทัลวอลเล็ตส่อขัดรธน.! อดีตรมว.คลังแนะกฤษฎีกาตีความ รัฐบาลล้วงงบฯจากปี67ด้วย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์

รัฐบาลลุยต่อยอด 'ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์' ขยายตลาดช่วยชุมชนโกยรายได้

รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมต่อยอด 'ผ้าขาวม้าไทยฟีเวอร์' เพิ่มมูลค่าขยายตลาด ช่วยผู้ประกอบการชุมชนโกยรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น