เปิดร่างรธน.ฉบับ 'ไอติม พริษฐ์' เข้าที่ประชุมรัฐสภา วาระแรก 16 พ.ย.นี้

แฟ้มภาพ

13 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา วาระแรก ในวันที่ 16 พ.ย.นี้ ที่มีประชาชนเข้าชื่อขอแก้ไขอย่างถูกต้อง จำนวน 135,247 คนที่เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม แกนนำกลุ่ม Re-Solution มีสาระสำคัญตามหลักการและเหตุผลที่ภาคประชาชนขอแก้ไขคือ 1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐสภา ในหมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่องรัฐสภา จากเดิมมีสภาผู้แทน ราษฎร และวุฒิสภา ให้เหลือเพียงสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว โดยให้เหตุผลว่าวุฒิสภาเป็นกลไกสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเพิ่มบทบาทให้สภาผู้แทนราษฎรและส.ส.ฝ่ายค้านตรวจสอบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี(ครม.)

2.การปรับโครงสร้างของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการเป็นองค์กรที่คำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร มีผลต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นผู้ชี้เป็นชี้ตายทางรัฐธรรมนูญทั้งหมด จนกลายสภาพเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และมีการใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางเมือง โดยเสนอให้แก้ไขให้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9คน มีที่มาจากการเสนอชื่อของส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 3คน ส.ส.ฝ่ายค้าน 3คน และที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุด 3คน ให้สภาผู้แทนราษฎรเลือก และห้ามศาลรัฐธรรมนูญกระทำการอันมีผลขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

3.การให้องค์กรอิสระต้องพ้นจากตำแหน่งทันที หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับใช้

4.การยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา256 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้ไขให้การแก้รัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 3วาระ ไม่มีส.ว.เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยวาระ 1 และ 3 ใช้เสียงสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ 2ใน3 ส่วนการแก้ไขวาระ2 ใช้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

5.การยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 257-261 ที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ

6.การเพิ่มหมวด เรื่องการลบล้างผลพวงการรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค.2557 โดยให้คำสั่งคสช.และหัวหน้าคสช.มีผลเป็นโมฆะทั้งหมด รวมถึงการให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ต่อต้านการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ก่อการรัฐประหาร และห้ามศาลรัฐธรรมนูญและศาลทั้งปวงรับรองความสมบูรณ์ของการรัฐประหารหรือความสมบูรณ์กฎหมายแก่ผู้ก่อการรัฐประหาร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'หมอเกศ' โผล่สภาแล้ว! ยิ้มแทนคำตอบ

พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้เดินทางเข้ามายังอาคารรัฐสภาฝั่งสภาผู้แทนราษฎร โดยผู้สื่อข่าวบังเอิญไปเจอ พญ.เกศกมล ที่ห้องอาหารชั้น 1

'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ! ขืนรวมความผิด 'ม.112-110'

'คารม' เตือน 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ ขืนรวมความผิด 'ม.112-110' ส่อขัดรัฐธรรมนูญ ยิ่งเพิ่มขัดแย้ง แนะผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม พิสูจน์ความบริสุทธิ์ตัวเอง

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"