แฟ้มภาพ
'จรัญ-อดีตตุลาการศาลรธน.' เผยเคยถูกขู่ หลังมีความเห็นไปในทางเดียวกับศาลรธน. ลั่นคนทำงานขนาดนี้ ไม่มีใครกลัวหรอก พร้อมตายทุกเมื่อ เชื่อ คำวินิจฉัยล้มล้างการปกครอง เพราะต้องการจะป้องปราม
12 พ.ย.2564 - นายจรัญ ภักดีธนากุล ผู้อำนายการหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณทิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างการบรรยายพิเศษ ให้กับนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาการเมือง และการเลือกตั้งระดับสูงรุ่นที่ 12 ในหัวข้อธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปด้านการเมือง
ทั้งนี้ในช่วงท้าย ของการบรรยาย มีนักศึกษา ถามถึงความเห็นต่อคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการล้มล้างการปกครอง นายจรัญ ได้กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลดังกล่าวเชื่อว่า ต้องการจะออกมาเตือน ป้องปรามว่าการกระทำของกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่มีขอบเขตผิดกฎหมายและมีความผิดระดับร้ายแรงเพราะหากถือตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ถือว่าร้ายแรงมากจึงเหมือนอยากจะให้ถอยกันให้หมด
นายจรัญ กล่าวว่า คำวินิจฉัยก็ชัดเจนว่ามีผลเฉพาะคนที่ทำผิดคือผู้ถูกร้องทั้ง3คนเท่านั้นไม่มีผลผูกพันคนอื่น แต่ยอมรับว่าอาจจะมีคนตกใจโดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายที่เคยสนับสนุน เพราะที่ผ่านมาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร แต่ครั้งนี้คำวินิจฉัยถูกแยกออกเป็นสองส่วนคือคำวินิจฉัยที่เป็นประเด็นโดยตรง(มีผลผูกพันกับทุกองค์กร)และคำวินิจฉัย ที่การนำประเด็นต่างๆมาขยายเหตุผลว่าศาลได้ผ่านกระบวนการความคิดประมวลมาต่างๆจึงนำมาแสดงเหมือนชักแม่น้ำทั้ง5 มาให้ประชาชนได้ทราบ เพราะศาลยึดหลักมาโดยตลอดว่า ศาลจะไม่ชี้แจงหลังการพิจารณา ดังนั้นเหตุผลที่เป็นองค์ประกอบจึงไม่มีผลผูกพัน
นายจรัญ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัย มีสื่อมวลชนมาสัมภาษณ์ เกี่ยวกับประเด็นการเสนอแก้ ม.112 ซึ่งตนไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกและแก้ไข และบังเอิญว่าสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับศาลรัฐธรรมนูญ
"ยอมรับว่า ถูกขู่ เช่นกัน แต่ขอบอกเลยว่าไม่มีใครเค้ากลัวคำขู่หรอกครับ คนทำงานมาถึงขนาดนี้ พร้อมที่จะตายได้ทุกวัน เพราะตอนนี้ อยู่ก็ถือเป็นกำไร แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือของจริง ไม่ใช่คำขู่ ผมขอวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ว่า ต้องการปรามเพราะไม่ต้องการให้ลุกลาม ไปมากกว่านี้ เพราะถ้าคุณไม่พอใจรัฐบาล คุณก็โค่นล้มรัฐบาลไป ไม่ควรต้องมาเกี่ยวข้องกับประมุขของชาติ ดังนั้น ขออย่าตกใจ และขอให้มั่นใจว่า คนในวงการตุลาการจะไม่บ้าจี้ ใก้เกิดความรุนแรงทางใดทางหนึ่ง และมั่นใจว่าเมื่อคำตัดสินออกมาแบบนี้ เหตุการณ์จะสงบขึ้น” นายจรัญ กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิด 11 ชื่อผู้สมัคร 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ปลัด ก.เกษตรฯ มาวันสุดท้าย
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน ระหว่างวันที่ 11-25 พฤศจิกายน 2567
โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
'ชูศักดิ์' โล่ง ปลอดชนักล้มล้างการปกครอง
'ชูศักดิ์' มองเป็นสัญญาณดี ปม 'ศาล รธน.' ไม่รับคำร้อง 'พท.' ล้มล้างการปกครอง ชี้ รัฐบาลเดินหน้าทำงานได้แบบไม่กังวล
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ