นายกฯ ปลื้มแผนยกระดับ 'รัฐบาลดิจิทัล' เข้าเป้า

นายกฯ ปลื้มผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2022 ไทยได้ปรับอันดับขึ้นหลายดัชนี อยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับสูงมากพร้อมก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ

2 ต.ค. 2565 – นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ด้วยการดำเนินงานตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งผลให้ สหประชาชาติได้เปิดเผยผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2022 โดยไทยได้รับการปรับอันดับขึ้นในหลายดัชนี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้วางแนวทาง สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ไทยก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2022 หรือ UN E-Government Survey 2022 ที่จัดทำโดย สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs – UN DESA) โดยจัดการประเมินทุก 2 ปี สำรวจจาก 193 ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ พิจารณาจาก 3 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI) ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน (e-Participation Index: EPI) และดัชนีให้การบริการออนไลน์ภาครัฐส่วนท้องถิ่น (Local Online Service Index: LOSI)

สำหรับประเทศไทย ผลการจัดอันดับครั้งนี้ พบว่า อันดับของประเทศไทยปรับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 55 จากอันดับที่ 57 ในปี 2563 ด้วยคะแนน 0.7660 ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่อยู่ที่ 0.7565 คะแนน พร้อมกับได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับสูงมาก โดยในภูมิภาคอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ (อันดับที่ 12 ของโลก) และมาเลเซีย (อันดับที่ 53 ของโลก) ตามลำดับ

ในขณะที่ค่าดัชนีการมีส่วนร่วมอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Participation Index: EPI) ซึ่งประเมินการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดทิศทางการทำงานของภาครัฐ ในปี 2565 ก็พบว่า ไทยได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 18 ได้คะแนน 0.7841 จากทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2563 ซึ่งเคยอยู่ลำดับที่ 51 ถึง 33 อันดับ

“การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนถือเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นภารกิจหลักภารกิจหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจ เห็นได้ว่า ผลการสำรวจดังกล่าวสะท้อนความสำเร็จในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้า ในการทำงาน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานของรัฐบาลจากกลไกสำคัญต่างๆ ส่งผลให้ประเทศได้รับการยอมรับและได้รับการจัดอันดับที่ดีในเวทีโลก โดยรัฐบาลมุ่งเดินหน้าแนวนโยบายเพื่อก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ และพร้อมวางแนวทางสู่อนาคต” นายอนุชากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี มท.รับรอง บัตรปชช. แอปฯ ThaID ใช้เช็กอินแทนบัตรจริงแล้ว

นายกฯ ขอบคุณ ส่วนราชการเร่งดำเนินการนโยบาย“รัฐบาลดิจิทัล”ลดขั้นตอนยุ่งยากให้ ปชช.ล่าสุด มท.รับรอง บัตร ปชช.จากแอปฯ ThaID สามารถโชว์รูปบัตรเช็กอินในประเทศโดยไม่ต้องใช้บัตรตัวจริงได้แล้ว

นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 1) : งานหลังบ้านที่ถูกมองข้าม 

ในปี 2562 และ 2565 รัฐบาลได้ออกกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565) กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกออกแบบมาโดยเจตนาเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างยิ่งยวด 

'ทางหลวงชนบท' ขึ้นแท่นคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

กรมทางหลวงชนบท รับรางวัลเลิศรัฐ ปี 2567 คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด หมวด 6 ด้านกระบวนการคุณภาพและนวัตกรรม  พร้อมขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัล

ตร.รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล อำนวยความสะดวกให้ปชช.เช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์

'เกณิกา' เผย ตร. รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ลดความยุ่งยาก อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ด้วยตนเอง เพื่อยื่นสมัครงานได้แล้ว

สนค. ชี้ทุกหน่วยงานนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เร่งทุกหน่วยงานเชื่อมข้อมูล

นโยบายรัฐบาลดิจิทัลจะประสบความสำเร็จต้องช่วยกันอย่างจริงจัง แนะเร่งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน