1 ต.ค.2565 - นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เริ่มนับในปี 2560 จึงสามารถเป็นนายกฯ ได้อีกประมาณ 2 ปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเป็นนายกฯ ในสมัยการเลือกตั้งครั้งหน้า จะส่งผลให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยได้คะแนนความได้เปรียบมากขึ้นหรือไม่ ว่า การวินิจฉัยในวันที่ 30 ก.ย. เป็นอีกครั้งที่ทำให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2560 มีปัญหาเรื่องการตีความ ทั้งการตีความตามเจตนารมย์ การตีความตามตัวอักษร หรือการตีความจากผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นโจทย์ใหญ่ในทางการเมืองที่เราต้องคิดมากกว่าผลทางการเมืองแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือการต้องมาทบทวนกันว่า เมื่อรัฐธรรมนูญมีปัญหาค่อนข้างมาก จะนำไปสู่กระบวนการทำให้เกิดรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้อย่างไร
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นการเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ อีกครั้งหรือไม่ พรรค ก.ก. ไม่ก้าวล่วงไปตอบได้ แต่ว่าจะเป็นคำถามของทุกพรรคการเมือง ที่อาจจะเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ต้องคิดทบทวนถึงข้อจำกัดเรื่องการดำรงตำแหน่งที่ไม่สามารถอยู่จนครบวาระ 4 ปีได้ แน่นอนย่อมทำให้ประชาชนคลางแคลงว่าพรรคนั้น จะเข้าไปบริหารแผ่นดินได้อย่างไร ดังนั้น จึงไม่ใช่โจทย์ของเรา เพราะฝ่ายประชาธิปไตยมีความชัดเจนว่า ปัญหาของรัฐธรรมนูญคือโจทย์ใหญ่ที่ส่งผลทางการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เศรษฐกิจปากท้องประชาชน และสิทธิเสรีภาพ หากมีการเลือกตั้งครั้งหน้า ฝ่ายค้านได้เสนอให้ทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด น่าจะเป็นคำตอบระยะยาวที่ดีที่สุดมากกว่า
“การวินิจฉัยให้เริ่มนับการดำรงตำแหน่งนายกฯ เป็นปี 2560 เป็นโจทย์เดิมที่เราคิดว่าจะออกมาเป็นแบบนี้ ฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบของพรรคการเมืองใด แต่อยู่ที่ว่ารอบหน้าแต่ละพรรคจะเสนอใครเป็นแคนดิเดตนายกฯ และมีนโยบายอย่างไร” นายณัฐวุฒิ กล่าว
เมื่อถามว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า แคนดิเดตนายกฯ จะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการชนะเลือกตั้งใช่หรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า แน่นอน เพราะหากแคนดิเดตนายกฯ มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติและวาระการดำรงตำแหน่ง ประชาชนต้องดูว่ากล้าที่เลือก หรือเลือกไปแล้วจะมีผลอะไรอีกหรือไม่
เมื่อถามว่า หากคุณสมบัติของพล.อ.ประยุทธ์ มีปัญหาเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง จะส่งผลให้พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เสนอชื่อพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. แทนหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตนตอบแทนพรรค พปชร.ไม่ได้ แต่ว่าตอนนี้พรรค พปชร. ต้องคิดหนักว่า ใครที่เหมาะสมเป็นแคนดิเดตนายกฯ ให้พรรคมากที่สุด เพื่อให้พรรคมีโอกาสทางการเมืองและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ไม่มีโจทย์แค่เรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง แต่ต้องดูด้วยว่าบุคคลนั้นจะยังได้รับการยอมรับจากประชาชนอีกหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น