'ธนกร' วอนสารพัดม็อบเคารพคำวินิจฉัย หยุดชุมนุมก้าวล่วงคำตัดสินของศาล

1 ต.ค.2565 - นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดลงว่าขอขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยชี้ชัดให้หลายคนหายสงสัย โดยจากนี้นายกฯ จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการเร่งติดตามนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่ได้ริเริ่มเอาไว้เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติ โดยไม่สนว่าใครจะจ้องเล่นเกมการเมืองเพื่อดิสเครดิตรายวัน แต่จะมอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนแทน เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องสับสนกับการบิดเบือนข้อมูลของคนบางกลุ่มอย่างในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามหวังว่ากลุ่มการเมืองต่างๆ จะเคารพคำตัดสินของศาลเหมือนที่ท่านนายกฯ น้อมรับคำวินิจฉัยเช่นกัน ไม่ใช่ออกมาก่อม็อบบนถนนสร้างความเสียหายให้กับประเทศอีกครั้ง เพราะหากเป็นเช่นนั้นตนเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศคงไม่ยอมแน่นอน

“ที่ผ่านมานายกฯ ผลักดันนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โปร่งใส และสุจริตอย่างที่ไม่เคยเห็นในรัฐบาลไหน ทั้งหมดก็เพื่อหวังที่จะให้ประเทศเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ใช่สร้างความมั่นคั่งให้ตัวเองเหมือนในอดีตที่เราเคยเห็นกัน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ผมเชื่อว่าจากนี้ไปนายกฯจะสามารถพลิกโฉมประเทศให้พัฒนาไปข้างหน้าได้ไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน” นายธนกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร