เลขาฯ กกต.ยัน 23 ก.ย.ชัดเจนเรื่อง 180 วันอะไรทำได้-ไม่ได้

ที่ประชุม กกต.เตรียมถกประกาศสร้างความชัดเจน 180 วัน คาด 23 ก.ย.ชัดเจน ห่วงยุบสภาก่อนกฎหมายลูกบังคับใช้ พรรคการเมืองมีปัญหาทำไพรมารีโหวตแบบเก่า

22 ก.ย.2565 - นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี กกต.เตรียมประกาศหลักเกณฑ์ให้พรรคการเมืองได้ทราบและปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมในช่วง 180 วันที่สภาผู้แทนราษฎรจะหมดวาระ ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.ว่า วิธีการหาเสียงมีกำหนดอยู่ในระเบียบของ กกต.อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณี 180 วัน กรณีสภาอยู่ไม่ครบวาระ หรือยุบสภา คือมาตรฐานแบบเดียวกัน เพียงแต่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจแต่ต่างออกไป เพราะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับรอการประกาศใช้ ทำให้เงื่อนไขในการหาเสียงบางอย่างยังไม่เกิดขึ้น เช่น หน่วยเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง ต้องรอกฎหมายฉบับใหม่ ทำให้ฐานะของผู้สมัครและพรรคการเมืองที่จะนำไปใช้ในการหาเสียงยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้สำนักงาน กกต. จะเสนอร่างประกาศดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กกต. เพื่อพิจารณาก่อนจะแจ้งให้พรรคการเมืองทราบในวันที่ 23 ก.ย.นี้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดความชัดเจนในการหาเสียง

นายแสวง กล่าวถึงข้อกังวลที่พรรคการเมืองกลัวว่าในช่วง 180 วันอะไรทำได้ทำไม่ได้บ้างนั้น ว่า ตัวระเบียบมีกำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งพรรคการเมืองเคยใช้แล้ว แต่สิ่งที่ต่างออกมาคือระยะเวลาที่มากขึ้น แต่ก่อนมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง กรณีไม่ครบวาระจะใช้เวลาหาเสียงประมาณ 30 วันก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไปเพราะ 180 วัน หรือ 6 เดือน มีกิจกรรมที่พรรคการเมืองจะหยุดไม่ได้ เช่น การประชุมใหญ่ การทำไพรมารี่โหวต การทำกิจกรรมทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่ง กกต.จะมีการชี้แจงให้พรรคการเมืองได้รับทราบ ในการประชุมชี้แจงพรรคการเมืองที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ก.ย.นี้ เพราะระยะเวลา 6 เดือน หาเสียงทอดยาวมาก ซึ่งต้องดูองค์ประกอบว่าจะเข้าข่ายการหาเสียงการเลือกตั้งหรือไม่

เมื่อถามว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการหาเสียงกับการช่วยเหลือประชาชนหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า เส้นแบ่งทางกฎหมายมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องดูเป็นกรณีไป ทั้งนี้ตัวระเบียบมีอยู่แล้ว เพียงแต่เงื่อนเวลาเพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ใช้ระยะเวลา 180 วันเพิ่มขึ้นมา และมีกฎหมาย 2 ฉบับที่จะเป็นเครื่องมือในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับ เพื่อเป็นฐานในการทำงาน

ถามย้ำว่าการไม่มีกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับจะมีปัญหาในการปฏิบัติหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ถ้าไปถึงวันที่ 23 มี.ค.2566 ทุกอย่างจะเรียบร้อย และพรรคการเมืองก็จะมีเวลาเตรียมตัว และมีช่วงเวลาในการหาเสียง การทำไพรมารีโหวตตามกฎหมายใหม่ แต่ถ้าสถานการณ์การเมืองทำให้พรรคต้องทำไพรมารีโหวตตามกฎหมายเดิม จะมีพรรคการเมืองทำไพรมารี่ตามกฎหมายดังกล่าวได้หรือไม่ สามารถส่งผู้สมัครได้หรือไม่

“ไม่ได้ห่วงสำนักงาน กกต. เพราะได้มีการเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว แต่กังวลกับพรรคการเมือง เนื่องจากปัจจุบันมีพรรคการเมืองเป็นจำนวนมาก ถ้ากฎหมายใหม่ใช้บังคับก็จะทำไพรมารีโหวตตามกฎหมายใหม่ ซึ่งจะง่ายกว่าการทำไพรมารี่แบบเก่า เพราะใช้เขตจังหวัดเป็นเขต แต่หากใช้กฎหมายฉบับเก่าจะต้องไปทำไพรมารีโหวตในทุกเขต ตั้งมีการจัดตั้งสาขาและตัวแทนพรรคในทุกเขต ต้องมีการจัดประชุม ตรวจเช็กองค์ประชุม บันทึกการประชุม ซึ่งจะต้องลงรายละเอียดคะแนนของการโหวตผู้สมัครที่อาจจะเป็นปัญหายุ่งยากต่อพรรคการเมือง”

เมื่อถามว่าจะมีการตรวจสอบกรณีที่พรรคการเมืองลงพื้นที่และแอบแฝงการหาเสียงอย่างไร นายแสวง กล่าวว่า ทุกเรื่องกฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้ว ต้องดูข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องว่าเป็นอย่างไร แต่ทุกคนต้องทำตามกฎหมาย ส่วนการลงพื้นที่ของรักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีก็ต้องจับตาตามปกติอยู่แล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วรงค์' มึน 'กกต.' ปล่อยผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง มีบทบาทเหนือหัวหน้าพรรค

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ผมรู้สึกมึนกับกกต. ที่ปล่อยให้ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทา

ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่

"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน

เลขาฯกกต. ลั่นสนามเลือกตั้ง อบจ. ไม่มีเจ้าพ่อ กติกาไม่ดีอย่าโทษกรรมการ ต้องไปแก้กฎหมาย

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวตอนหนึ่งของการเสวนา “ความสำคัญของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด” ว่า กกต.มีหน้าที่ในการจัดการเลือดตั้งให้ออกมาดี