ทนายของ 'อานนท์-ไมค์-รุ้ง' รวมหัวป่วนตุลาการ หิ้ว 'ส.ศิวลักษณ์' เป็นพยานขอให้ไต่สวนคดีล้มล้างการปกครอง สุดท้ายจ๋อยเจอศาลสอน ระบบไต่สวน ไม่ใช่ระบบกล่าวหา เอกสาร หลักฐาน พิจารณามาปีกว่าแล้ว 'สิ่งที่คุณอ้าง ก็เป็นข้ออ้างของคุณ'
10 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 15.00น. ก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะเริ่มอ่านคำวินิจฉัยในคดีที่นายณฐพร โตประยูร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการปราศรัย ของนายอานนท์ นำภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ นั้น
ศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งรายชื่อบุคคลที่เข้ามารับฟังคำวินิจฉัย โดยนายณฐพร โตประยูร ในฐานะผู้ร้องได้เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยด้วยตนเอง ส่วนนายอานนท์ นำภา ผู้ถูกร้องที่ 1 มอบหมายให้นายกฤษฎางค์ นุตจรัส เป็นผู้แทนมาศาล นายภานุพงศ์ จาดนอก ผู้ถูกร้องที่ 2 มอบหมายให้นายนรเศรษฐ์ นอหนองตุม เป็นผู้แทนมาศาล ส่วนน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้ถูกร้องที่ 3 เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยเอง
ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัย นายกฤษฎางค์ ได้กล่าวต่อศาลว่า ตนได้รับมอบจากนายอานนท์ ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยระบุว่า ถ้าศาลมีคำวินิจฉัยไม่รับคำร้องขอให้ดำเนินการไต่สวน นายอานนท์ บอกว่าไม่ต้องอยู่ในห้องพิจารณาให้ออกไปเลย เพราะไม่ประสงค์จะให้มีตัวแทนมารับฟังคำวินิจฉัย
ส่วนเรื่องการไต่สวนตนและนายอานนท์เข้าใจว่าเป็นอำนาจของศาลที่จะงดการไต่สวนเพราะศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น หากหลักกฎหมายเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดี เพียงแต่เราอาจจะมองต่างมุม เนื่องจากเรื่องนี้เป็นข้อกล่าวหาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเราควรมีโอกาสแสวงหาข้อเท็จจริงเสนอต่อศาลด้วย โดยวันนี้ตนได้นำพยาน คือ นายส.ศิวลักษณ์ มาด้วย จึงขอให้ศาลช่วยบันทึกไว้ด้วย และขอเรียนด้วยความเคารพในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจึงต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายอานนท์
จากนั้นนายนรเศรษฐ์ ทนายของนายภานุพงศ์ ก็ได้แจ้งต่อศาลในลักษณะเดียวกันว่าไม่ประสงค์จะอยู่รับฟังคำวินิจฉัย จึงขอออกจากห้องพิจารณาไปขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า ศาลพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวน แสวงหาข้อเท็จจริงได้จากหลายฝ่าย เมื่อได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนที่สามารถจะวินิจฉัยได้จึงสั่งงดการไต่สวน ซึ่งเป็นคำสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนการไม่ประสงค์ฟังคำวินิจฉัยก็เป็นสิทธิ
นางสาวปนัสสยา กล่าวกับศาลว่า วันนี้เรามาฟังคำวินิจฉัยโดยทนายของพวกเราเคยมีการยื่นขอศาลให้ดำเนินการไต่สวน หนูไม่ใช่นักเรียกกฎหมายก็อาจจะรู้น้อย แต่ก็เข้าใจว่าการได้มาซึ่งความยุติธรรม อย่างน้อยควรจะต้องรับฟังทุกอย่างเท่าที่จะรับฟังได้ ซึ่งวันนี้ อาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ ได้มารออยู่ พร้อมที่เข้าไต่สวนหากศาลอนุญาต แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตและให้รับฟังคำวินิจฉัย โดยที่หนูไม่มีโอกาสแสวงหาความจริงเพิ่มเติมให้รัฐธรรมนูญก็คงต้องขอออกจากห้องพิจารณาเช่นกัน
ศาลได้ชี้แจงว่า เป็นข้ออ้างของฝ่ายผู้ถูกร้องว่าไม่ไต่สวน แต่ความจริงกระบวนการพิจารณาของศาลไต่สวน เราแสวงหาข้อเท็จจริงทุกอย่าง เอกสารที่ได้มาได้ส่งให้ผู้ถูกร้องเรียกร้อยหมดแล้ว ผู้ถูกร้องมีหน้าที่โต้แย้งเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งศาลได้รับหมดแล้ว ถือว่าได้ให้ความเป็นธรรม และยุติธรรมกับผู้ถูกร้องทั้งหมดแล้ว ไม่ใช่การพิจารณาในระบบกล่าวหา แต่เป็นระบบไต่สวนซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวน แต่ในการไต่สวนศาลได้ให้ผู้ถูกร้องทราบ พยานหลักฐานทุกอย่างและให้โอกาสโต้แย้ง ดังนั้นกระบวนการพิจารณาถูกต้อง “สิ่งที่คุณอ้าง ก็เป็นข้ออ้างของคุณ” ยืนยันว่าเรื่องนี้ศาลใช้เวลาพิจารณาเป็นปี เรารอบคอบในการหาพยานหลักฐาน ไม่ใช่รับคำร้องมาแล้วตัดสิน ใช้เวลาปีเศษด้วยซ้ำไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
อย่าสับสน ปมศาลรธน.ยกคำร้องเรื่องป่วยทิพย์นักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน
ไม่ให้ราคา กกต.!ชูศักดิ์บอกส่งเอกสารแจงครอบงำพอขู่หลังปีใหม่รู้นักร้องคนไหนโดนเช็กบิล
'ชูศักดิ์' บอก นายกฯ ไม่จำเป็นต้องไปแจง กกต.เอง ปม 'ทักษิณ' ครอบงำ ชี้มีแต่เรื่องเก่าๆ เผยหลังปีใหม่รูัใครโดนเช็กบิลบ้าง
นายกฯ ยิ้มรับถูกถามศาลรธน. ตีตกคำร้องดิจิทัลวอลเล็ต ย้อนถามสื่อต้องหน้าบึ้งเหรอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
ปิ๋วอีกคดี! ศาล รธน.ไม่รับคำร้องปมแจกเงินดิจิทัลไม่ตรงปก
'ศาล รธน.' มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง 'สนธิญา' ร้อง 'นายกรัฐมนตรี' เปลี่ยนแปลงแนวทางแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ไม่เหมือนที่หาเสียงไว้ ระบุไม่เป็นไปตามพ.ร.ป.พิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ
'ดิเรกฤทธิ์' ชี้อนาคตประชาธิปไตยสุจริตอยู่ที่การทำหน้าที่ของ ป.ป.ช.
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย