14 ก.ย.2565 - เวลา 14.30 น. ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ 39/2552 ลงวันที่ 21ม.ค. 52 ที่ลงโทษปลดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในขณะนั้นออกจากราชการ รวมทั้งเพิกถอนมติการประชุม อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 19ธ.ค. 51 เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรื่องดำ 5210006 เรื่องแดงที่ 0012155 และเพิกถอนมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 ที่ลงมติว่านายสมชายกระทำผิด
คดีนี้นายสมชาย ยื่นฟ้อง กระทรวงแรงงาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงแรงงาน (อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน),คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-5 กรณีกระทรวงแรงงานมีคำสั่งที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 ม.ค. 2552 ลงโทษปลดนายสมชายออกจากราชการ โดยอ้างว่าเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จากเหตุขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมพิจารณาสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับ นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 70 ล้านบาท จากการขายทอดตลาดที่ดินของศาลจังหวัดธัญบุรี ทั้งที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าการคืนเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ทางราชการเสียหาย
ส่วนที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนให้เหตุผลว่า ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบัญญัติว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดการทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นความผิดทางวินัยตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 อีกทั้ง พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 มิใช่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ การที่ป.ป.ช.ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ชี้มูลว่านายสมชาย กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงจึงไม่มีอำนาจกระทำได้ เมื่อป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดของนายสมชาย ดังนั้นมติของป.ป.ช.ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 จึงมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของป.ป.ช. มาเป็นสำนวนสอบสวนทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 หากแต่จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนนายสมชาย ตามที่ป.ป.ช.มีมติว่ากระทำความผิดถามประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เพื่อให้นายสมชาย เป็นผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและมีโอกาสชี้แจงและมีโอกาสชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาตามขั้นตอน
แต่เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีคำสั่งกระทรวงแรงงานลงโทษปลดนายสมชาย ออกจากราชการ ตามมติป.ป.ช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง คำสั่งทางวินัยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการที่เป็นสาระสำคัญในการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 102 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 จึงย่อมมีผลทำให้การที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของนายสมชาย ด้วยเหตุเดียวกันไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จึงมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงาน และคำสั่งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่คำสั่ง และคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลบังคับ
โดยนายสมชาย กล่าวภายหลังฟังคำพิพากษา ว่า วันนี้ได้รับความเป็นธรรมจากศาลปกครองสูงสุดว่าป.ป.ชไม่มีอำนาจในการไต่สวนตนเลย และให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่สั่งให้ตนออกจากราชการ ซึ่งดีใจมากเพราะตนเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตมาโดยตลอด ไม่เคยมีเรื่องด่างพล้อยอะไรเลย แต่ชื่อเสียงต้องมาเสียไปมาตลอด20 ปี กับเรื่องที่ไม่สมควร วันนี้จึงถือว่าได้รับยุติธรรมกลับคืนมา ได้กลับมาเป็นข้าราชการที่บริสุทธิ์
"ผมเป็นคนที่อะไรสามารถให้อภัยได้ก็ให้อภัย ไม่ได้มีความรู้สึกอาฆาตมาตร้าย แต่คดีนี้ทำให้ผมซึ่งเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งถือว่าเป็นผู้นำด้านความยุติธรรม ต้องตกมาเป็นผู้ที่ถูกไล่ออก เพราะถูกป.ป.ช.ชี้ว่าผิดวินัยร้ายแรง ประมาทเลินเล้อ ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดของคนที่เป็นข้าราชการ แต่วันนี้ถือว่าได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา ซึ่งขอดูคำพิพากษาก่อนว่าจะสามารถพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยความเสียหายได้อย่างไร " นายสมชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการเดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลปกครองในวันนี้ของนายสมชาย มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมเดินทางมารับฟังด้วย โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 5 ในคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธาริต และพวก ในคดีร่วมกันกระทำความผิดฉันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา จากการทำความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ กับพวก ในข้อหาสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี 2553 โดยธาริต ไม่ได้ไปศาล โดยอ้างว่าติดโควิด-19
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ
ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน