'สดศรี' ชี้ช่องศาลรธน. เรียก 'อดีต 20 กรธ.' เบิกความปมนายกฯ 8 ปี

12 ก.ย.2565 - นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีพิจารณาวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นว่า เราจะเห็นได้ว่า กรธ. ทั้ง 20 คน ยังลงความเห็นในเรื่องการนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่เหมือนกัน ทั้งจากการให้สัมภาษณ์ และการชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นการชี้ในเรื่องที่ถือว่าเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว และข้อขัดแย้งดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่พยานบุคคลยังมีความสับสนกันอยู่

นางสดศรี กล่าวว่าเหมือนกรณีการสร้างบ้านเมื่อบ้านเกิดปัญหา คนที่จะให้คำตอบได้อย่างดีที่สุดคือช่างที่ก่อสร้างบ้าน ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ กรธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้นในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนน่าจะให้ กรธ.ทั้ง 20 ท่าน เป็นพยานศาล ในการให้การเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าเหตุผลอะไรถึงมีการบัญญัติมาตรา 158 เรื่องวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ และมาตรา 264 ด้วย ซึ่งการที่ กรธ.ไปให้การต่อศาลน่าจะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ทั้งศาลรัฐธรรมนูญจะได้รับฟังเจตนารมณ์จากผู้ร่างรัฐธรรมนูญ น่าจะเกิดผลดีกว่าที่จะต้องไปตีความโดยศาล เพราะหากมีชี้แจงจากตัว กรธ.เองต่อศาลน่าจะเป็นเรื่องดีที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงมีคำวินิจฉัยในทางใดทางหนึ่ง

และจะต้องเป็นการพิจารณาโดยเปิดเผย ซึ่งการเบิกความก็คงกินเวลาไม่มาก เนื่องจากอธิบายเพียงมาตรา 158 มาตรา 264 และมาตราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงคงจะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการเบิกความแต่ละท่าน นอกจากนั้นยังเชื่อว่าในการประชุม กรธ.น่าจะมีการบันทึกเทปไว้ ดังนั้นการถอดเทปการประชุมประกอบกับการเบิกความ กรธ. น่าจะยิ่งเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

“น่าจะเป็นผลดีและเป็นการที่จะเคลียร์ข้อกฎหมายนี้ได้ชัดเจนจากผู้ยกร่างเอง โดยที่ศาลไม่ต้องไปตีความอะไรเลย แต่ให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้แจงเหตุผลในการบัญญัติกฎหมาย เพราะรายงานการประชุมเป็นเพียงบทสรุป ซึ่งจะสู้รายงานจากปากของผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้”นางสดศรี​ ย้ำ

นางสดศรี กล่าวอีกว่าไม่ใช่การชี้นำศาลแต่เป็นเรื่องที่เคยเป็นกรธ.แล้ววิธีการปฏิบัติในกรธ.ก็ทำมาอย่างนี้ คือแต่ละมาตราก็จะมีการพูดกัน หากเห็นไม่ตรงกันก็จะมีการลงมติ เสียงข้างมากว่าอย่างไรก็จะเป็นไปอย่างนั้น แต่พอเกิดปัญหาแล้วกลายเป็นว่ามีคนไปพูดอีกอย่างหนึ่ง ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และเกิดความไม่แน่ใจในผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้หากศาลสามารถให้ กรธ. ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายสามารถอธิบายเจตนารมณ์ของกฎหมาย ก็จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมและประชาชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน. แพร่ 'คำวินิจฉัยกลาง' พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลาง เรื่อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.

'ภูมิธรรม' ยันศาลชี้ชะตา 'เศรษฐา' 14 ส.ค.เป็นไปตามกระบวนการ อย่าโยงภาพปฏิญญาเขาใหญ่

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน

'เศรษฐา' มองทักษิณ-อนุทิน ร่วมก๊วนกอล์ฟ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่รู้ปฏิญญาเขาใหญ่คืออะไร

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมหลังศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัย ปม 40 ส.ว. ยื่นคำร้องการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี

'อนุทิน' ย้ำไม่เคยคิดแทนที่นายกฯ ลั่นทำวันนี้ให้ดีที่สุด

'อนุทิน' เผย ครม.ทุกคน ให้กำลังใจ 'เศรษฐา' ผ่านเหตุการณ์ 14 ส.ค. ด้วยดี หลังศาล รธน. นัดชี้ชะตา ขออย่ามองผลทางลบ บอกไม่เคยคิดมาแทนนายกฯ ย้ำทุกคนทำงานเข้ากันดี