เด็กสร้างอนาคตไทยยกโมเดล อัมสเตอร์ดัม ป้องกันน้ำท่วม ชี้ไทยมัวแต่ถมคลอง

11 ก.ย. 2565 – นายพงศ์พรหม ยามะรัต แกนนำพรรคสร้างอนาคตไทย เขียนโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Pongprom Yamarat มีใจความว่า

น้ำท่วมหนักกรุงเทพช่วงนี้ อยากชวนคนกรุงเทพมาดู Amsterdam (อัมสเตอร์ดัม) กัน

พ่อตาผมจบวิศวะที่ฮอลแลนด์ พูดเสมอว่าการจัดการน้ำที่ดี ทุกคนเคารพในแผนเดียวกัน

ถึงระดับน้ำทะเลจะอยู่สูงกว่าแผ่นดิน แบบในฮอลแลนด์ทั้งประเทศ (ซึ่งเลวร้ายกว่ากรุงเทพเมืองเดียวมาก) น้ำก็ไม่ท่วม

มาดูเมือง Amsterdam จากด้านบน

นี่คือตัวอย่าง “เมืองฟองน้ำ”

คลองมากมายที่ถูกขุดไว้นับร้อยปีก่อน ไม่ถูกแตะต้อง ไม่ถูกถมเลย

รวมถึงแก้มลิงทั้งธรรมชาติ และขุดเพิ่ม ที่กระจายล้อมอยู่ทั่วประเทศฮอลแลนด์ที่มีแต่ทำเพิ่ม เชื่อมเป็นระบบ และห้ามถม

กลางถนนก็มี bioswale ไว้ระบายน้ำลงดิน

นี่คือการจัดการน้ำ ไม่ใช่ “ระบายน้ำ” แบบที่ กทม. และมหาดไทยคิดแบบไร้ปัญญากันอยู่
หันมามองกรุงเทพ

กรุงเทพเคยมีคลอง 3,000 คลอง ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว 2,000 คลอง

ปัญหาน้ำท่วมหนักกรุงเทพเกิดจากตรงนี้

มีคนบอกว่าการถมคลองเพื่อให้น้ำท่วม ก็เพื่อจะเอางบเพิ่ม

ถ้าเป็นจริง องค์กรที่วางยาคนกรุงเทพนี่แหละที่โคตรเลว

ล่าสุดก็คลองเส้นเลือดใหญ่เอกมัยที่ถูกถม จนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เอกมัยซ้ำๆมาตลอด 1 เดือน
หรือแม้แต่แก้มลิงที่จังหวัดอุดรธานีที่เคยเกือบถูกกลุ่มทุนเข้าไปถมทำธุรกิจ แต่รอดมาได้เพราะความร่วมมือของภาคประชาชน

ตัวอย่าง Amsterdam ตอบแทนการพัฒนาเมืองผิดๆของกรุงเทพได้ 2 เรื่อง
เรื่องแรก

เมืองน้ำท่วมต้องมีคลองให้ระบาย มีแก้มลิงให้น้ำอยู่ อันนี้คือ basic ที่ต้องเคารพ
เรื่องสอง

คนไทยถมคลองโดยอ้างความเจริญเสมอ

คำถามคือ

100 ปีผ่านไป

ฮอลแลนด์กับไทย ใครเจริญกว่า ใครรวยกว่า

Amsterdam กับกรุงเทพ เมืองไหนน้ำไม่ท่วมอีกแล้ว แถมเศรษฐกิจดีกว่ามากมาย

คำตอบคือ Amsterdam เมืองที่นักพัฒนาเมืองภาครัฐไทย ต้องยึดเป็นคัมภีร์สำคัญ

หยุดการถมคลอง แถมหมด ร.9 แล้ว ก็ไม่เห็นข้าราชการชุดขาวคนไหนสืบสานท่านต่อเรื่องแก้มลิงเลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศบาลนครศรีธรรมราช ปักธงเหลือง มวลน้ำจากคีรีวงไหลเข้าตัวเมือง หลังฝนตกหนัก

มวลน้ำจากพื้นที่คีรีวงกำลังไหลเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชและเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (25 พฤศจิกายน 2567) ส่งผลให้พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเริ่มมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 27 พ.ย. ลมหนาวพัดแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯ เตือนอากาศเย็น มีหมอกบางตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น ใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง

ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง

ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้