ยอมแล้ว 'เพื่อไทย' ยกธงขาว เชื่อ 4 ร่างแก้ไขรธน.จะถูกโหวตคว่ำหมด


7 ก.ย.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสมาชิกรัฐสภาอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมทั้ง 4ร่างครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว กระทั่งเวลา 17.00 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม จึงให้เจ้าของร่างแก้ไขแต่ละฉบับ สรุปการอภิปราย โดยนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย สรุปว่า การขอแก้ไขมาตรา159 ให้บุคคลได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯต้องเป็นส.ส.และอยู่ในบัญชีนายกฯของพรรคการเมือง ยึดหลักอุดมคติประชาธิปไตย และยึดโยงประชาชน คนจะเป็นผู้บริหารประเทศต้องผ่านการคัดกรองจากประชาชน ซึ่งคนเป็นส.ส.ก็ผ่านการคัดกรองจากประชาชนก่อน ไม่ใช่จู่ๆไปเอาใครมายัดให้สภาฯเลือก เท่าที่ฟังการอภิปรายมั่นใจว่า ทั้ง 4ร่างจะตก เพราะเสียงส.ว.ส่วนใหญ่ประกาศไม่รับทั้ง 4ร่าง แต่เหตุผลที่บอกไม่รับเพราะถูกเหน็บแนม ตบกะโหลกนั้น ถ้าจะตกด้วยอารมณ์น้อยเนื้อต่ำใจ โกรธแค้น ถือว่าน่าผิดหวังสำหรับประชาชน ยิ่งการไม่ยอมรับกติกาฉบับนี้แล้วบอกว่า ก็ต้องไม่เข้ามาอีกในสมัยหน้า แต่เรายืนยันจะดั้งด้นเข้ามา เพื่อแก้ไขกติกาให้ได้

นายแสนยากร สิงห์วีรธรรม คณะรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 กล่าวชี้แจงต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาก่อนจะที่จะให้สมาชิกทำการลงมติว่า จากเท่าที่ได้ฟังการอภิปรายของสมาชิก เห็นว่าหลายคนให้การสนับสนุน หลายคนมีความเห็นต่าง จนเกิดแรงกระทบกระทั่งกันไปมา จึงอยากทำความเข้าใจว่าเป็นการเสนอโดยภาคประชาชน ที่อยากให้พิจารณาในแง่หลักการและเหตุผลที่ควรจะเป็น

นายแสนยากรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีหลักการสั้น ๆ 4 ป. ซึ่งไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล แต่เป็นประเด็นต่างๆที่ตนอยากเสนอ คือ 1 ป. ประชามติ สืบเนื่องในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มีคำถามพ่วงที่ผูกโยงว่าควรให้ ทั้งส.ว และส.ส. เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี แม้รัฐธรรมนูญจะผ่านการออกเสียงประชามติและเกิดจากคำถามพ่วง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะมีการเปิดช่องให้มีการแก้ไขอยู่แล้ว เราจึงใช้ช่องทางนี้เสนอเข้ามา

"ตลอด5 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีหลายมาตราที่อยากให้มีการแก้ไข ที่ผ่านมาแก้ไขได้เพียงเรื่องเดียวคือระบบเลือกตั้ง แต่เราพยายามเสนอแก้เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง สมาชิกบางคนอภิปรายว่าเป็นแค่บทเฉพาะกาลช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ไขได้ หากไม่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ที่อาจจะสร้างวุ่นวายในอนาคต เราคาดหวังว่าจะมีการแก้ไขยกเลิกอำนาจโดยเร็วที่สุด เพราะสภานการณ์การเมืองขณะนี้มีความผันผวนมาก ไม่รู็ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสถานะออกมาอย่างไร จะยุบสภาเมื่อไหร่ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย จึงต้องทำก่อนที่จะมีการเลือกนายกฯครั้งต่อไป"

นายแสนยากรณ์ กล่าวว่า ป.ที่2 คือปฏิบัตินิยม การใช้เสียงเลือกนายกฯไม่สดคล้องกับหลักปฏิบัตินิยม ที่ต้องใช้เสียง 251ต่อ244 คือใช้สภาเดียวสามารถเลือกได้แล้ว แต่เมื่อมีส.ว.เข้ามามีส่วนร่วมทำให้หลายคนรู้สึกไม่สบายใจและไม่เป็นตามหลักการประชาธิปไตย สามปีกว่าที่เกิดความขัดแย้ง และเรื่องนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง หากปล่อยไปก็อาจจะเกิดปัญหาไม่สิ้นสุด ส่วนที่มีสมาชิกบางคนอธิปรายว่าส.ว.อาจจะเลือกฝ่ายที่มีเสียงข้างมากอยู่แล้ว แต่ตนมองกลับว่าหากสว.ตั้งใจแบบนั้น เราอาจจะปล่อยให้เป็นตามครรลองของสภาและส.ว. ก็ได้ แต่หากวันหนึ่งมีบางฝ่ายพยายามใช้เสียงข้างน้อย แล้วจัดตั้งให้เลือกนายกฯ ก็อาจจะทำให้อยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจกลายเป็นว่าการเมืองจะกลับมาไม่มีเสถียรภาพอยู่ดี หากปล่อยไว้ก็จะเปิดทางให้นำไปสู่สถานการณ์นี้ได้

นายแสนยากรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับป.ที่3 คือ ประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ ระบุย้ำชัดว่าเรายึดมั่นในระบอบหลักการประชาธิปไตย หากปล่อยให้มีการใช้เสียงกลไกลที่ไม่จำเป็น และไม่มีส่วนยึดโยงกับประชาธิปไตยเข้าไปมีส่วนเลือกนายกฯ ก็อาจจะขัดต่อหลักการประชาธิปไตยเสียเอง ส่วนป.ที่4 คือ ปรองดอง โดยตนไม่อยากให้ส.ว.ตั้งธงไปก่อนว่าจะรับหรือไม่รับ และหวังว่าจะท่านยอมถอดอำนาจนี้ ยกเลิกการใช้เสียงส.ว.เพื่อสร้างความปรองดอง เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ถูกมองว่าการร่วมโหวตของส.ว.เป็นการสืบทอดอำนาจ หรือเป็นนั่งร้านเผด็จการ บางคนบอกว่าสมควรจะมีเพียงสภาเดียวด้วยซ้ำ แต่พวกตนยังยึดมั่นในระบบสองสภาอยู่ และให้ความเชื่อมั่นต่อการทำงานของส.ว. เพียงแต่อำนาจบางอย่างถ้ายอมสละตัดออกไปได้ ตนเชื่อว่าจะสร้างความปรองดองและความเห็นต่างลดน้อยลง จะทำให้อุณหภูมิทางการเมืองลดลงได้ในอนาคต

"มีเสียงส.ว.หลายคนให้การสนับสนุนจากส.ว.ถึง56 เสียง แต่ในสถานการณ์ต่างกันมาก การเปลี่ยนผ่านจะใกล้มาอีกครั้ง ผมหวังว่าคะแนนเราจะผ่านไปได้ หากช่วยกันโหวต ผมว่าความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ และการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส.ว.จะมีบทบาทในเรื่องนี้อย่างมาก"นายแสนยากรณ์ กล่าว

จากนั้นเวลา 18.10น. หลังจากเจ้าของร่างทั้ง 4ฉบับอภิปรายครบถ้วนแล้ว นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมจึงให้สมาชิกรัฐสภาลงมติวาระรับหลักการ โดยใช้วิธีขานชื่อเรียงตามลำดับอักษรว่าจะรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4ร่างหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

อีกแล้ว! ชูศักดิ์ขายฝันแก้รัฐธรรมนูญมีสิทธิ์เสร็จทันยุคอุ๊งอิ๊ง

'ชูศักดิ์' ชี้สภายืนทำประชามติชั้นเดียว เป็นสัญญาณดีแก้ รธน. มองพรรคร่วมเสียงแตกเป็นสิทธิ์ แต่เชื่อไม่ถึงขั้นทำตีบตัน ลั่นเดินหน้าแก้ รธน.ฉบับใหม่ ระบุมีลุ้นเสร็จทัน รบ.นี้ถ้าเหลือทำประชามติ 2 ครั้ง

ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

ปธ.รัฐสภา ยันเปิดสมัยประชุม ธ.ค.เดินหน้าแก้ รธน. อยากให้สำเร็จในรัฐบาลนี้

ปธ.รัฐสภา ยันเปิดสมัยประชุม ธ.ค.เดินหน้าแก้ รธน. อยากให้สำเร็จในรัฐบาลนี้ เผยบรรจุแล้วทั้ง 17 ฉบับ ไม่ขัดกม.-คำวินิจฉัยศาล เหตุแก้รายมาตรา ไม่ต้องทำประชามติ ยกเว้นเสนอใหม่