7 ก.ย.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก โดยมีนายละเอียดดังนี้
8 ปีประยุทธ์ ที่พรรคชื่อก้าวไกลหลับตาแต่เปิดปากโจมตีว่าถอยหลังไปไกล
อัษฎางค์ ขอยก 15 ผลงานเรื่องใหญ่ๆ ที่รัฐบาลประยุทธ์สร้างสรรค์เอาไว้ จนก้าวไปไกลสุดสายตา จนพรรคชื่อก้าวไกลแต่ย่ำอยู่กับที่ก้าวไม่ไปไหนไกลและคนใจบอด 3 นิ้วไม่สามารถจะเห็นได้
15 ผลงานรัฐบาลประยุทธ์
•1 First S-curve การส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การต่อยอด-ยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพ
•2 EEC โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เพื่อเป็นพื้นที่การลงทุนและแหล่งบ่มเพาะ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
•3 EECi พัฒนาเมืองแห่งนวัตกรรม หรือเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็น “ซิลิคอนวัลเลย์”“เมืองใหม่อัจฉริยะด้วยนวัตกรรมของเมืองไทย
•4 EECd เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
•5 5G โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ทั่วประเทศ เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล โดยในปี 2564 ความเร็วเฉลี่ยอินเตอร์เน็ตบ้านของไทย ที่ 308 ล้านบิทต่อวินาที (Mbps) ถือว่าแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก
•6 Digital Government การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่”รัฐบาลดิจิทัล” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ โครงการเน็ตหมู่บ้าน 74,987 หมู่บ้าน ทั้งประเทศ โครงการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งเป้าการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ
•7 Prompt Pay พัฒนาระบบ “พร้อมเพย์” เพื่อสนับสนุนการชำระเงินและโอนเงินแบบทันที พัฒนาระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์
•8 Transport Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เตรียมความพร้อมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกิดการลงทุนจริง ที่มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของ การลงทุนของภาครัฐ ในช่วงปี 2558 – 2562 ถึง 7.9% ต่อปี ได้แก่
•9 ทางถนน : จากปี 2557 มี 4,271 กิโลเมตร และปี 2564 เพิ่มเป็น 11,583 กิโลเมตร
มอเตอร์เวย์ : สร้างเพิ่ม 3 เส้นทางสำคัญ บางปะอิน-โคราช บางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด
•10 ทางราง : จากปี 2557 ระยะทาง 4,073 กิโลเมตร ปัจจุบันมีแผนสร้างเพิ่ม ระยะเวลา 20 ปี จะมีระยะทาง 8,900 กิโลเมตร ครอบคลุม 62 จังหวัด เป็นทางคู่-ทางสาม 5,640 กิโลเมตร และสถานีสถานีกลางบางซื่อ เป็นชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ ทันสมัยที่สุดในอาเซียน
สร้างเพิ่ม 10 สาย ระยะทางรวม 204.9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 2 สาย
นอกจากนี้ ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
•11 ทางน้ำ : เพิ่มศักยภาพรองรับปริมาณการขนส่งทางน้ำ จากเดิมปี 2557 ประมาณ 279 ล้านตัน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 355 ล้านตัน โดยพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเดินเรือเฟอร์รี่พัทยา-หัวหิน ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปีละ 4,000 ล้านบาท
•12 ทางอากาศ : ปรับปรุงสนามบินทั่วประเทศ เพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสาร จากเดิมปี 57 รองรับ 118 ล้านคน ปี 64 เพิ่มเป็น 139 ล้านคน
•13 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง และเตรียมน้ำต้นทุน สำหรับภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ผลลัพธ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เพิ่มการกักเก็บน้ำรวม 1,452 ล้าน ลบ.ม. พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 124 ล้าน ลบ.ม. ลดพื้นที่ประสบภัยแล้งลงอย่างต่อเนื่อง จาก 36,944 หมู่บ้าน ในปี 2556 และในปี 2564/65 ไม่มีประกาศภัยแล้ง
•14 การแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อเป็นแรงเสริมในการขับเคลื่อน EEC
ผลลัพธ์ที่จับต้องได้เช่น การฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย หลังจากห่างหายมากว่า 30 ปี
ความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น เช่น การผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคและเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ของโลก หรือการร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งมีเวทีการหารือความร่วมมือ ทั้งแบบหุภาคีและทวิภาคี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในเรื่องต่าง ๆ
•15 ผลงานการแก้ปัญหาวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งคนไทยกลุ่มคนที่มีอคติโจมตีรัฐบาลอย่างไม่ลืมหูลืมตา ในขณะที่รัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทย ได้ความคำชื่นชมจากนานาชาติทั่วโลก ได้แก่
ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย จาก GHS 2021
ประเทศไทยครองอันดับที่ 1 ประเทศที่ฟื้นตัวและรับมือโควิดได้ดีที่สุดในโลก
ประเทศไทยครองอันดับที่ 1 ประเทศที่จัดการโรคระบาดดีที่สุดอันดับ 1 ของเอเชียและเป็นอันดับ 6 ของโลก
ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่จัดการโควิดได้ดีเป็นอันดับที่ 4 ของโลก
CNN ยกให้ไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศของโลก ที่ผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข บริหารจัดการการแพร่ระบาดของโควิดได้ดีที่สุด
นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวไว้ว่า“ที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะเจอกับเรื่องวิกฤติซ้อนวิกฤติ ไม่ว่าจะจากโรคโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงเกิดความแตกแยก ทางความคิดมากมายแค่ไหนก็ตาม รัฐบาลก็ยังเดินหน้าพัฒนาประเทศ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โครงการ EEC และการศึกษาด้วย”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดุสิตโพล' เปิดดัชนีการเมืองล่าสุด พบผลงาน แพทองธาร พุ่งเด่น ฝ่ายค้านคะแนนตก
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนตุลาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,136 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-30 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ย 5.01 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2567 ที่ได้ 4.80 คะแนน
ผงะ! อู่เถื่อนแต่งรถ รัฐสภาตื่น ตั้ง คกก.ศึกษา ดีอีเต้น! เพจบริจาคเก๊ผุด
“รัฐสภา” ตั้ง คกก.ศึกษาแนวทางการป้องกัน-ลดอุบัติเหตุทางถนน ประชุมนัดแรก 25 ต.ค.
5 องค์กรปชต. เรียกร้อง ส.ส.เร่งพิจารณาแนวทางการตรา พรบ.นิรโทษกรรม
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social Democracy Think Tank) มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตาม
เตือน นายกฯแพทองธาร เชื่อ 'วิษณุ' จบแบบ 'เศรษฐา' ปมแหล่งที่มาของเงิน
ที่นายวิษณุ เครืองาม ให้ความเห็นว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าที่มาของรายได้เป็นอย่างไร และต้องแถลง
'วิษณุ' การันตีรัฐบาลมีแหล่งที่มาเงิน อยู่ในคำแถลงนโยบาย
นายวิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีบุคคลนิรนามไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
'จุลพันธ์' แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ Negative income tax คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ