'วิษณุ' สยบข่าวลือยุบสภา ขออย่าเชื่อ ยังไม่นึกไม่ออกมีเหตุผลอะไร

29 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวการยุบสภา ในระหว่างที่ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ยังไม่มีผลบังคับใช้ จะส่งผลอย่างไรต่อการเลือกตั้ง ว่า มี 2 วิธี คือ 1.คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ออกระเบียบ 2.ออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ซึ่งการออกเป็น พ.ร.ก.อาจไม่ยุ่งยาก เนื่องจากสามารถนำร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบไปแล้ว มาจัดทำเป็นพ.ร.ก.ได้ แต่วิธีนี้ตนไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะมีการไปปรับแก้อะไรอีก โดยกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ทาง กกต.ได้ให้ความเห็นชอบและนำเข้าที่ประชุมสภาไปแล้ว จึงไม่น่าจะมีข้อครหาอะไร แม้จะไม่ถูกใจบางคน เช่น เรื่องสูตรคำนวณส.ส. หาร 100 หรือ 500 แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีออกระเบียบ หรือออกพ.ร.ก.อาจจะถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในอนาคตได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ส่งมาถึงรัฐบาลหรือยัง นายวิษณุ กล่าวว่า ทางสภา ยังไม่ได้ส่งมาที่รัฐบาล ส่วนร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. รัฐสภา เก็บไว้พิจารณา 3 วัน และน่าจะครบกำหนดแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมาที่รัฐบาล ถ้าส่งมาเมื่อไหร่ รัฐบาลจะเก็บไว้อย่างน้อย 5 วัน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ได้ยินว่าจะมีคนไปยื่นร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถ้ามีคนไปยื่นก็จะส่งผลให้กระบวนการล่าช้าออกไป ขณะที่ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ได้ส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ทั้งนี้ ยังไม่มีการยุบสภา จะไปวิตกอะไร สื่อถามอย่างกับรู้วงในว่าจะมีการยุบสภา

เมื่อถามว่ายังไม่มีเหตุอันสมควรยุบสภาใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่รู้ ยังนึกไม่ออกว่ามีเหตุอะไรที่จะยุบ โดยปกติเหตุผลที่จะยุบสภา คือ รัฐบาลกับฝ่ายสภา มีความขัดแย้งกันหรือรัฐบาลแพ้ลงมติในสภา แบบนี้ต้องคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ตอนนี้ยังมองไม่เห็น และอย่าไปเชื่อข่าวลือ

เมื่อถามว่าไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร จะมีทางออกสำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่ารักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีอำนาจยุบสภา นายวิษณุ กล่าวว่า ตามทฤษฎีมีอำนาจเต็มทุกอย่าง แต่ในทางปฎิบัติ ต้องคิดหลายอย่างให้รอบคอบ เพราะการยุบสภาไม่ใช่เอากระดาษมาเขียนแล้วยุบก็เสร็จ ต้องนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯและต้องมีคำอธิบายเหตุผลของการปรับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่