'นิกร' ยันสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ หาร 100 ไม่ขัด รธน. 'หมอระวี' ยื่นตีความเป็นเรื่องดี ช่วยทำให้สิ้นข้อสงสัย พรรคการเมืองจะได้เตรียมเข้าสู่การเลือกตั้ง
26 ส.ค.2565- ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ในฐานะอดีตเลขาธิการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. พ.ศ. …. กล่าวถึงกรณีที่นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ยื่นหนังสือที่มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงชื่อรวม 106 รายชื่อ ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อขอให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่าร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ที่ใช้สูตรการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 100 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ว่า ถือเป็นเรื่องดีเพราะจะทำให้ นพ.ระวี และคณะ ตลอดจนประชาชนทั่วไป สิ้นสงสัยต่อร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ เสียที ส่วนพรรคการเมืองต่างๆ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะได้เตรียมการเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมาถึงในอีกไม่นานจากนี้ไป อย่างไรก็ตาม ตนคาดว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องของนพ.ระวี และคณะ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นกรณีเร่งด่วน ศาลจึงจะไม่ทิ้งไว้นาน
นายนิกร กล่าวว่า สำหรับตนเองนั้นในฐานะที่เคยทำหน้าที่เป็นทั้งเลขานุการของกมธ.ของกฎหมายฉบับนี้และเลขานุการกมธ.พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 นั้นไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใดเลย เพราะเชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้น ไม่มีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พศ. 2560 และรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมส่วนในประเด็นหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข ให้ได้มาซึ่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจึงมีหลังจากเลือกตั้ง ให้ตีความมาตรา 25 ซึ่งแก้ไขมาตรา 130 ซึ่ง กําหนดห้ามนำผลคะแนนเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่เลือกตั้งไม่แล้วเสร็จมาคำนวณหา ส.ส.ที่แต่ละพรรค พึงมี และจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจึงได้รับ
"ประเด็นดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และประเด็นให้ตีความมาตรา 26 ซึ่งแก้ไขมาตรา 131 ว่าไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 94 นั้น เห็นว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ถูกอ้างถึงทั้งสองมาตรานั้นเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับอนุมาตรา 1-5 ที่ว่าด้วยการ คํานวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแบบระบบสัดส่วนผสมจากบัตรเลือกตั้งใบเดียวใน บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ก่อนการแก้ไข ต่อมาหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกตัดทิ้งไปทุกอนุมาตราแล้ว จึงไม่มีผลให้เกิดการขัดหรือแย้งกันกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่ตราขึ้นใหม่ตามเจตนารมณ์ของการแก้ไข รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 แต่อย่างใด"
นายนิกร กล่าวว่า ส่วนประเด็นการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ฯ ที่ไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นั้น ถือเป็นกรณีที่เป็นไปตามกลไกของสภา ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 132 ที่กำหนดให้พิจารณาร่างพ.ร.ป.ฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันและได้กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา 131 ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่ได้ทำให้ร่างดังกล่าวตกหรือเสียไปแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้และสมาชิกรัฐสภา สามารถกระทำตามกลไกรัฐสภาดังกล่าวนี้ได้ จึงมิได้เป็นการตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“กระทรวง พม.” ช่วยคนกลุ่มเปราะบาง 5 จว.พื้นที่น้ำท่วมใต้
เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 ที่กระทรวง พม. นายนิกร จำนง ประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ตามที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
'นิกร' สอน 'ไอติม' อย่ารีบ! ยันคำวินิจฉัยศาล รธน.ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง
'นิกร' ยันคำวินิจฉัยศาลรัธรรมนูญให้ทำประชามติแก้ รธน. 3 ครั้ง หวั่นทำผิดขั้นตอนจากเร็วขึ้นจะกลายเป็นช้าแทน
'นิกร' ทำใจ! บอก กมธ.ประชามติทั้งซีก 'สว.-สส.' ไม่มีใครถอย
'นิกร' ปลง สว.ไม่ยอมถอย แม้เสนอทางสายกลาง 'เสียงข้างมากชั้นครึ่ง' หวั่น 2 สภาหักกันลากยาวจน ส.ส.ร.เป็นหมัน
นิกรเตือนพท. อย่าหักสภาสูง ปมประชามติ!
“นิกร” เตือนสติ “เพื่อไทย” อย่าดื้อปมประชามติ เพราะหากง้างกับสภาสูงรัฐธรรมนูญจะไม่ได้เกิด “สรวงศ์”
'ชูศักดิ์' มึนประชามติชั้นครึ่งกัดฟันบอกเพื่อไทยดันรัฐธรรมนูญเต็มที่แต่ได้แค่ไหนไม่รู้
'ชูศักดิ์' ชี้สูตรประชามติชั้นครึ่งของ 'นิกร' ไม่ต่างอะไรจากเดิม ถ้าชั้นแรกไม่ผ่านก็จบ ย้ำ พท.มุ่งมั่นจะทำรธน.ฉบับใหม่ ออกตัว ผลักดันได้แค่ไหน ค่อยว่ากันอีกที
ชทพ.หนุนนิรโทษกรรมแต่ต้องไร้ ม.110-ม.112
'ชาติไทยพัฒนา' หนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ต้องเว้น ม.110 และ 112 เชื่อก้าวข้ามความขัดแย้งได้