22 ส.ค.2565 - ที่พรรคเพื่อไทย นส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนพรรคอ่านแถลงการณ์ของพรรค เรื่อง บทพิสูจน์นายกรัฐมนตรี 8 ปี กับการปฏิรูปการเมืองไทย มีเนื้อหาว่า การจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้นำประเทศเป็นมาตรฐานสากล ที่ยอมรับกันทั่วไปเป็นหลักนิติธรรม (Rule of law) เพราะอำนาจทำให้คนทุจริต ใช้อำนาจในทางมิชอบ อำนาจเด็ดขาดทำให้ทุจริตอย่างไม่มีข้อจำกัด ถ้าปล่อยให้คนที่มีอำนาจเด็ดขาดเป็นระยะเวลายาวนานเกินไป ก็เท่ากับปล่อยให้ผู้ใช้อำนาจสามารถทุจริตโดยไม่มีข้อจำกัด
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 และดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาโดยลำดับ แม้เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ก็ยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งเมื่อ 9 มิถุนายน 2562 ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเหตุนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่นับถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นเวลา 8 ปี กรณีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงเข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งต่อกันหรือไม่....” และมาตรา 171 วรรคสี่ กำหนดไว้ชัดเจนว่า “ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง หากดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปี”
เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 158 โดยประธานกรรมาธิการฯ ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า “เมื่อพิจารณาบทเฉพาะกาลมาตรา 264.... แสดงให้เห็นว่า แม้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับก็สามารถนับรวมระยะเวลาดังกล่าว รวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลา ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี”
พรรคเพื่อไทยเห็นว่า โดยเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับถ้อยคำตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 มาตรา 171 และมาตรา 264 ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อปี 2557 และตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ต้องการปฏิรูปการเมือง แม้เมื่อมีรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งตนเองผลักดัน ก็จัดเรื่องการปฏิรูปประเทศรวมถึงการปฏิรูปการเมืองไว้เป็นหมวดหนึ่งของรัฐธรรมนูญ การไม่ให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งยาวนานเกินไปจึงกำหนดระยะเวลาสูงสุดไว้แปดปี เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจ สร้างอิทธิพลทางการเมืองขึ้น อันจะเป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้น จึงเป็นสาระสำคัญที่ส่อแสดงถึงความต้องการที่จะปฏิรูปการเมือง
พรรคเพื่อไทยเห็นว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำเนินการโดยประการใด กับกรณีเป็นนายกรัฐมนตรีมาแปดปีแล้ว จะเป็นวิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง และอาจนำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมืองขึ้น แต่สิ่งที่จะสะท้อนได้แน่นอนคือ การปฏิรูปการเมือง ที่กล่าวไว้ตั้งแต่ยึดอำนาจการปกครองประเทศเรื่อยมา เป็นความจริงใจหรือเป็นเพียงวาทะกรรมคำพูดที่ให้ดูดีเท่านั้น วันสองวันนี้จะเป็นบทพิสูจน์ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะแสดงตัวตน อย่างแท้จริงให้เห็นว่ามีแนวคิด แนวทางแบบเผด็จการอำนาจนิยม ลุแก่อำนาจ ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ หรือจะยอมรับการเมืองตามวิถีทางและจารีตประเพณีแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กมธ.คุ้มครองผู้บริโภครับลูกเร่งผลักดัน 3 กม.ของภาคประชาชน
'กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค' รับหนังสือแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ เร่งสภาผลักดัน แก้ปัญหาสินค้าไม่ตรงปก - ติดฉลาก -ให้ข้อมูลโภชนาการไม่สมบูรณ์
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
เหล่าดาราร่วมสนุกงานกาชาด 'มูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ' ปลื้มเตรียมส่งความสุขต่อต้นปี
บรรยากาศภายในงาน "กาชาด 2567" ที่จัดขึ้นไปแล้วระหว่างวันที่ 11-22 ธ.ค.ที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความคึกคัก โดยเฉพาะที่บูธของ "มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์" ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)