“นิกร” บอก “พล.อ.สมเจตน์” ยื่นศาลตีความพ.ร.บ.พรรคการเมืองเป็นสิทธิ แต่แจงยิบทุกปม ยัน ไม่มีข้อความใดขัดรธน. ย้อน ถ้าร่างนี้ผิด กม.ลูกปี60ที่แก้โดยคสช.ก็ผิด
21 ส.ค. 2565 – นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่) พ.ศ. … กล่าวถึงกรณี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกวุฒิสภา พร้อมส.ว.รวม 77 คน ยื่น ขอให้ประธานรัฐสภา ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่) พ.ศ. … ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยเห็นว่ามีข้อความขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 145 , 148(1) ประกอบข้อบังคับการประชุมรัฐสภาพ.ศ. 2563 ข้อ 104 ว่า เป็นการใช้สิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่ง และที่สำคัญพล.อ.สมเจตน์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการพิจารณากฏหมายพรรคการเมืองเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบันแล้วได้ถูกปรับปรุงแก้ไขในครั้งนี้จึงถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องปกป้องกฏหมายที่ พล.อ.สมเจตน์รับผิดชอบได้อย่างชอบธรรม
ส่วนตนในฐานะอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขกฏหมายฉบับใหม่นี้ก็มีสิทธิอันชอบธรรมเช่นกันที่จะชี้แจง โดยร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ผ่านการพิจารณาทั้งของที่ประชุมเสียงข้างมากของรัฐสภาและที่ประชุมเสียงข้างมากของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น ไม่มีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นการแก้ไขค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองทั้งประเภทรายปีจากหนึ่งร้อยบาทเป็นยี่สิบบาทและประเภทตลอดชีวิตจากสองพันบาทเป็นสองร้อยบาทนั้น เป็นการยังคงยืนยันหลักการในการเก็บค่าใช้จ่ายจากสมาชิกพรรคไว้ไม่ได้ตัดออกไปเลย เพียงแต่ได้ลดอัตราลงเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนที่มีรายได้น้อยและที่สำคัญจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้น จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในส่วนประเด็นการแก้ไขเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกพรรคการเมืองนั้น เป็นการแก้ไขเพื่อการผ่อนคลายให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจากเดิมที่กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามไว้สูงเท่ากับการเป็นเข้าเป็นรัฐมนตรีหรือเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งมากเกินไปสำหรับประชาชนทั่วไป โดยแก้ไขเพียงยินยอมให้ประชาชนผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้ทำความผิดฐานทุจริตในเรื่องต่างๆ ที่บัญญัติไว้หากไม่ถึงขั้นถูกจำคุกก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ แต่ทั้งนี้ต้องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรงอื่นที่ยังคงเอาไว้ตามเดิม
ประเด็นแก้ไขให้ในจังหวัดที่มิได้เป็นที่ตั้งสาขาพรรคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นเกินหนึ่งร้อยคน พรรคการเมืองนั้นอาจแต่งตั้งสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นซึ่งมาจากการเลือกของสมาชิกดังกล่าวให้เป็นตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดได้ตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองในจังหวัดนั้น และให้นำความในมาตรา 34 มาบังคับแก่ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดด้วยโดยอนุโลม กรณีนี้เป็นการแก้ไขบทบัญญัติเดิมที่กำหนดบังคับให้ในทุกเขตเลือกตั้งต้องมีการตั้งตัวแทน
พรรคการเมืองขึ้นนั้น เห็นว่าตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดนั้นมีหน้าที่หลักคือการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง การประสานสัมพันธ์กับประชาชนทั่วไปทั้งจังหวัดซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะสมาชิกพรรคของตนเฉพาะเวลาช่วงที่มีการเลือกตั้งเท่านั้น และการดำเนินการตามบทบัญญัติเดิมก็มีพิสูจน์แล้วว่ามีเป็นเรื่องที่ไม่ได้เป็นจริงตามที่หลักการกำหนดไว้และมีปัญหาในเชิงปฏิบัติเป็นอย่างมากทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งในการเลือกตั้งครั้งแรกที่ผ่านมาภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับบนี้ที่ประกาศใช้แล้ว คสช. ต้องออกคำสั่งที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน เพราะเหตุที่ว่ากำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองไว้เคร่งครัดจนเกินไป
ส่วนประเด็นการแก้ไขที่กำหนดให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งในจังหวัดใด เพียงมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดในจังหวัดนั้นดำเนินการประชุมแล้วมีมติให้ความเห็นชอบกับรายชื่อผู้สมัครแบบแบ่งเขต โดยไม่ต้องมีเขต
พื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้น ยังคงหลักการในเรื่องการให้สมาชิกพรรคการเมืองได้มีส่วนร่วมในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเป็นการเปิดกว้างให้สมาชิกภายในจังหวัดนั้นสามารถมีส่วนร่วมในการพิจารณาสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดนั้นได้ทั้งจังหวัด มิได้จำกัดแต่เฉพาะในเขตเลือกตั้งดังเช่นที่บัญญัติในกฎหมายฉบับปัจจุบัน ขณะที่ประเด็นการแก้ไขเกี่ยวกับวิธีการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเบื้องต้น หรือ ไพมารี่ที่กำหนดให้การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ โดยให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดจัดการประชุมสมาชิกเพื่อรับฟังความเห็นและให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมา แล้วส่งให้ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะเสนอเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยังคงหลักการในเรื่องการเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเรื่องการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องให้สมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการพิจารณาและเรื่องการให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถ เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ผ่านการพิจารณาทั้งของที่ประชุมเสียงข้างมากของรัฐสภาและที่ประชุมเสียงข้างมากของกกต.ไม่มีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ยังคงหลักการในเรื่องสิทธิของสมาชิกพรรคการเมืองในการมีส่วนร่วมในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และยังคงหลักการในเรื่องการเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบทบัญญัติมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ยังคงหลักการเดิมของกฎหมายฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะหลักการสำคัญในเรื่องของสิทธิของสมาชิกพรรคการเมืองในการมีส่วนร่วมในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ปรากฏในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 การที่มีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมหมายถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 ย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิกร' เชื่อแก้รธน. มาตรา 256 ฉบับพรรคส้ม โอกาสผ่านยาก เหตุหักอำนาจ สว.
นายนิกร จํานง เลขานุการกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎร เตรียมพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และหมวด 15/1
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'ดร.อาทิตย์' ฟันเปรี้ยง! MOU 44 ต้องประกาศเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น จะเพียงยกเลิกไม่ได้
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้