นักกฎหมาย ชี้บันทึกกรธ. ทำขึ้นหลังรธน. 60 ใช้บังคับแล้ว มีน้ำหนักเบาหวิวต่อกรณี 8 ปีนายกฯ

“ดร.ณัฎฐ์” ชี้ ปัญหาข้อกฎหมาย หลักฐานเพียงบันทึก กรธ.เกิดขึ้นภายหลังรัฐธรรมนูญ 60 ใช้บังคับแล้ว มีน้ำหนักน้อย แม้พ้นจาก 24 สิงหา พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ยังมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ตราบใดที่ศาลรัฐธรรมนูญมิได้สั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่

20 ส.ค.2565 -​ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ”ดร.ณัฎฐ์”นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงการนับระยะเวลา 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรั ให้นับตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกัน ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า ปัญหาการนับระยะเวลา ตามมาตรา 158 วรรคท้าย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การโต้แย้งการนับระยะเวลา 8 ปี เริ่มต้นวันใด ถึงวันใด เป็นปัญหาข้อกฎหมาย การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปโดยระบบไต่สวนตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ต้องพิจารณาถึงคำร้องว่า สส. 1 ใน 10 ของเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา หรือ กกต.จะยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีการตั้งประเด็นใดบ้าง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าเท่าที่ทราบแค่การยื่นคำร้องของฝ่ายค้านยังขาดความไม่สมบูรณ์ ต้องไปเติมข้อความให้ครบถ้วนว่า “ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา” อันเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะเป็นไปตามช่องทางการยื่นคำร้องตามมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ผ่านประธานสภาผู้แทนราษฏรหรือประธานรัฐสภา

ทั้งนี้ โดยต้องดูประเด็นที่ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีประเด็นใดบ้าง หากเฉพาะประเด็นตามมาตรา 158 วรรคท้ายและบทเฉพาะกาลมาตรา 264 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 สามารถนับรวมเวลาหรือนับย้อนหลังได้หรือไม่ อย่างไร

ดังนั้น การนับระยะเวลาเริ่มต้นวันใด รัฐธรรมนูญฉบับใด สิ้นสุดวันที่เท่าไหร่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใด ล้วนแต่ต้องใช้พยานหลักฐานมาสนับสนุนข้ออ้าง หรือหักล้างพยานหลักฐานทั้งสิ้น ปัญหาข้อกฎหมายศาลจะไต่สวน หากข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายย่อมงดไต่สวนก็ได้ เท่าที่เห็นสาระสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบมาวินิจฉัยในพยานเอกสาร เพื่อชี้ขาดข้อถกเถียง

ซึ่งขณะนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่รับพิจารณาคดีจากองค์กรใด ย่อมแสดงเหตุผลทางวิชาการได้ ไม่ได้ชี้นำและไม่ได้ละเมิดอำนาจศาล เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งสาระสำคัญในการให้น้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ดังนี้

(1)เจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญ

เท่าที่ปรากฎ ขณะร่างรัฐธรรมนูญ(พิมพ์เขียว) ขณะนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ชุด กรธ.ที่อาจารย์มีชัยฯ เป็นประธาน ไม่ได้จัดทำและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแต่ละมาตราไว้ ก่อนจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 เมษายน 2560 ปัญหาข้อถกเถียงและการตีความที่ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด จึงต้องอาศัยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรา มีที่มาอย่างไร ไม่ใช่ว่า จะให้ศาลมานั่งเทียนตีความเอง เป็นช่องโหว่ปัญหาการตีความตามมาตรา 158 วรรคท้าย 159 และมาตรา 264 บทเฉพาะกาล

การหยิบเจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าว มาตีความเพื่อให้สมาชิกภาพของรัฐมนตรีสิ้นสุดลง มาตรา 7(9) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพของรัฐมนตรี ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องตีความด้วยความระมัดระวังเพราะขาดความชัดเจนในพยานเอกสาร หากพิจารณาตามพิมพ์เขียวร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ปรากฎเจตนารมณ์และคำอธิบายแต่ละมาตรา ซึ่งจะต้องประกอบกัน ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความตามมาตรา 158 วรรคท้าย,159 ,264 เกินจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ได้

(2)คำอธิบายรายมาตรา
หากพิจารณาคำอธิบายรายมาตรา พิจารณาถึงเอกสารชั้นต้น คือ รายงานการบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในครั้งที่ 500 ลงวันที่ 7 กันยายน 2561 เป็นการอภิปรายถึงคำอธิบายรายมาตรา 158 วรรคท้าย ซึ่งในการประชุมจัดทำคำอธิบายรายมาตรา มีระยะเวลาภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เทียบเคียง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 เมษายน 2560-ประชุม กรธ.คำอธิบายรายมาตรา 7 กันยายน 2561) ตรงนี้ห่างกัน 1 ปีกว่า และข้อถกเถียงมาตรา 158 วรรคท้าย ที่ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้" ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เป็นมติคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ ย่อมมีน้ำหนักเบาบาง ค่อนข้างน้อย จึงต้องใช้ความเห็น "พยานบุคคล” ผู้ร่าง เป็นตัวชี้ขาดว่า ระยะเวลา 8 ปี ให้นับรวมกันหรือไม่

ตั้งข้อสังเกตว่า

(1)เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและคำอธิบายรายมาตรา ไม่ได้จัดทำขึ้น ก่อนมีประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการจัดทำคำอธิบายรายมาตรา ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ และเมื่อตรวจสอบบันทึกรายงานการประชุม ที่แพร่หลายทางสื่อ การประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 ไม่มีการโหวตเสียงมติในเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้นับรวมเวลาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หรือไม่ มีเพียงข้อถกเถียง การนับระยะเวลาที่บันทึกไว้ เป็นเพียงความเห็นบางส่วนเท่านั้น

"ซึ่งไม่ผูกพันเป็นมติ กรธ.และไม่ได้บรรจุเป็นคำอธิบายรายมาตรา ให้นับระยะเวลารวมกันก่อนหน้านี้หรือไม่ หากนำไปใช้ในชั้นศาล ศาลย่อมตีความตามเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ จึงทำให้เกิดช่องว่างในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและเปิดช่องใช้ดุลพินิจในการตีความ" ดร.ณัญวุฒิ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากพ้นวันที่ 24 สิงหาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่และต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่หรือไม่ ดร.ณัฎฐ์ กล่าวว่า การตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจฝ่ายบริหาร เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ โดยให้อำนาจหนึ่ง ใช้อำนาจยับยั้งอำนาจอีกอำนาจหนึ่ง ประเด็น สมาชิกภาพความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 82 วรรคสอง ประกอบมาตรา 170 วรรคท้าย “…เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนพ้นจากตำแหน่ง..”

ดังนั้น ตราบใดศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้สั่งให้หยุดปฎิบัติ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกรัฐมนตรีหยุดปฎิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553 มาตรา 41 ให้รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน แต่จะไปใช้ช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 168 นายกรัฐมนตรีปฎิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก่อน ถึงจะเข้าหลักเกณฑ์มาตรา 167,168 และมาตรา 170 วรรคสอง

นักกฎหมายผู้นี้ตั้งตั้งข้อสังเกตว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง ใช้เกณฑ์ปรากฎ "เหตุอันสมควร" ตามคำร้อง เปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจแบบกว้าง ไม่ได้บทบัญญัติบังคับเด็ดขาด การสั่งให้หยุดปฎิบัติของนายกรัฐมนตรี จึงต้องพิจารณาถึงผลกระทบการบริหารราชการแผ่นดินประกอบการพิจารณาด้วย จะนำกรณี ส.ส.มาเทียบเคียงไม่ได้ แต่เชื่อว่า โอกาสศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่โอกาสน้อยมาก เกิดจากตัวแปรสาเหตุเจตนารมณ์ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายรายมาตรา 158 วรรคท้าย ไม่ชัดเจน เป็นเพียงความเห็น ไม่ใช่มติ กรธ.จึงมีน้ำหนักน้อย ศาลจะต้องค้นคว้าหาความจริงโดยความเห็นพยานบุคคลเพิ่มเติม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครบ 75 ปีขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ 'ทักษิณ' คิดดีต่อบ้านเมือง!

เมื่อวานที่นายทักษิณ ครบรอบวันเกิด 75 ปี ลำพังถ้านายทักษิณ เป็นนักธุรกิจ มีเงินมีทอง จะโดยสุจริตหรือทุจริต ผมคงไม่ต้องเอ่ยถึง แต่นายทักษิณคือบุคคลสาธารณะ และมีอิทธิพลต่อ ความสงบสุข

การเมืองไทยวันนี้! ฝ่ายหนึ่งโหยหาอดีตที่ไม่มีวันกลับมา อีกฝ่ายโหยหาอนาคตที่ไม่มีวันเกิดขึ้น

ฝ่ายหนึ่งโหยหา “ลุงตู่” อดีตผู้นำในวัยชรา ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า แม้มีอันเป็นไป ก็จะมี “ผู้นำรุ่นใหม่” เกิดขึ้นทดแทนตลอดเวลา ฝ่ายหนึ่งโหยหาอดีต

สส.รวมไทยสร้างชาติ จี้พาณิชย์ควบคุมราคาสินค้า หลังชาวบ้านบ่นอุบข้าวของแพง

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาจากที่ตนได้ลงพื้นที่ย่านการค้า ร้านอาหารและตลาดต่าง ๆ ได้รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาค่าครอง

วันเวลาฆ่าเฉลิม! 'อยู่ให้คนอิจฉา ดีกว่าอยู่อย่างน่าสงสาร'

คุณทักษิณได้ตอบคำถามของนักข่าว ที่ถามถึงเรื่องคุณเฉลิมให้สัมภาษณ์และท้าดีเบทว่า “อย่าไปพูดถึงเขาเลย สงสารเขา ผมสงสารเขา เขาอายุเยอะแล้ว...” ถ้าผมเป็น