'พปชร.' พร้อมเข้าประชุมกฎหมายเลือกตั้ง 15 ส.ค. ตามคำสั่ง 'บิ๊กป้อม'

“พปชร.” ลั่นเข้าประชุม 15 ส.ค. ถกกฎหมายลูกเลือกตั้งตามคำสั่ง “บิ๊กป้อม” พร้อมเพรียง เลี่ยงตอบโหวตผ่านวาระสามหรือไม่ บอกเดาใจแทนใครไม่ได้

13 ส.ค.2565 - นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นัดประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 15 ส.ค.เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่า พรรคพปชร.เข้าประชุมอยู่แล้ว ส่วนการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อวันที่10 ส.ค.ที่เกิดปัญหา เราก็เข้าร่วมประชุมแต่ต้องยอมรับว่ามีผู้แทนบางส่วนที่ติดภารกิจ วันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ขอให้เข้าใจความรู้สึกของส.ส.ว่าไม่ใช่มีหน้าที่แค่ในสภาฯแต่ยังมีภารกิจลงพื้นที่พบปะประชาชน โดยวันดังกล่าวเปรียบไปก็เหมือนวันเกิด ที่ไม่ได้มีบ่อยครั้งก็ต้องเห็นใจส.ส.ด้วย สำหรับการประชุมวันที่ 15 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพปชร.สั่งให้สมาชิกพรรคเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง

ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคพปชร.ที่เป็นแกนนำรัฐบาล ถูกจับจ้องว่าจะกระทำซ้ำรอย เหมือนวันที่10 ส.ค.ได้พูดคุยกำชับส.ส.อย่างไรบ้าง นายนิโรธ กล่าวว่า เรื่องการเข้าร่วมประชุม ทางวิปรัฐบาลมีมติแล้วว่าให้เป็นไปตามครรลองของสภา ซึ่งทุกพรรคก็ปฏิบัติตาม แต่ย้ำว่าเมื่อเกิดเหตุวันที่ 10 ก็ยอมรับสภาพที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์

เมื่อถามว่าประเมินว่าการประชุมวันสุดท้าย ทุกฝ่ายจะร่วมมือกัน ทำให้สามารถลงมติในวาระสามได้หรือไม่ นายนิโรธ กล่าวว่า ทุกคนรู้หน้าที่ แต่ตนไม่สามารถไปคาดเดาการตัดสินใจของแต่ละคนได้ เพราะเป็นเจตจำนงที่จะลงหรือไม่ลงมติ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ส่วนพรรคพปชร.ยืนยันมาตลอดไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณหาร 500 หรือหารด้วย 100 ก็ได้ทั้งนั้น เราไม่เกี่ยง

เมื่อถามย้ำถึงข้อสังเกตว่าในการประชุมครั้งสุดท้าย อาจมีความพยายามยื้อเวลา ไม่ให้พิจารณาทันกรอบเวลา 180 วัน และกลับไปใช้ร่างเดิมของรัฐบาล ตามที่มีบางกลุ่มต้องการ นายนิโรธ กล่าวว่า ไปคาดเดาไม่ได้ สำหรับตนปวดหัวกับทุกร่างไม่ว่าจะเป็นร่างไหนและเรื่องนี้หากย้อนกลับไปจะเห็นว่าปัญหาเริ่มมาตั้งแต่ต้นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งฉบับที่สมบูรณ์มากก็มี ไม่สมบูรณ์ก็มี ซึ่งไม่มีอะไรพอดี แต่มาถึงขณะนี้ไม่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อแก้ไขแล้วก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ และทางที่ดีเห็นว่าควรทำไปตามครรลองของระบบ แต่เราไม่สามารถไปการันตีได้ว่าแต่ละพรรคมีเจตนาในการลงมติอย่างไร

เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยยังแสดงจุดยืนเดิม ที่จะไม่เป็นองค์ประชุม จะพูดคุยอย่างไร นายนิโรธ กล่าวว่า เป็นการแสดงจุดยืนของเขา แต่ต้องถามว่าเป็นการแสดงจุดยืนที่ถูกต้องหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง