'หมอวรงค์' เคลียร์ 'ดร.ชวินทร์' ทุกประเด็น! นโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์เป็นพลังงาน

‘หมอวรงค์’ ตอบทุกคำถาม ‘ศ.ดร.ชวินทร์’ แจงยิบ 5 ข้อ ‘นโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์เป็นพลังงาน’ เอื้อประโยชน์ทุกกลุ่ม กล้าประกันกำไรไร่ละ 1 หมื่น โดยที่รัฐไม่ต้องจ่ายเหมือนจำนำข้าว

12 ส.ค. 2565 – นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เขียนบทความ “นโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์เป็นพลังงาน : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์” ที่พรรคไทยภักดีเสนอต่อสาธาณะ ผมจะขออนุญาตตอบเป็นข้อๆ

ประเด็นที่หนึ่ง : นโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์เป็นพลังงาน ควรพึ่งกลไกราคาและกลไกตลาด มิใช่พึ่งกลไกรัฐ ซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวแน่ๆ

เนื่องจากการแปรรูปหญ้าเนเปียร์เป็นพลังงาน เกิดจากการคิดและทำได้จริง เป็นนวัตกรรม”Nipon Process Technology” สามารถพิสูจน์ต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่ำกว่า 1 บาทต่อหน่วย ในขณะที่พลังงานจากฟอสซิล มีราคาแพงมาก จาก LNG ค่าไฟหน่วยละ 8.06 บาท จากน้ำมันเตา/ดีเซล 7.13 บาท จากถ่านหิน 2.67 บาท เฉลี่ยค่าไฟฟ้าจากฟอสซิล หน่วยละ 5.01 บาท

ที่ซ้ำร้าย คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่เทคโลยีเนเปียร์นี้ เป็นพลังงาน net zero ที่สำคัญคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) จะขายไฟฟ้า หน่วยละ 4.00 บาท มาเป็น 4.72 บาท ยังแบกรับภาระหนี่งแสนล้านบาท ในขณะของเราผลิต ต้นทุนถูกมาก

การที่เรากำหนดราคา ไฟฟ้าครัวเรือน หน่วยละ 2.50 บาท คิดเป็น 31 % ของการใช้ไฟฟ้าส่วนธุรกิจ เราคิดหน่วยละ 2.75-3.00 บาท คิดเป็น 23% ของยอดการใช้ และอุตสาหกรรม เราคิดหน่วยละ 3.00-3.30 บาท คิดเป็น 46 % ของการใช้ไฟ จะคุ้มทุนระยะเวลา 5 – 6 ปี

เราไม่ต้องการ ให้การลงทุนเอาเปรียบประชาชนมากเกินไป เพราะนวัตกรรมนี้ จะเป็นของรัฐ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าถูกมากคือไม่เกิน หน่วยละ 1 บาท จะเป็นประโยชน์ทั้งเอกชนที่จะร่วมทุนกับรัฐ และประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่สมเหตุผล

ประเด็นที่สอง เฉพาะที่สำคัญ: การที่พรรคไทยภักดีเสนอนโยบายให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการนโยบายหญ้าเนเปียร์ (ผูกขาดโดยอำนาจรัฐ) โดยลงทะเบียนการปลูกและ/หรือรับประกันผลตอบแทนไร่ละ 1 หมื่นบาท ก็ไม่ทำให้นโยบายนี้แตกต่างจากนโยบายประกันราคาข้าวหรือนโยบายประกันรายได้จากการปลูกข้าวที่รัฐบาลที่ผ่านมาทำอยู่ก่อนแต่อย่างใดเลย

การที่เรากล้าประกันกำไร ไร่ละ 10,000 บาท เพราะการปลูกคือเทคโนโลยีของ Nipon Process Technology ไม่ใช่ปลูกแบบทั่วไปที่ผลผลิตต่ำ เพียง 8 – 10 ตันต่อไร่ เก็บเกี่ยวทุก 2 เดือน แต่ของเราจะได้ผลผลิต 16 – 20 ตันต่อไร่ เก็บเกี่ยวทุก 2 เดือน เราจึงให้มาลงทะเบียนร่วมโครงการ และต้องปฏิบัติตามprotocol การเก็บเกี่ยวต่างๆ โครงการใช้รถเก็บเกี่ยว ดำเนินให้หมด รวมทั้งส่งปุ๋ยผ่านท่อ

ถ้าปลูกเนเปียร์นอกโครงการจะไม่ได้เข้าร่วม การให้หลักประกันกำไร 10,000 บาทต่อไร่ต่อปี เพราะผลผลิตนี้ ได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว อาจได้สูงถึง 12,000 บาทต่อไร่ต่อปี ไม่ใช่รัฐเข้าไปจ่ายเงินให้ เหมือนจำนำข้าวหรือประกันรายได้

การที่ให้รัฐ(กฟผ./กฟภ.)ร่วมดำเนินการ เพราะรัฐจะเป็นผู้ถือเทคโนโลยี คุ้มครองประโยชน์เกษตรกร และประชาชน แต่การบริหารจะให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นผู้บริหาร และจะกันการถือหุ้นส่วนหนึ่งให้เกษตรกร เป็น.public private and people partnership (PPPP) เพื่อให้เกษตรมีส่วนร่วม และได้ปันผล

ประเด็นที่สาม : นโยบายหญ้าเนเปียร์กับแนวโน้มการพัฒนาและเจริญเติบโตของไทยในระยะยาว

เรายืนยันว่า Nipon Process Technology คือนวัตกรรมที่คนไทยคิด เพื่อไปสู่การปฏิวัติระบบพลังงานของชาติ รวมทั้งของโลกด้วยการใช้วัตถุดิบ จากเกษตรกร ไม่ใช่ฟอสซิล ตอบโจทย์ภาวะก๊าซเรือนกระจก ผลประโยชน์จะเกิดกับทั้ง นักลงทุน ประชาชน เกษตรกร ประเทศไทยจะไม่ใช้นโยบาย “ครัวโลก” ที่ผลิตสินค้าเกษตร เช่นข้าวส่งออก จำนวนมาก แต่ราคาถูก และมาซื้อชาวนาราคาถูก สุดท้ายชาวนาก็ยังยากจน เป็นหนี้เป็นสิน

ภายใต้โครงการนี้ เราจะปรับประเทศ เป็น “คลังอาหารโลก” หรือ “Food Bank” เราจะลดพื้นที่ทำนา และพื้นการเกษตร ให้เพียงต่อการบริโภค ความมั่นคง และเก็บไว้ในคลัง สำหรับประเทศที่ต้องการซื้อ และผลของการลดการเพาะปลูกตามหลักนี้ จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ในราคาเรากำหนด

ส่วนพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง เราสามารถไปปลูกเนเปียร์แทน และมีรายได้ที่มั่นคง คือกำไรไร่ละ 10,000 บาท และเรานอกจากเป็นคลังอาหารโลก ให้ประเทศอื่นมาขอซื้อ เราจะเป็นประเทศ ส่งออกพลังงานสีเขียวแทน ซึ่งจะรองรับกระแสของโลก

ประเด็นที่สี่ : ปัญหาการผสานนโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์เข้ากับยุทธศาสตร์ใหญ่ของการปฏิรูปโครงสร้างประเทศทั้งระบบในภาพรวม

เราเข้าใจว่า ข้อที่หนึ่งถึงสามน่าจะเป็นคำตอบรวมของข้อที่สี่ ขณะเดียวกัน ภายใต้ Nipon Process Technology นี้ เรายังสามารถนำเนเปียร์ ไปผลิยปุ๋ยยูเรีย ที่เป็น Carbon negative ไปส่งออกในตลาดโลกได้ รวมทั้งผลิต CNG LNG Hydrogen Ammonia เพื่ออุตสาหกรรม และส่งออกตีตลาดโลก เพราะของเราไม่ใช้ฟอสซิล แต่ทำจากหญ้า สามารถเคลม Carbon credit ได้

ประเด็นที่ห้า : นโยบายแปรรูปหญ้าเนเปียร์นี้ พรรคไทยภักดีต้องการหาเสียงกับใครกันแน่ ?

เราต้องการหาเสียงกับ ทั้งรากหญ้าและรากแก้ว เพราะผลประโยชน์จะเกิดกับทุกกลุ่ม คือเกษตรกร นักลงทุน ประชาชน เพราะนี่คือ การปฏิวัติพลังงานของชาติ และของโลก ครั้งสำคัญ ที่คนไทยคิดค้นขึ้นมา เพื่อลดการนำเข้าพลังงานฟอสซิล ไปสู่ความมั่งคั่งของชาติ บนฐานของนวัตกรรม

เราจะเป็นประเทศแรกๆ ของโลก ที่สามารถแปลงเนเปียร์ ไปเป็นไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม CNG LNG Hydrogen Ammonia Urea หรือแม้แต่Pellet(ใช้แทนถ่านหิน) เปลี่ยนประเทศ เป็นประเทศส่งออกพลังงานcarbon zero

สามารถทำให้ราคาข้าว และสินค้าเกษตรอื่นสูงขึ้น ด้วยการลดการผลิตให้พอเพียงในประเทศ และสำรองเพื่อความมั่นคง (Food Bank) หลังจากที่ก่อนหน้าที่ เราผลิตสินค้าเกษตรเช่นข้าว จนเหลือเฟือ ราคาถูก แต่เกษตรกรไมรู้จะไปปลูกอะไร วันนี้เรามีทางออกที่มั่นคงให้แล้ว

ท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกครั้ ง ที่ช่วยชี้แนะในสิ่งที่เป็นประโยชน์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดหนังสือ ‘หมอวรงค์’ ร้อง กกต. สอบ 4 ประเด็นใหญ่ ฟัน ‘ทักษิณ’ ปราศรัยอุดรฯเข้าข่ายผิดกม.

ในการปราศรัยที่อุดรที่ผ่านมา จริงอยู่คุณมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะพูด อยากจะปราศรัย เป็นเรื่องของคุณ แต่คุณต้องรับรู้นะครับว่า บ้านเมืองมีขื่อมีแป ถ้าคุณทำให้สงสัยได้ว่า มีความเสี่ยงที่ทำผิดกฏหมาย

เปิดขั้นตอน 'กกต.-ศาลรธน.' ก่อนเชือด"เพื่อไทย-พรรคร่วม"

เคราะห์ซ้ำกรรมซัดสำหรับ "พรรคเพื่อไทย" เข้ามาแบบไม่ให้เว้นวรรคได้พักกัน โดยล่าสุด นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีมีผู้มายื่นร้องขอให้พิจารณายุบพรรคเพื่อไทยและ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม