8 ส.ค.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หากรัฐสภาพิจารณาไม่เสร็จสิ้น ภายใน 180 วัน จะใช้สูตรใดคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ว่าบทบัญญัติที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้อำนาจในหมวดที่ 7 ว่าด้วยรัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่รัฐสภาทั้งสอง โดยมาตรา 130 กำหนดให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 10 ฉบับ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 130(1) เป็นหนึ่งในสิบฉบับ ถือว่าเป็นกฎหมายสำคัญ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดช่องทางให้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ 2 ช่องทาง ตามมาตรา 131 ดังนี้
(1)คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(2)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า จะเห็นว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก ให้กระทำเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ ซึ่งมาตรา 132(1) ได้บัญญัติว่า "การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน” โดยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม” ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วย "มากกว่ากึ่งหนึ่ง" ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา 131”
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 5 บทบัญญัติใดของกฎหมาย… ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้น…ใช้บังคับมิได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ จากเดิมระบบจัดสรรปันส่วนผสม บัตรใบเดียว มาเป็นระบบเลือกตั้งผสม บัตรสองใบ เพิ่ม ส.ส.เขตเป็น 400 คน ลดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อเหลือ 100 คน ส่งผลให้ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 มาตรา 128 วิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ครั้งที่ 1)พุทธศักราช 2564 มาตรา 91 บัญญัติคำว่า “เป็นสัดส่วนสัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวม” ส่งผลให้การกำหนดวิธีคำนวณคะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
หากพิจารณาเทียบเคียงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 หลักเกณฑ์ในคำนวณ ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 100 วรรคสอง ,รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 หลักเกณฑ์ในการคำนวณบัญญัติไว้ในมาตรา 98 ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื้อหารายละเอียดมาตราดังกล่าวได้บัญญัติใช้ข้อความลักษณะทำนองเดียวกันมาตรา 91 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแก้ไขใหม่
นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวต่อว่า ผลของการแก้ไขระบบเลือกตั้งใหม่รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจาก2 ช่องทาง มีจำนวน 4 ร่าง ได้แก่
ช่องทางแรก ร่างที่ 1 เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กรอิสระ องค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้เสนอแนะให้แก้ไข ตามมาตรา มาตรา 131 (1)
ช่องทางหนึ่ง มีการเสนอมา 3 ร่าง ได้แก่ 1)ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาล 2)ร่างที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย 3)ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล โดยรัฐสภามีมติรับหลักการทั้ง 4 ร่าง และมีมติให้ใช้ร่างที่ 1 เป็นร่างหลักในการพิจารณาในวาระที่ 2 (ร่างของคณะรัฐมนตรี) เป็นร่างที่เสนอแนะจากคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขแล้ว (ร่างสูตรคำนวณหาร 100) โดยในการประชุมรัฐสภาจะต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ด้วย
หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 132(1) กำหนดเวลาให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน มาตรานี้ ไม่ได้บัญญัติให้ขยายระยะเวลาได้ กลไกระบบรัฐสภาได้เปิดช่องไว้ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลารัฐธรรมนูญได้บัญญัติทางแก้ ให้กลับไปใช้ช่องทางมาตรา 131 ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 4 ร่าง ตาม 2 ช่องทางที่เสนอแนะแก้ไข ย้ำ!!!ว่า ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้บังคับใช้ร่างเฉพาะเสนอโดยคณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ในการประชุมร่วมสองสภาพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว มีมติรับหลักการ 4 ร่างและมีมติให้ใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีที่เสนอแนะโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ระบบรัฐสภา กลไกในการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้แก้ไขเพิ่มได้เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ระหว่างเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก เปิดช่องกลไกในการแก้ไขไม่แล้วเสร็จ พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวย่อมตกไป(สูตรหาร 500 ในวาระที่หนึ่ง) ตั้งข้อสังเกตว่า ในมาตรา 132(1) หากพ้นกำหนดเวลาให้ไปพิจารณาตามมาตรา 131 ซึ่งไม่ได้บัญญัติเฉพาะเจาะจง
หากเสนอร่างตามมาตรา 131(1)(2) ทั้งสองช่องทางพร้อมกัน รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติลำดับก่อนหลังว่าให้ใช้ร่างใด ต้องย้อนกลับไปพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภา พ.ศ.2563 ข้อ 101 ในกรณีรัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาให้บรรจุระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา “ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ” ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง และให้ดำเนินการตามข้อ 102 ต่อไป โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รัฐสภาเห็นชอบ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีข้อทักท้วงภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับ ให้ดำเนินการตามมาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญต่อไป
ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้รัฐธรรมนูญมาตรา 131 ไม่ได้บัญญัติลำดับก่อนหลังของช่องทางเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ให้พิจารณาระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ประกอบการพิจารณา หากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ….พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในวัน 15 สิงหาคม 2565 ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 101 ให้ถือว่า รัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง คือ ร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผลทางกฎหมาย สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หาร 500 ตามมติเห็นชอบในวาระหนึ่งที่ผ่านมติเห็นชอบย่อมตกไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและระเบียบข้อบังคับประชุมรัฐสภาให้ถือร่างเดิมที่คณะรัฐมนตรีที่เสนอแนะโดย กกต.สูตรหาร 100 นั่นเอง เว้นแต่การประชุมร่วมรัฐสภาจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อน 15 สิงหาคมศกนี้ ถือว่า เป็นกลไกระบบรัฐสภาในการแก้ไขร่างกฎหมายลูก แต่ในอดีตไม่ค่อยเกิดปัญหาเหล่านี้ เพราะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสำคัญในการกำหนดทิศทางของประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก
นักกฎหมาย ชี้ไม่ง่าย 'โต้ง' ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ จะแทรกแซงผู้ว่าแบงก์ชาติ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายคัดค้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ เป็นตัวแทนฝ่
นักกฎหมาย หวั่นคำสั่งทางปค. กรณีที่ดินเขากระโดง อยู่เหนือคำพิพากษาศาลฎีกา จะขัดต่อหลักนิติรัฐ
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ มติเขากระโดง หักมุม ไม่เชื่อรูปแผนที่ในคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเหนือกว่าคำสั่งทางปกครอง
วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.
'พิธา' สะดุ้ง 'ผู้ช่วยกรณ์' ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีจำคุกถึง 5 ปี
'ผู้ช่วยกรณ์' เล่าตอนที่่'กรณ์'เป็นหัวหน้าพรรคต้องแบบความรับผิดชอบตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร มีคนอยากลงสมัครหลายคนไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้ง จำคุกถึง 5 ปี