ขู่ใครแก้ รธน.กลับไปใช้บัตรใบเดียวอาจถูกถอดถอน

'นรินท์พงศ์' ออกเเถลงการณ์ต้านแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับใช้บัตรใบเดียว ชี้ผิดเจตนารมณ์ ขู่ใครดำเนินการเเก้ไขขัดจริยธรรมอย่างร้ายแรงถูกถอดถอนได้

04 ส.ค.2565 - นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ว่าเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีปรากฏอยู่ในหมายเหตุท้ายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 คือ "เพื่อให้การคำนวณคะแนน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นธรรมต่อพรรคการเมืองและเคารพหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน และการให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเลือกพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต"

เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว สมาชิกรัฐสภาจึงมีหน้าที่แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การปรับปรุงวิธีการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อใหม่เพื่อให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อพรรคการเมือง และการมีบัตรเลือกตั้งสองใบเพื่อให้ ประชาชนได้เลือกพรรคและเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต การกระทำใดที่ผิดเพี้ยนไปจากเหตุผลดังกล่าวคือการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

คำว่าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 8 ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 ให้ใช้บังคับแก่สมาชิกรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีด้วย หมายถึงการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน (integity) ซึ่งตรงกับบาลีที่ปรากฏในทศพิธราชธรรมว่า "อวิโรธนัง" คือการไม่เอนเอียงไปจากความถูกต้อง ซึ่งเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีลักษณะร้ายแรงที่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 (1)

ดังนั้น การที่ผู้ใดหรือพรรคการเมืองใดก็ตามที่พยายามบิดเบือนเจตนารมณ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ผิดเพี้ยนไปจากเหตุผลในท้ายรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ว่าจะด้วยการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว โดยอ้างเอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 124 ที่มีสิทธิจะแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนในทางใดก็ได้ก็ตามซึ่งอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่การกระทำที่ผิดไปจากเจตนารมณ์ดังกล่าว สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่า เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและถือเอาประโยชน์ส่วนตนเหนือกว่าประโยชน์ของประเทศชาติอันเป็นประโยชน์ส่วนรวม

กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบการกระทำของคน ส่วนจริยธรรมเป็นเครื่องมือตรวจสอบความซื่อสัตย์ของการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการตรวจสอบสำนึกของความเป็นมนุษย์ที่เหนือกว่าความเป็นคน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' วิเคราะห์ผลการเลือกสว.จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ มากกว่าเป็นผลเสีย

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

'ธนาธร' ร่อนจดหมายถึงผู้สมัครสว.ฝ่ายปชต. ปลุก อย่าหักหลัง ถ้ารวมกันแน่นเราจะชนะ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสชต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า จดหมายถึงผู้สมัคร สว. ฝ่ายประชาธิปไตย ถึงผู้สมัคร สว. ฝ่ายประชาธิปไตยทุกท่าน

'ถาวร' ฟันธง 'พิชิต' ลาออก ศาลรธน.ต้องวินิจฉัยคุณสมบัตินายกฯ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน

นายถาวร เสนเนียม สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ภายหลังนายพิชิต ชื่นบาน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า

'ชัยธวัช' บี้ รัฐบาลยื่นแก้ไขกม.ประชามติ ภายใน1เดือน เตือนอาจถูกครหาว่ายื้อเวลา

'ชัยธวัช' บี้ รัฐบาลยื่นแก้ไขกม.ประชามติ ภายใน1เดือน เตือนสื่อสารเรื่องประชามติแก้รธน.ไม่ชัด อาจถูกครหาว่ายื้อเวลา

'วันนอร์'มั่นใจคนไทยเกินครึ่งมาใช้สิทธิ์ประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

'ปธ.สภา' ชี้ช่องรัฐบาลใช้กฎหมายเดิมทำประชามติได้ แค่ถาม ปชช.อยากแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ระบุหากต้องการแก้ ก็เสนอเข้ามาช่วงเปิดวิสามัญได้ เชื่อคนออกมาใช้สิทธิเกินครึ่ง

นายกสมาคมทนาย เตือนตร.ตั้งข้อหานักข่าวหนุนพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ต้องดูฎีกาให้ดี

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกบันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ ความ กรณีพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังดำเนินคดีกับ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ อายุ 35 ปีกับ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 1-2 ผู้ต้องหากระทำความผิดฐาน