งามไส้! 'เพื่อไทย-พลังประชารัฐ' เล่นเกมยื้อ กม.ลูกเลือกตั้ง ทำสภาล่มซ้ำซาก

ระอา! เพื่อไทย-พปชร. เตะถ่วงร่างกม.ลูกฯ ทำสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ ยื้อถกกม. กรอบเวลาทำงานกระบวนการยุติธรรม ออกไปสำเร็จ ด้าน “ชวน” ขอบคุณสมาชิกที่อดทนกับทุกอย่าง เตือน ส.ส.ละเลยหน้าที่ลงมติ เจอคู่แข่งแฉในสนามเลือกตั้ง

3 ส.ค.2565 - เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. ... ที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ ในวาระสอง

อย่างไรก็ตาม ตลอดการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ที่ประชุมยังคงประสบปัญหาเดิม ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการตรวจสอบองค์ประชุมก่อนลงมติในมาตราต่างๆ เหมือนคราวพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยการประชุมตอนหนึ่ง นายคำพอง เทพาคำ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นสอบถามนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมขณะนั้น ว่า เมื่อปี 2512 ต้องใช้เวลารอองค์ประชุมนานแบบปัจจุบันหรือไม่

ด้านนายชวน กล่าวว่า ขณะนั้นมีสมาชิกเพียง 219 คน ประชุมที่ตึกอนันตสมมาคม การลงมติใช้วิธียกมือ ในห้องมีเจ้าหน้าที่มานับจำนวน ไม่มีการกดบัตร ส่วนการอภิปรายต้องยกมือ แล้วเดินออกไปที่ไมโครโฟน ไม่ได้สะดวกแบบนี้ สมัยนั้นมีส.ส.น้อย ที่นั่งจำกัด

“ทั้งหมดอยู่ที่พวกเราทำ ผมชื่นชม อย่างน้อยเสียงข้างมากจะเกิน 2-3 คน แต่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบของคนส่วนใหญ่ที่ดีอยู่ เราทำหน้าที่มา 3 ปีกว่า สถาบันนี้ มีส่วนประคับประคองให้กระบวนการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยไปได้ โดยสภานี้ทำหน้าที่ของตนเอง ผมชื่นชมพวกเราทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีเท่าที่ทำได้ ข้อที่ไม่ควรละเลย คือ หน้าที่ ที่ต้องประชุมและลงมติ ผมไม่หวังว่า จะได้100 ทั้ง100 แต่เกินกึ่งหนึ่ง 2 คน หรือ 5คน ก็ชื่นชม ที่บางคนให้ประกาศชื่อคนกดบัตรแสดงตนนั้น ผมขอบอกว่าไม่มีความลับ มีเอกสารในสภา ที่ผมเตือนด้วยความหวังดี เพราะมีประสบการณ์ ชื่อของเราจะปรากฎตอนหาเสียงเขตเลือกตั้ง คู่ต่อสู้เอาไปประจานความไม่รับผิดชอบไม่เข้าประชุม ผมเตือนด้วยความหวังดี ให้ระวัง วันนี้ไม่เกิด วันหน้าเกิด ประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสทธิเปิดเผยข้อมูล ทั้งคำพูดและการลงมติในสภา ไม่เป็นความลับ” นายชวน กล่าว

จากนั้นนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว. ในฐานะประธานกมธ.ฯ หารือว่า ขอให้สมาชิกร่วมพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง และผ่านกฎหมายดังกล่าวให้ได้ ตนรู้สึกกังวล เพราะเห็นบรรยากาศรอองค์ประชุมนาน ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีประเด็นทางการเมืองอย่างไร ขอให้ช่วยขับเคลื่อนกฏหมายปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อประชาชน เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง

ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณามาตรา7 เสร็จสิ้น โดยนายชวน ได้กดออดเชิญสมาชิกเสียบบัตรแสดงตนเป็นองค์ประชุม แต่ปรากฎว่าเวลาผ่านไป 30 นาที สมาชิกก็ยังมาไม่ครบองค์ประชุม และเป็นอีกครั้งที่นายคำพอง ลุกขึ้นกล่าวว่า ยกนี้วัดกันว่าประธานกับสมาชิกใครจะอึดกว่ากัน

นายชวน กล่าวตอบว่า ขอชื่นชมที่อดทนแม้กระทั้งนั่งฟังเพื่อนพูด ฟังการชี้แจง และอดทนในการรอ ซึ่งไม่คอยมีเหตุผลเท่าไหร่ที่รอเพียงนี้ ตนก็ร่วมอดทนด้วย เพราะไม่อยากให้ใครประนามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของรัฐสภา ตนต้องการปกป้องรัฐสภาและพวกเราด้วย รอจนถึงที่สุด จนคนไม่เข้ามาต้องเข้ามา ขอให้สมาชิกไปชวนสมาชิกท่านอื่นเข้ามาเป็นองค์ประชุม และตอนนี้ก็ไม่ใช่เวลาอาหาร ทุกคนก็พูดว่ากฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างรอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนลงมติในมาตรา7 นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. หารือถึงการกำหนดเวลาพิจารณาร่างกฎหมายลูกเลือกตั้งส.ส. เช่นเดียวกับนายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หารืออีกว่าได้รับการประสานจะมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 9-10 ส.ค. ซึ่งอาจจะได้พิจารณาร่างกฎหมายลูกในวันดังกล่าว

นายชวน ชี้แจงว่า ยังไม่ได้ตกลงกันว่าจะเป็นวันที่ 9-10 ส.ค. เป็นเพียงความคิดเท่านั้น ทั้งนี้ วันที่ 8-9 ส.ค. มีประชุมวุฒิสภา ก็จะเหลือวันที่ 10-11 ส.ค. ซึ่งตามปกติเป็นวันประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรต่อ เบื้องต้น พรุ่งนี้(3 ส.ค.) จะหารือกับวิป 3 ฝ่ายนอกรอบ

ต่อมาเวลา 16.47 น. นายชวน กล่าวกับที่ประชุมว่า จะรอองค์ประชุมถึงเวลา 17.00 น. เท่านั้น เพราะเกรงใจสมาชิกคนอื่นๆ ถ้ายังไม่พร้อม ก็ต้องปิดประชุมไป กระทั่งเวลาครบตามกำหนด นายชวนแจ้งว่า ขณะนี้ผู้ที่แสดงตน มี 357 คน ขาด 7 คนถึงจะครบองค์ประชุม พวกเรา ได้ใช้เวลาตั้งแต่ 16.07 น. รวม 53 นาที เพื่อรอให้องค์ประชุมครบ ทั้งนี้ ตนขอบคุณสมาชิกทุกคนที่อดทนทุกอย่าง วันนี้เมื่อปรากฎว่าองค์ไม่ครบ ก็จำเป็นต้องหยุดไว้เพียงเท่านี้ และเรียนให้ทราบว่าเบื้องต้นประธานวุฒิสภายินดีจัดวันที่ 9 ส.ค. ให้เป็นวันประชุมร่วมรัฐสภา อย่างไรก็ตาม จะได้หารือในวันพรุ่งนี้(3 ส.ค.) อีกครั้ง ผลเป็นอย่างไรจะแจ้งให้ทราบ

จากนั้น นายชวน สั่งปิดประชุมในเวลา 17.01 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่ที่ประชุมรัฐสภาประสบปัญหาองค์ประชุมกระท่อนกระแท่น จนกระทั่งองค์ฯไม่ครบทำให้สภาล่ม เกิดจากกลุ่มส.ส.พรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชารัฐส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ที่กำลังต่อคิวเข้าสู่การพิจารณา จึงได้เล่นเกมด้วยการไม่ยอมแสดงตนเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เมื่อยื้อออกไปเรื่อยๆ ลักษณะเช่นนี้ ก็อาจจะทำให้ร่างกฎหมายลูกดังกล่าวพิจารณาไม่ทันตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ 180 วัน หรือสิ้นสุดในวันที่ 15 ส.ค. โดยจะเท่ากับว่าร่างกฎหมายที่กรรมาธิการฯ พิจารณาต้องตกไป และจะทำให้เป็นการฟื้นสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ แบบหาร 100 กลับคืนมา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่