'วิษณุ' ชี้หากกม.ลูกเสร็จไม่ทัน ต้องเซ็ตซีโร่กลับไปใช้ร่าง กกต. 'บัตร 2 ใบ-หาร 100'

2 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีในที่ประชุม ครม.ได้มีการหารือสูตรการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือไม่ ว่า ไม่มีการหารือกัน มีแต่นายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ประสานงานวิปรัฐบาล ได้รายงานผลการประชุมวิป และได้ให้ตนชี้แจงต่อที่ประชุม ครม. ว่าจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้แล้วเสร็จ เพราะมีกำหนด 180 วัน ซึ่งจะครบในวันที่ 15 ส.ค.นี้ ทำให้สภามีเวลาพิจารณาในวันที่ 2 ส.ค. 3 ส.ค.และที่ 9 ส.ค. รวมถึงอาจจะต่อวันที่ 10 ส.ค. แม้จะมีระยะเวลา 4 วัน แต่ยังมีกฎหมายค้างอยู่ 3 ฉบับ อาทิ พ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ…. ร่าง พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม พ.ศ…..

นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ วันเดียวกันทราบว่ามีคนขอเลื่อนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ขึ้นมาก่อน ถ้าเลื่อนได้ก็โอเค จะทำให้พิจารณาทัน แต่หากเลื่อนไม่ได้ ต้องพิจารณากฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัยก่อน ซึ่งมีอยู่ 40 มาตรา และต่อด้วยกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมมีอยู่ 20 มาตรา ซึ่งไม่ใช่กฎหมายที่เถียงกันมาก แล้วจึงจะมาพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง อาจจะทันได้ ถ้าทันมันก็ทันไปเลย แปลว่ายังหาร 500 แต่หากไม่ทันจริงๆ ทุกอย่างต้องกลับไปเซ็ตซีโร่ คือ บัตร 2 ใบ หารด้วย 100 แต่จะน่าเสียดายคือมาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคำนวณสูตรบัญชีรายชื่อ ที่กรรมาธิการและสภาได้แก้กันมา มันจะใช้ไม่ได้ทั้งหมด ต้องกลับไปใช้ร่างเก่าของ กกต. อย่างไรก็ตาม ครม. ไม่ได้ฝากอะไรไปยังวิปรัฐบาล โดยนายกฯระบุว่าให้เป็นเรื่องของวิปและสภาไปตกลงกันเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' ดักคอพรรคจ้องดูด สส.งูเห่า เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเสถียรภาพรัฐบาล

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สัดส่วนพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมนัดแรก

'อนาคตไกล' คลี่ปม 'ลุงชาญ' กรณีการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

“อนาคตไกล” คลายปม “ชาญ พวงเพ็ชร”การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นดุลพินิจของศาล คำชี้ขาดคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ผูกพันองค์กรอื่น

ศาลรธน.มติ 6 ต่อ 3 ชี้โทษอาญา ตาม พ.ร.บ.เช็คไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 วินิจฉัย ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คปี 2534 มาตรา 4 วรรคสอง เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ